ม็อบย้อนแย้ง รปภ.ตบหน้าคนชูป้ายจาบจ้วงสถาบัน โวยวายถูกรังแก แต่แกนนำสามกีบ ตบหัว ผกก. อ้างเสรีภาพ
จากกรณีที่กลุ่มราษฎร ได้โพสต์ข้อความผ่านทางแฟนเพจ ราษฎร โดยระบุว่า เครือข่ายกะเหรี่ยงและประชาชนผู้รักความเป็นธรรมทั่วประเทศ ประกาศชุมนุม #saveบางกลอย ทวงความเป็นธรรมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนสู่กะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เข้ายื่นหนังสือต่อ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการขอเข้าพบเพื่อขอความชัดเจนในจุดยืนและแนวทางในการคืนความเป็นคนและความเป็นธรรมให้กับชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย
เมื่อวานนี้ (6 กุมภาพันธ์ 2564) กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณหน้ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมตัวเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย โดย พ.ต.อ.กฤษฎางค์ จิตตรีพล ผกก.สน.บางซื่อ พร้อมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ามาดูแลความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งมีการนำหมายมาอ่านให้กับกลุ่มคน save บางกลอย เเละ กลุ่มคนรักความเป็นธรรม ฟังข้อกฎหมายในการรวมกลุ่มกันว่าเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ โดยขอให้ยุติการรวมตัวกันภายในเวลาที่กำหนด ซึ่ง พ.ต.อ.กฤษฎางค์ ได้กล่าวว่าทางกลุ่มผู้ชุมนุมใช้อารมณ์ในการเจรจา ทั้งที่ตนพยายามจะมาเจรจาดีๆ และห้ามไม่ให้ติดป้ายต่างๆ กลับมาถูกตบหัวอย่างไม่มีเหตุผล “ผมโดนตบหัว แบบนี้มันไม่ใช่ ทำแบบนี้กันไม่ได้”
ต่อมาทางด้าน ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) โพสต์เฟซบุ๊กเผยแพร่คลิปเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมระบุว่า ปล่อยให้เหิมเกริม ลามปามไปขนาดนี้ ตำรวจก็กล้าตบหัวได้ ต่อไปจะไม่ลามไปตบหัวอัยการ แล้วจะไม่ลามปามไปตบหัวผู้พิพากษาหรือ จะปล่อยให้กร่างต่อไปนี้ได้อย่างไร ทำไมไม่จับกุม แล้วส่งฟ้อง ตัดสินเข้าคุกไปเลย กระทำความผิดซึ่งหน้าขนาดนี้
โดยคลิปเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นช่วงที่พ.ต.อ.กฤษฎางค์ พูดท่ามกลางผู้ชุมนุมว่า “ผมโดนพบหัว มีลุงคนหนึ่งมาตบหัวผม “แต่มีเสียงผู้หญิง ตอบว่า “แต่ประชาชนไม่มีอาวุธ ไม่มีตำแหน่งเหมือนพวกคุณไง” ทางผกก.จึงหันไปตอบว่า “แล้วผมไปทำอะไรเขาละ ผมก็ไม่มีอะไร แล้วมาตบหัวผมข้างหลัง ทำได้เหรอ ทำอย่างนี้ได้เหรอ” แต่ทางผู้หญิง กล่าวสวนว่า “เขามารอคำตอบคะ คุณก็ให้คำตอบพวกเขา คุณมาอ่านประกาศเดิมๆไง “ทางผกก.จึงตอบว่า “ก็นี่คนละกองไง มันผิดกฏหมายไง พวกคุณเห็นมั้ย ผมโดนตบหัว หมวกผมหล่น”
หากย้อนไปกรณีเหตุการณ์นักกิจกรรมหญิงชูป้ายแสดงออกเชิงสัญลักษณ์บริเวณห้างสรรพสินค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต จนมีเหตุกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม โดยทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้เข้าควบคุมตัวขณะพยายามชูป้ายที่มีข้อความซึ่งเกี่ยวข้องกับสถาบัน ก่อนเจ้าหน้าที่รายหนึ่งจะตบหน้านักศึกษาสาวรายดังกล่าว ส่งผลให้ทาง “ICONSIAM” ออกประกาศพร้อมลงโทษหากสืบสวนแล้วพบว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยตบหน้าหญิงสาวรายดังกล่าวจริง
หลังเหตุการณ์รุนแรง เบญจา และเพื่อนอีก 3 คน ที่ถูก รปภ. ยึดมือถือ ถูกเชิญตัวไปยัง สน.คลองสาน เพื่อให้ปากคำ โดยมีแกนนำคณะราษฎร รุ้ง ปนัสยา เพนกวิน พริษฐ์ และไมค์ ภาณุพงศ์ มาให้กำลังใจที่ สน. ด้วย ระหว่างการให้ปากคำ เพนกวินได้เจรจาขอป้ายต่างๆ คืน ก่อนจะนำป้ายเหล่านั้นมาถ่ายรูป ตำรวจจึงตักเตือน และขอให้เก็บป้ายทั้งหมด และในระหว่างที่เบญจา และเพื่อนกำลังให้ปากคำอยู่นั้น ได้มีการนำตัวเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ที่ก่อเหตุเข้ามาสอบสวน ทำให้ทั้งสองเกิดการถกเถียงกันเล็กน้อย แต่ไม่ได้มีการก่อเหตุใดๆ เพิ่มเติม โดยตำรวจ ได้ปรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท ส่วนกรณีชูป้ายข้อความทางการเมือง ซึ่งขัดต่อหลักปฏิบัติของ ICONSIAM ทางห้างไม่ได้เอาผิดใดๆ
หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ประชาชนออกออกมาประณาม รวมถึงวิพากษ์วิจารณ์การรับมือของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยห้างดัง ผ่านทางออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีมวลชนบางส่วน นำโดย ภาณุพงศ์ จาดนอก ออกมารวมตัวกับที่หน้าห้างเพื่อกดดันให้มีการรับผิดชอบ และชี้แจงถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น
ต่อมาทางเพจ ICONSIAM ออกประกาศ ว่า สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่มีผู้มาแสดงออกทางสัญลักษณ์ในพื้นที่ของไอคอนสยาม โดยไม่ได้รับอนุญาต นำไปสู่การเข้าขอความร่วมมือและระงับเหตุจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทฯได้ดำเนินการสอบสวนรายละเอียดและข้อเท็จจริง พบว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เข้าระงับเหตุไม่ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ และไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของบริษัท จนก่อให้เกิดความเสียหาย บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องลงโทษด้านวินัยตามระเบียบการของบริษัทฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวเข้าใจและรับรู้ พร้อมทั้งแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก โดยมีผลทันที บริษัทฯ ขอยึดมั่นในการให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า ซึ่งบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติที่ชัดเจนที่พนักงานจะต้องยึดถือเพื่อดำเนินการ ไอคอนสยามขออภัยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมา ณ ที่นี้
ซึ่งหากนำสองเหตุการณ์นี้ เป็นเหตุการณ์ที่มีการใช้ความรุนแรง โดยเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ได้ตบหน้านักกิจกรรมที่ได้ชูป้ายที่ห้าไอคอนสยาม เหล่าสาวกปลดแอกก็ได้ออกมาเรียกร้องให้รับผิดชอบและมีการโจมตีไปยังห้างดังกล่าว แต่เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมตบหัวผกก.สน.บางซื่อ กลับอ้างว่า เป็นเสรีภาพและบอกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ซึ่งก็ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายคนมองว่า การกระทำของผู้ชุมนุมไม่เหมาะสม เป็นการละเมิดผู้อื่น เรียกร้องให้ตำรวจดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ทางตำรวจจะดำเนินการกับผู้ชุมนุมที่เข้ามาทำร้ายตำรวจอย่างไร
อย่างไรก็ตาม หลายคนมองว่า เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นความผิดซึ่งหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถดำเนินการได้ทันทีเพราะเป็นเหตุซึ่งหน้า โดยตาม มาตรา 80 ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ
ซึ่งเหตุการณ์ที่ผู้ชุมนุมตบหัวผกก.สน.บางซื่อนั้น เข้าข่ายความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ