สหรัฐหน้าแหกเสี้ยมไม่ขึ้น?? วิกฤตเมียนมาอาเซียนเลือกเจรจา!?! ไทยประสาน หวังหยุดสงครามขัดแย้ง ทำพินาศทั้งภูมิภาค

2667

เมื่อวานนี้เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยวันหนึ่ง ก็ว่าได้ ในด้านการต่างประเทศ ไทยได้กลายเป็นจุดเชื่่อมประสานให้กับอาเซียน ในการเจรจาใช้การทูตโดยตรงกับเมียนมา เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ตึงเครียดส่อแตกหัก ทั้งนานาชาติแสดงความห่วงใยและกดดันอย่างหนัก  โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนิเซียซึ่งได้รับมอบหมายจากกลุ่มอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ได้มาพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา  ที่ทำเนียบรัฐบาลโดยมีท่านนายกฯพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและรัฐมนตรีการต่างประเทศของไทยเป็นสักขีพยานและเข้าร่วมพูดคุย หวังคลี่คลายปัญหาอย่างไม่กระทบจุดยืนกฎบัตรอาเซียน ที่ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน ขณะที่กลาโหมสหรัฐต่อสายตรงไทย กลาโหมออสเตรเลียก็ต่อสายตรงเมียนมาเช่นกัน 

เมื่อวันที่ 24 ก.พ.2564 สำนักข่าวเกียวโดและรอยเตอร์ (Kyodo, Reuters) รายงานว่านายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.กต. นางเร็ตโน มาร์ซูดี รมว.กต.อินโดนีเซีย และนายอูวัน นะหม่อง ลวิน รมว.กต.เมียนมา พบหารือกันที่กรุงเทพฯ โดยทั้งสามฝ่ายร่วมกันหารือแนวทางคลี่คลายวิกฤติการณ์ทางการเมืองในเมียนมาด้วยสันติวิธี  ซึ่งนางเร็ตโนระบุภายหลังการหารือ ว่าฝ่ายเมียนมาให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของชาวเมียนมา ทั้งนี้ ก่อนการหารือครั้งนี้ นางเร็ตโนได้หารือกับ รมว.กต.อาเซียนมาแล้ว ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม รวมทั้งได้หารือกับ รมว.กต.ของออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร จีน อินเดีย ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ และมีกำหนดหารือเพิ่มเติมกับนายโดมินิก ราบ รมว.กต.สหราชอาณาจักรและนายอันโตนิอู กุแตเรซ เลขาธิการสหประชาชาติ ใน 25 ก.พ.64

ภายหลังการพูดคุย ทางการจาร์กาตาโดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ นายกูตู ไฟซาส ได้แถลงยืนยันว่า เมียนมาจะมีการเลือกตั้งใหม่ภายใต้การดูแลของกองทัพหรือไม่ เป็นเรื่องที่คู่ขัดแย้งภายในประเทศต้องหาทางออกร่วมกันเท่านั้น  สหรับท่าทีของอินโดนีเซียจะเป็นไปตามฉันทามติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศร่วมกัน ทั้งนี้ได้ปฏิเสธข่าวเสี้ยมที่ว่า อินโดนิเซียสนับสนุนกองทัพเมียนมาในการจัดการเลือกตั้งใหม่ของฝ่ายตะวันตกและบริวาร และแจงว่าการเดือนสายเยี่ยนเยียนหลายประเทศของนางเร็ตโน มาร์ซูดี รมว.กระทรวงการต่างประเทศเป็นการสอบถามความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนทัศนคติ

ส่วนประเทศไทย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการหารือกับ นายอูวัน นะหม่อง ลวิน  รมว.ต่างประเทศเมียนมา ว่า บางครั้งบางเรื่อง ก็เป็นเรื่องที่ไม่เป็นทางการ  เรื่องนี้เป็นเรื่องของกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการอยู่แล้ว เราในฐานะมิตรประเทศก็ต้องรับฟังซึ่งกันและกัน ก็สุดแล้วแต่จะเป็นอย่างไร ทั้งนี้เราก็เป็นกำลังใจในฐานะประเทศหนึ่งในอาเซียนที่ต้องทำให้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งส่งกำลังใจให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อย

ก่อนหน้านี้ นายทหารระดับสูงของออสเตรเลียและเมียนมา ก็ได้มีโอกาสหารือทางโทรศัพท์เกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาด้วย

วันที่ 22 ก.พ.2564 สำนักข่าวเดอะซิดนีย์ มอร์นิง เฮรัลด์ (The Sidney Morning Herald) ของออสเตรเลีย อ้างโฆษกประจำกองทัพออสเตรเลีย เปิดเผยว่า พล.ร.ท.เดวิด จอห์นส์ตัน(David Johnston) รอง ผบ.กองทัพออสเตรเลีย และ พล.อ.รองอาวุโส โซวิน รองประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และรอง ผบ.ทสส./ผบ.ทบ.เมียนมา ได้หารือร่วมกันทางโทรศัพท์ โดยฝ่ายออสเตรเลียแสดงความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมา เรียกร้องให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงกับประชาชน ขอให้เมียนมากลับสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว และเน้นย้ำให้ปล่อยตัวดร.ฌอน เทอร์เนลล์ (Dr.Sean Turnell) นักวิชาการชาวออสเตรเลียและที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของอองซานซูจี ซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.2564

การจับกุมดร.เทอร์เนลล์ถือเป็นการจับกุมชาวต่างชาติคนแรกนับตั้งแต่กองทัพเมียนมายึดอำนาจและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2564 ที่ผ่านมา

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 1 วันหลังจากนายวิน เต็ง แกนนำอาวุโสและคณะกรรมการบริหารพรรคเอ็นแอลดี (NLD) ของนางอองซาน ซูจี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารนำกำลังบุกถึงบ้านพักและจับกุม 

และในระยะเวลาเดียวกัน คนสำคัญแห่งเพ็นตากอนสหรัฐฯก็ได้ต่อสายตรงถึงพลเอกประยุทธ์ฯด้วย 

เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2564 เวลา 19.00 น.(เวลาในประเทศไทย) พล.ท.คงชีพ  ตันตระวาณิชย์  โฆษก กห. เปิดเผยว่า พล.อ.ลอยด์ ออสติน ( Lloyd Austin) รมว.กลาโหมสหรัฐฯ ได้หารือร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี.และรมว.กห.ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกล  ณ ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งสองฝ่ายได้ชื่นชมความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างกันที่มีมายาวนาน ในฐานะไทยเป็นพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯในภูมิภาค พร้อมทั้งได้หารือสานต่อความร่วมมือทางทหารและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน 

พล.อ.ลอยด์ ออสติน ได้กล่าวชื่นชมไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19ได้เป็นอย่างดี  พร้อมกล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทนำในภูมิภาคและขอให้ไทยใช้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ช่วยแก้ปัญหาสถานการณ์ในภูมิภาค  โดยสหรัฐฯยึดมั่นในหลักกฎหมายและหลักมนุษยธรรม และพร้อมให้การสนับสนุนไทย  และได้กล่าวขอบคุณ กระทรวงกลาโหมไทยที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือทางทหารที่ผ่านมา โดยเฉพาะการฝึกคอบราโกลด์ (Cobra Gold)  และยินดีให้การสนับสนุนการฝึก การศึกษาทางทหาร รวมทั้งความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเสริมสร้างกำลังกองทัพไปด้วยกัน 

พล.อ.ประยุทธ์ฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีกับ พล.อ.ลอยด์ ออสติน และขอบคุณ สหรัฐฯ ที่ให้การสนับสนุนทางทหารและการแก้ปัญหา COVID-19 ที่ผ่านมา พร้อมย้ำว่า ไทยยึดมั่นในกฎบัตรอาเซียนและวิถีประชาธิปไตยและสนับสนุนการแก้ปัญหาในภูมิภาคตามหลักสันติวิธี โดยพร้อมที่จะพัฒนาและขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกด้านกับสหรัฐให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น  และพร้อมสนับสนุนสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาในภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์ เพื่อความสงบมั่นคงและประโยชน์ของภูมิภาคร่วมกัน

ขณะที่ญี่ปุ่นยังกดดันเมียนมาหนักขึ้นโดยประกาศจะคว่ำบาตรเพิ่มเติม

วันที่ 25 ก.พ.2564 สำนักข่าวเกียวโดรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวของรัฐบาลญี่ปุ่นในวันนี้ระบุว่า ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาเรื่องการระงับให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาครั้งใหม่แก่เมียนมา เพื่อเป็นการตอบโต้ที่กองทัพเมียนมายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อต้นเดือนก.พ.ที่ผ่านมา

ญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้บริจาคเงินรายใหญ่ให้กับเมียนมานั้น ได้เข้าร่วมกับตะวันตกในการประณามกองทัพเมียนมา ที่ใช้ความรุนแรงต่อการประท้วงของประชาชนที่ออกมาเดินขบวนประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเรียกร้องให้กองทัพปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพลเรือนของเมียนมา และปล่อยตัวผู้นำคนอื่นๆ ที่ถูกจับกุมตัว พร้อมกับเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาเร่งฟื้นฟูรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย