จากที่กรณีการสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 64 โดยการชุมนุมถูกจัดขึ้นโดย กลุ่มเยาวชนปลดแอกและแนวร่วม ในนามกลุ่ม “REDEM” บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีการกำหนดเป้าหมายว่าจะเคล่อนมวลชนไปยังบ้านพักของนายกรัฐมนตรี
กลุ่ม REDEM ได้ทยอยออกจากเกาะพญาไท ข้ามถนนไปปักหลักบริเวณเกาะกลางของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเตรียมตั้งขบวนก่อนเดินเท้าไปยังบ้านพัก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีรังสิต
ต่อมาช่วงเวลา 18.00 น. การชุมนุมบนถนนวิภาวดีรังสิต ได้มีการปะทะกันระหว่าง กลุ่มมวลชน และตำรวจที่ควบคุมฝูงชน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเจรจาให้กลุ่มมวลชนถอยเข้าไปอยู่ในแนวกั้น แต่ได้มีการฝ่าฝืนคำสั่ง ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตัดสินใจฉีดน้ำสลายการชุมนุม ก่อนจะมีเสียงดังคล้ายระเบิดเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีเหตุปะทะ เกิดความรุนแรง และต่อมาก็ปรากฏความสูญเสียเกิดขึ้น
ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลายในกลุ่มของสาวกสามกีบ ว่าเจ้าหน้าที่นั้นกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ รวมถึงได้แบนสื่อต่างที่เผยแพร่ความจริงว่าจริงแล้วกลุ่มผู้ชุมุนมเป็นฝ่ายเริ่มใช้ความรุนแรงกับเจ้าหน้าที่ก่อน
ต่อมา โลกโซเชี่ยลได้มีการเผยแพร่ภาพการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน และได้วิพากษ์วิจารณ์ของความรุนแรงในเหตุการณ์วันที่ 28 ก.พ. 64
ทั้งนี้ มีภาพหนึ่งที่ได้ถูกเผยแพร่และกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง โดยเป็นภาพเจ้าหน้าที่เข้าสกัดผู้ชุมนุมรายหนึ่งเพื่อเข้าจับกุม มุมของกล้องที่ถ่ายภาพ ทำให้ภาพดูมีความรุนแรงกว่าเหตุการณ์จริงหลายระดับ ซึ่งต่อมาได้มีการขยายใบหน้าเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว พร้อมด่าทอ และมีการล่าแม่มดเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าภาพดังกล่าวจะมีผู้คนวิพากษ์วิจารณ์ด่าทอต่างๆ แต่นั่นเป็นมุมมองเดียวเท่านั้น โดยรายการเรื่องเล่าหน้าหนึ่ง ช่อง 3 ได้เผยแพร่วิดีโอเหตุการณ์เต็ม ทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วเจ้าหน้าที่เพียงพยายามที่จะสกัดผู้ชุมนุม เพื่อเข้าจับกุมเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการปฏิบัติที่ใช้ในทั่วโลก ไม่ได้มีกการเจตนาใช้ความรุนแรงด้วยเหตุผลส่วนตัวแต่อย่างใด
ล่าสุด มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้ถูกชาวเน็ตสามกีบถล่มอย่างรุนแรง เนื่องจากมีใบหน้าละม้ายคล้ายกับเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนที่ถูกพูดถึงในโซเชียล ทำให้ถูกเข้าใจผิด โดยผู้ใช้รายดังกล่าวได้โพสต์ข้อความระบุว่า
“อยู่ดีๆทัวร์ลงเฉย ตำรวจนั่นไม่ใช่ผมค้าบ คือมันเริ่มไม่ขำแล้วไง แล้วคือใครแม่งเอาวาร์ปกูไปปล่อยวะ อิหยังครับเนี่ยยยย” พร้อมกับแนบภาพข้อความที่ถูกด่าทอ
โดยบ้างมีการไล่ไปตาย บ้างก็ถามว่าเป็นผู้ชายทำไมเตะผู้หญิง โดยเจ้าพยายามอธิบายว่าตนไม่ใช่เจ้าหน้าที่ในข่าวดังกล่าว
สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นว่ามีการพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง หรือสร้างภาพความรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม อีกทั้งสาวกสามกีที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จริง เมื่อมีการรับสารมาอย่างไร ก็เชื่ออย่างนั้นโดยปราศจากข้อสงสัย และตามล่าแม่มดกันอย่างดุเดือด