อารยวังโส เชื่อมโยงสัมพันธไมตรี ไทย-ปากีฯ ครั้งสำคัญ

3612

เชื่อม “ไทย-ปากีฯ” แน่นแฟ้น ด้วยสันติธรรม! พระอริยวังโส ดันโครงการ “มรดกทางพุทธศาสนา”

เนื่องใน กิจกรรม “วันชาติไทย 5 ธันวามหาราช” ในวันที่ 5 ธันวาคม 2563 สถานทูตไทยในปากีสถาน โอกาสนี้ได้มีการเผยแพร่พระเกียรติ ในหลวง รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย – ปากีสถาน จนถึงในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

ซึ่งหนึ่งในความสัมพันธ์อันดีอีกครั้งสำคัญ ระหว่างไทย-ปากีสถาน นั่นคือการที่ทางสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ได้นิมนต์พระอาจารย์อารยวังโส เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย โดยประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ได้เปิดทำเนียบถวายการต้อนรับในพิธีทางการฑูตอย่างเป็นทางการ จึงถือว่าพิธีที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นับเป็นวาระโอกาสที่สำคัญยิ่ง ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

นอกจากนั้นพระอาจารจาย์ อารยวังโส ได้รับนิมนต์เพื่อร่วมประชุมปรึกษาหารือกับ รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึง การรับเชิญไปกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ที่ธนาคารโลกในปากีสถาน เรื่อง “การพัฒนามรดกทางพระพุทธศาสนา” แคว้นคันธาระ ในปากีสถาน ร่วมกับรัฐมนตรีรัฐบาลท้องถิ่นใน ไคเปอร์ ปักตุนกวา จนนำไปสู่การอนุมัติงบพัฒนา พื้นที่มรดกโลกทางพุทธศาสนา โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจการเยือนปากีสถานของ พระอาจารย์อารยวังโส ในครั้งนั้น เทียบเท่ากับ บุคคลสำคัญจากอังกฤษด้วยทำให้ ชาวพุทธทั่วโลกและชาวโลก ให้ความสนใจพร้อมเดินทางไปเยือนปากีสถานกันมากขึ้น ดังที่มีการเผยแพร่ข่าวที่ผ่านมา

หัวข้อการประชุมดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในอินเดีย นำไปสู่การเตรียมจัดประชุม เรื่อง “พุทธสถานมรดกโลกในปากีสถาน” ที่ เมืองเปชวา ซึ่งมีการเชิญบุคคลสำคัญ นักวิชาการด้านโบราณคดีจาก นานาชาติเข้าร่วมประชุม โดยมีการเชิญ พระอาจารย์อารยวังโส เป็นองค์ปาฐกกล่าวปาฐกถาเปิดประชุม

แต่ด้วยวิกฤติไวรัสโควิด 19 จึงต้องเลื่อนงานดังกล่าวออกไป โดยกำหนดใว้ใน เดือนเมษายน 2564 หากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส โควิด 19 ไม่เป็นอุปสรรค
นี่จึงเป็นข่าวมงมคล เนื่องในวโรกาสมหามงคลของชาวไทย “วันชาติไทย 5 ธันวามหาราช”
สำหรับพระอริยวังโสนั้น เป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าอย่างมาก ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด ในวัดหรือนอกวัด ในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม

พระอาจารย์ท่านทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาของพระอาจารย์ โดยเริ่มจากการแนะนำและให้คำปรึกษาในการจัดตั้งองค์กรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในชมพูทวีป Buddhist United Dhamma Organization in Jambu D’vipa (BUDOJ) บริหารโดยชาวพุทธอินเดีย ซึ่งบัดนี้ได้ดำเนินการจัดตั้งขึ้นในเมืองต่างๆ เสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้พระอาจารย์มีเจตนาจะให้ BUDOJ นี้ เป็นตัวประสาน และดำเนินการในการทำงานเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนากับองค์กรพุทธศาสนาต่างๆ ทั่วโลก

อีกทั้งที่ผ่านมา ท่านเคยได้รับนิมนต์จาก “องค์กรพุทธศาสนา นานาชาติ” เพื่อร่วมประชุมด้านพระวินัย ที่นครเดลี ประเทศอินเดีย โดยมี พระสังฆราช องค์ดาไลลามะ และ ผู้นำศาสนา ผู้นำจิตวิญญาณทางศาสนาจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม โดยพระอาจารย์อารยวังโส ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมในฐานะ “ผู้นำจิตวิญญาณทางพุทธศาสนา” ที่เป็นที่ยอมรับในฐานะ กูรูจี ของชาวอินเดีย ว่า “เป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัยอย่างยิ่งเพื่อการถวายบูชาพระพุทธองค์”