เปิดลึกจีนสวนสหรัฐ!!แบงก์ชาติฯประกาศกระตุ้นศ.สวนทาง FED ลดอุดหนุนขึ้นดอกเบี้ย ปักกิ่งปักหมุดGDP ปีนี้ 5.5%

970

ไม่กี่วันมานี้ จีนมีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญหลายประการเป็นที่จับตามองทั่วโลกเนื่องจากประกาศล็อกดาวน์เมืองใหญ่เพราะยังย้ำว่าโควิดต้องเป็นศูนย์ ล่าสุดแบงก์ชาติจีนประกาศมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุดใหญ่23 ประการ เพื่อให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการสั่งล็อกดาวน์เมืองสำคัญ ๆ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้นมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจและประชาชน พร้อมทั้งปักหมุดดันจีดีพีให้ได้ตามเป้าคือ 5.5% เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวนี้ทางเพจสาธารณะWorldMaker สะท้อนปรากฏการณ์ไว้น่าคิดดังนี้คือ

จีนย้ำนโยบายสวนโลก !!! ล่าสุดธนาคารกลางจองจีนหรือเรียกย่อๆว่า PBOC ประกาศเรียกร้องเพิ่มนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสวนทาง FED หลังเผชิญความเสี่ยงรอบด้านสูงขึ้น ย้ำเป้าหมาย GDP 5% ในขณะที่ต่างชาติเทขายหุ้นจีนมากเป็นประวัติการณ์ถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม 2022 มาจับตาดูกันว่าเศรษฐกิจจีนจะไปทางไหนต่อ !

ธนาคารกลางฯประกาศว่าจีนจะต้องดำเนินการอย่างเข้มแข็งเพื่อกระตุ้นการเติบโตที่สูงกว่า 5% ในไตรมาสที่ 2 โดยมีการออกคำเตือนว่าประเทศจำเป็นต้องวางรากฐานสำหรับการบรรลุเป้าหมายทั้งปีนี้ให้ได้เมื่อเผชิญกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น

หวัง ยี่หมิง(Wang Yiming) สมาชิกของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางฯ (Wang Yiming, a vice chairman of the China Center for International Economic Exchanges)กล่าวว่าการบรรลุเป้าหมายในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน (ไตรมาสที่2) ถือเป็นสิ่งสำคัญหากจีนต้องการบรรลุเป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่ประมาณ 5.5% ตลอดปี 2022

ขณะเดียวกัน Wang ยังชี้ให้เห็นถึงความท้าทายใหม่ ๆ ที่เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งรวมถึงสงครามที่เกิดขึ้นในยูเครนและความเสี่ยงของเงินเฟ้อสินค้านำเข้าที่พุ่งสูงขึ้น ตลอดจนแผนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุก FED ที่กำลังสวนทางกับธนาคารกลางของจีนอย่างชัดเจน !

สำหรับค่าเงินหยวน เจ้าหน้าที่ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของจีน ได้กล่าวถึงการประเมินความเสี่ยงทางด้านเงินทุนไหลออก และการอ่อนค่าของเงินหยวน ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วอ่อนค่าลงในรายสัปดาห์ (Weekly Loss) มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2015 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แต่ยังกล่าวว่ามั่นใจถึงเสถียรภาพโดยรวมของค่าเงินหยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์และสกุลเงินอื่น ๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ Bloomberg ยังรายงานด้วยว่านักลงทุนต่างชาติมีการเทขายหุ้นจีนสูงเป็นประวัติการณ์ถึงราวๆ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนมีนาคม 2022

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์โลกสูงขึ้นอย่างมาก หุ้นจีนมีการเปลี่ยนมือกลับมายังตลาดฮ่องกงมากขึ้นเรื่อย ๆ และจีนเองพยายามออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสวนทางกับโลก ทำให้น่าสนใจมากว่ารัฐบาลของประเทศที่มีทุนสำรองมากที่สุดในโลกนี้ จะประคองเศรษฐกิจของตัวเองเอาไว้ได้หรือไม่ ??

นั่นเป็นข้อสังเกตุที่น่าจับตาต่อไป มาทบทวนความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้กันว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) มีท่าทีออกมาอย่างไรบ้าง

ในวันที่ 20 เม.ย.2565 ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.7% และคงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีที่ระดับ 4.6% 

อัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปีของจีนเป็นดัชนีวัดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของภาคเอกชน ส่วนอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีเป็นดัชนีวัดทิศทางอัตราดอกเบี้ยของภาคครัวเรือน ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเพื่อการกู้จำนอง

ก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR ทั้งสองประเภท เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์เมืองต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ศูนย์ระดมทุนระหว่างธนาคารแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรในสังกัดธนาคารกลางจีน จะเปิดเผยระดับอัตราดอกเบี้ย LPR ในทุก ๆ เดือน โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นการปรับปรุงและปฏิรูปกลไกในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR และเป็นความพยายามล่าสุดที่จะปรับลดต้นทุนการกู้ยืมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ก่อนหน้านี้วันที่ 19 เม.ย.2565 ธนาคารกลางจีน ได้ประกาศมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจครั้งใหญ่ 23 มาตรการ เพื่อให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลสั่งล็อกดาวน์เมืองสำคัญเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า การที่ธนาคารกลางฯ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มสินเชื่อนั้น อาจหมายความว่า โอกาสที่จีนจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นวงกว้างอาจจะลดน้อยลง

ในการแถลงมาตรการครั้งใหญ่ทั้ง 23 มาตรการนั้น ธนาคารกลางฯให้คำมั่นว่าจะใช้เครื่องมือต่าง ๆ แบบมีเป้าหมาย รวมถึงโครงการปล่อยเงินกู้ใหม่ หรือรีเลนดิ้ง โปรแกรม(Relending Program) ซึ่งจะจัดหาเงินทุนให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อนำไปปล่อยกู้ให้กับภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้เพิ่มอีก 1 ล้านล้านหยวน หรือ 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทางด้านนักวิเคราะห์ของวาณิชธนกิจโกลด์แมน แซคส์กล่าวว่า การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางฯ สะท้อนให้เห็นว่า โอกาสที่จีนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลงอีกนั้น มีน้อยลง เนื่องจากธนคารกลางฯ ไม่ได้ระบุถึงการดำเนินการดังกล่าวเลยในระหว่างการประชุมหารือเกี่ยวกับเครื่องมือด้านนโยบายการเงิน

นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ต่างชี้ว่า ทิศทางของธนาคารกลางสหรัฐและจีนสร้างความเสี่ยงต่อการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ เงินหยวนที่แข็งค่าและเงินทุนต่างประเทศที่เคยไหลเข้าจีนเป็นประวัติการณ์ จะถูกทดสอบถ้าหากการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า ซึ่งผลกระทบจะมากน้อยขึ้นอยู่กับว่าเฟดดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดเร็วแค่ไหน และในทางกลับกันจีนใช้นโยบายผ่อนคลายมากแค่ไหน

การกระตุ้นเศรษฐกิจจากฟากของจีนยังจะช่วย ประคองผลกระทบด้านลบที่เกิดจากขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่มีต่อเศรษฐกิจโลก เพราะคาดว่าจากนี้ไปจนถึงปี 2026 เศรษฐกิจจีนจะมีบทบาทในการช่วยเพิ่มจีดีพีโลกเกิน 25% มากกว่าอเมริกาที่มีบทบาทประมาณ 19%

โดยรวมแล้วนโยบายสวนทางกันเช่นนี้ของสองยักษ์ใหญ่อาจช่วยป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจโลกร้อนแรงเกินไป และท้ายที่สุดนำไปสู่การบรรจบกันของการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ต่างฝ่ายต่างชดเชยกันและกัน ซึ่งผลก็คือช่วยสร้างสมดุลเศรษฐกิจโลก