คณะเรี่ยราดดูไว้! มาเลย์ไม่สนม็อบ เลือกรักษาชีวิตคน กษัตริย์ประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ

2127

ยังต้องตามติดสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง สำหรับการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่ทั่วโลกตอนนี้ เกิดการระบาดอย่างหนัก ในขณะที่หลายประเทศออกมาตรการต่าง ๆ ควบคุมการระบาดในวงกว้าง และบางประเทศมีการประกาศล็อกดาวน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เกี่ยวกับเรื่องนี้เอง ล่าสุด มีรายงานว่า มาเลเซียประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศในวันนี้ (12 ม.ค. 2564) เพื่อต่อสู้การแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน่ากังวล และมีความเสี่ยงที่ระบบสาธารณสุขของประเทศอาจรองรับไม่ไหว

โดย แถลงการณ์จากสำนักพระราชวังมาเลเซีย ระบุว่า สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน อับดุลเลาะห์ รีอายาตุดดิน อัล-มุสตาฟา บิลลาห์ ชาห์ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รัฐบาลประกาศคำสั่งสถานการณ์ฉุกเฉินจนถึงวันที่ 1 ส.ค. 2564 หรือเร็วกว่านั้น จนกว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศจะกลับสู่ภาวะควบคุมได้

“สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน อับดุลเลาะห์ ทรงเล็งเห็นว่าการระบาดของโควิด-19 ในประเทศเข้าสู่ขั้นวิกฤต และมีความจำเป็นที่จะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน” อะหมัด ฟาดิล ชัมซุดดิน เลขาธิการพระราชวังมาเลเซีย ระบุในแถลงการณ์

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังเปิดทางให้มีการสั่งระงับประชุมรัฐสภาและกิจกรรมทางการเมืองทั้งหมด ในห้วงเวลาที่รัฐบาลอายุ 10 เดือนของนายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซิน กำลังง่อนแง่นเต็มทน

ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเคยปฏิเสธคำร้องขอประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของมูห์ยิดดิน ในเดือน ต.ค. หลังมีเสียงวิจารณ์จากผู้นำฝ่ายค้านว่ารัฐบาลคิดจะใช้ช่องทางนี้เพื่อยื้ออำนาจ

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมีขึ้นเพียง 1 วัน หลังจากที่ผู้นำมาเลเซียได้ออกคำสั่งล็อกดาวน์พื้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และอีก 5 รัฐเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ครอบคลุมประชากรราว 20 ล้านคน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันพุธนี้ (13 ม.ค. 2564) พร้อมเตือนว่าระบบสาธารณสุขของชาติ “ใกล้จะแบกรับภาระไม่ไหวแล้ว”

การเดินทางข้ามระหว่างรัฐต่าง ๆ จะถูกห้ามภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ และสมาชิกในครอบครัวเดียวกันจะออกจากบ้านไปทำกิจธุระ เช่น ซื้ออาหารและข้าวของเครื่องใช้ได้คราวละไม่เกิน 2 คนเท่านั้น ส่วนธุรกิจที่มีความสำคัญยิ่งยวด เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต และสถาบันการเงินยังคงเปิดทำการได้

มาเลเซียทำสถิติมียอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงเกิน 3,000 คนเป็นครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมพุ่งสูงกว่า 138,000 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 555 คนเมื่อวานนี้ (11 ม.ค. 2564)

อย่างไรก็ตาม จากเหตุประกาศล็อกดาวน์ที่ประเทศมาเลเซีย ลองย้อนกลับมาที่ไทยของเรานั้นกลับพบว่า เมื่อรัฐบาลประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ล็อกดาวน์ประเทศ ต่างก็มีฝั่งตรงข้ามออกมาวิพากษ์วิจารณ์ยกเรื่องดังกล่าวออกมาโจมตี รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างหนัก เช่นม็อบที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยก็ออกมาโจมตีว่ารัฐบาลล็อกดาวน์เพราะไม่ต้องการให้มีการชุมนุม ไม่เพียงเท่านั้นฝ่ายค้านบางคนก็ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ด้วย

ขณะที่ในแง่ของผลกระทบเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการภาคธุรกิจล้มทั้งยืน ปิดกิจการจากคำสั่งล็อกดาวน์ของรัฐบาลปี 2563 ที่ผ่านมา ยังไม่ทันฟื้น มาปี 2564 เจอโควิด-19 รอบใหม่ ที่รัฐบาลไม่ล็อกดาวน์ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจก็ประสานเสียงเดียวกันว่า ไม่ล็อกก็เหมือนล็อกนั้นเอง เพราะไม่ใครเดินทาง ไม่มีใครใช้จ่าย ธุรกิจไม่มีทางอยู่ได้

ด้านผลสำรวจของโพลก็แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ แก้ปัญหาโควิด-19 รอบใหม่ ไม่เด็ดขาด ทำให้เอาไม่อยู่ทั้งการคุมโรคและการพยุงเศรษฐกิจ

ไม่เพียงแค่เรื่องล็อกดาวน์ ดังกรณีล่าสุด ที่ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศเรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยจังหวัดที่มีผลจากคำสั่งนี้ มีทั้งหมด 28 จังหวัด และระหว่างที่สถานศึกษาปิดเรียน ให้ส่วนราชการต้นสังกัด กำหนดแนวทางการเรียนการสอนตามแนวทางกระทรวงศึกษาธิการระบุไว้ เช่น การสื่อสารด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าหากไม่สามารถทำได้ ก็จัดการเรียนการสอนโดยใบสั่งงาน หรือมอบตามความเหมาะสม ไม่ต้องเข้าชั้นเรียน

ต่อมา หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือ “คุณปลื้ม” พิธีกร และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ Nattakorn Devakula วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ว่า “ถ้าคิดถึงเด็กในวันเด็กจริงก็เปิดโรงเรียนให้เขาไปเรียนหนังสือ ไม่ใช่ทอดทิ้งให้เรียนออนไลน์เช่นนี้…เเย่หว่ะ!”