ปวินเขียนบทความจาบจ้วงลงสื่อสหรัฐ!อัษฎางค์เขียนโต้แย้งส่งบ้างแต่ไม่ยอมลงให้?

2787

จากที่วันนี้ 30 ธันวาคม 2563 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กถึง นาย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการและอาจารย์ประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มใหม่ที่ใช้ชื่อว่า รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส

ทั้งนี้ข้อความที่นายอัษฎางค์ โพสต์นั้นมีเนื้อหาระบุว่า  “ตามไปขอแก้ข่าวปวินให้ร้ายสถาบันฯ ใน NYT” (นิวยอร์กไทมส์)

ปวิน เขียนบทความจาบจ้วงให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ทั้งที่ตนเองก็เป็นคนไทย ลงในสื่อยักษ์ใหญ่ระดับโลกของอเมริกาเมื่อวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของในหลวงรัชกาลที่ 9

สิ่งที่ปวินทำลงไป เป็นภาพเหมือนการที่ปวินยืนด่าพ่อแม่ตัวเองอยู่หน้าบ้านให้ชาวบ้านฟัง ซึ่งดูผ่านๆ เหมือนว่าเป็นการประจานพ่อแม่ตัวเอง แต่ความจริงมันเป็นการประจานตัวเองด้วยว่า ตนเองเป็นคนอย่างไร

ผมและทีมงานจึงหาทางจะชี้แจงให้โลกได้เห็นอีกมุมหนึ่ง ด้วยข้อเท็จจริง โดยทำการส่งจดหมาย เป็นบทความไปที่ The New York Times โดยตั้งความหวังไว้ว่า NYT จะพิจารณานำบทความอีกแง่มุมของผมออกเผยแพร่ เพื่อให้ผู้ติดตามข่าวได้พิจารณาว่า ความจริงเป็นเช่นไร แต่ NYT ไม่ให้โอกาสคนไทยได้แก้ข่าวจาบจ้วงให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย

ซึ่งมันบ่งบอกเป็นนัยยะที่ซ้อนเร้นหรือไม่ว่า NYT และสหรัฐอเมริกา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่ให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือไม่ อย่างไร?

(https://www.nytimes.com/…/thailand-king-protests.amp.html)

ในเมื่อ NYT ไม่ให้ลงข่าว ผมขอเอามาโพสต์ในเพจของผมแทนแล้วกัน ช่วยกันแชร์ให้ชาวโลกได้ประจักษ์ถึงความจริงของสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งของคนไทยด้วยกัน

สำหรับ The New York Times ได้ลงบทความของนายปวิน โดยพาดหัวชื่อเรื่องไว้ว่า…

A King A bove and Beyond Politics

( กษัตริย์อยู่เหนือ และไม่เกี่ยวข้องการเมือง *แปลโดย สำนักข่าว THE TRUTH )

และในการโปรยด้านล่างจากการพาดหัวยังระคำโปรยไว้ว่า…

Why are the people of Thailand rising up against royal power now?

By Pavin Chachavalpongpun

(ทำไมวันนี้คนไทยถึงลุกขึ้นต้านอำนาจของกษัตริย์?  *แปลโดยสำนักข่าว THE TRUTH)

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่  20 ตุลาคม 2563 รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก จากการได้ติดตามสถานการณ์การชุมนุมประท้วงของกลุ่มคณะราษฎร 2563 ซึ่งมีข้อสังเกตุที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เปิดโปง ชี้ให้เห็นร่องรอยมือมืดจากต่างประเทศที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง???

“ทฤษฎีที่ว่า สหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลัง ความพยายามล้มรัฐบาลนี้ เพื่อต้องการรัฐบาลใหม่ที่ไม่ฝักไฝ่กับจีน ดูท่าจะมีความเป็นไปได้มากขึ้นทุกที สังเกตุว่า สื่อต่างๆของอเมริกัน และที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอเมริกา เช่น The Economist ของอังกฤษล้วนลงข่าวเป็นลบต่อรัฐบาล และเป็นคุณกับฝ่ายม็อบทั้งสิ้น

สื่ออิสระต่างๆในประเทศที่ชัดเจนว่าเป็นแหล่งป้อนชุดความคิดให้เยาวชนคนรุ่นใหม่หลายแห่ง รวมทั้ง NGO ต่างๆ ได้รับเงินสนับสนุนจาก National Endowment for Democracy หรือ NED” อดีตรองอธิการธรรมศาสตร์ ระบุ

ก่อนหน้านี้หากจะย้อนไปเมื่อไม่กี่วัน ก็จะพบข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง โดย 17 พ.ย.2563 นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ ไอลอว์ ชี้แจงต่อสภาฯกรณีเปิดช่องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 1 และ 2 โดยช่วงหนึ่งถึงเรื่องเอ็นจีโอไทยรับเงินต่างชาติ ระบุว่า

“การเมืองมีปัญหา เพราะผู้มีอำนาจไม่ไว้ใจประชาชน จึงได้เกิดรัฐประหารบ่อย และกว่า 1 แสนรายชื่อที่เสนอร่าง มีความคิดเห็นหลากหลาย ส่วนกรณีข้อครหาว่าเป็นองค์กรที่รับเงินจากต่างประเทศ ก็ไม่ได้แปลว่าองค์กรจะถูกชี้นำหรือบงการ ซึ่งผมรับรองได้ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มไอลอว์” นายจอน กล่าวยอมรับกลางสภาฯ

รวมทั้ง นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผู้ประสานงานเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้ร่วมเสนอร่างของกลุ่มไอลอว์ ก็ยอมรับว่า หลายๆองค์กรคงไม่อยากจะไปรับเงินต่างชาติ หากองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐมีความเป็นอิสระและใจกว้างเพียงพอ ที่จะอนุมัติงบประมาณให้องค์กรที่วิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐ จึงทำให้ต้องแสวงหาแหล่งที่พร้อมสนับสนุนงบประมาณ แต่ไม่ได้เป็นการรับจ้างทำงาน เป็นการเสนอสิ่งที่อยากทำหากแหล่งทุนเห็นชอบร่วมกัน พร้อมยืนยันว่าการรับทุนเป็นไปอย่างโปร่งใส การระบุว่ารับเงินต่างชาติเพื่อให้ต่างชาติแทรกแซง เป็นข้อกล่าวหาที่เกินจริง?!?