รฟม.เจอสองเด้งเรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งนั้น ต้องขี้นศาลปกครองวันที่ 6 ต.ค. แถลงเรื่องเวนคืนที่ดินชาวบ้านไม่เป็นธรรมที่ค้างคามาแต่ปี 2559 และวันที่ 14 ต.ค.ต้องไปขึ้นศาลปกครองแถลงเรื่องแก้ทีโออาร์ส่อเค้าไม่โปร่งใส ขณะเดียวกันก็ต้องรอฟังผลที่ศรีสุวรรณ จรรยายื่นฟ้องดีเอสไอเรื่องนี้ด้วยว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ทางคมนาคมและรฟม.ต่างก็ยืนยันความบริสุทธ์โปร่งใสในการทำงาน ก็ต้องรอดูผลการต่อสู้ในชั้นศาลว่า คนกลางซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐมีปัญหาเนื่องในโครงการขนาดใหญ่ กับทั้งประชาชนในพื้นที่ และกับบริษัทที่มาทำงานร่วมกันรัฐ จะชี้แจงให้กระจ่างว่าอย่างไรได้บ้าง คำตัดสินของศาลคงเป็นที่สุด
ภาครัฐ-เอกชนซัดกันนัวโครงการรถไฟฟ้าสีส้ม
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นโครงการร่วมลงทุน PPP Net Cost ในลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดย เอกชนลงทุนงานออกแบบและก่อสร้างงานโยธาโครงการฯ ส่วนตะวันตก (สถานีบางขุนนนท์ – สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ)
รวมถึงงานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบการทำงานของอุปกรณ์งานระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งงานให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษาตลอดทั้งเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท ระยะเวลา 30 ปีโดยรัฐสนับสนุนเงินลงทุนเอกชนไม่เกินค่างานโยธา 96,012 ล้านบาทเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า10 ปี
โดยมีเอกชนสนใจซื้อเอกสารข้อเสนอฯ สายสีส้มฯ รวมทั้งสิ้น 10 ราย ได้แก่1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM 2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC 3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS 4. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC 5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD 6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH 7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK 8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF 9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด 10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
-รฟม.ได้ปรับแก้ทีโออาร์การคัดเลือกเอกชน PPP รถไฟฟ้าสายสีส้มโดย ผูกซองเทคนิค-การเงิน รวมคะแนนสัดส่วน 30-70 และให้เลื่อนยื่นซองออกไปอีก 45 วัน เป็นวันที่ 6 พ.ย. 63 โดยยืนยันว่าเป็นไปตามประกาศคณะ กก.PPP ที่สงวนสิทธิ์ให้ปรับได้
-ทั้งนี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ไม่เห็นด้วยและยื่นหนังสือคัดค้านกับนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มีนายกิตติกร ตันเปาว์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ รฟม. และรักษาการรองผู้ว่าการ รฟม. (วิศวกรรมและก่อสร้าง) เป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36
–ต่อมาBTS ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา โดยเป็นการยื่นฟ้องร้องต่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 และรฟม. เพื่อขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราว และยกเลิกการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ และรฟม.ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายเข้ายื่นคัดค้านการขอคุ้มครองประเด็นดังกล่าวทันที ส่งผลให้ขณะนี้ศาลปกครองมีคำสั่ง ให้เข้าชี้แจง 14 ต.ค.2563
-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ยืนยันว่าผู้บริหารรฟม.ได้รายงานให้ทราบและยืนยันว่ารฟม.ได้ปรับหลักเกณฑ์ถูกต้องตามกฎหมาย และอยู่ในสิ่งทีโออาร์ที่มีอยู่ เป็นประโยชน์กับ รฟม. และราชการ ส่วนการดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์ที่นำเงื่อนไขด้านเทคนิครวมกับเงื่อนไขราคานั้น เรื่องนี้ได้มีเอกสารยืนยันว่าทำได้จากสคร. กระทรวงการคลังแล้วด้วย
-ล่าสุดนายศรีสุวรรณ จรรยายื่นฟ้องดีเอสไอ ข้อหาพบข้อพิรุธเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่ (TOR) ในการประมูล เพราะเกี่ยวข้องกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งอาจเข้าข่ายร่วมฮั้วประมูลด้วย
ชาวบ้านร้องรฟม.เวนคืนที่ไม่เป็นธรรม สุ้มานานตั้ง 5 ปี
-วันที่ 6 ตุลาคม 2563 ศาลปกครองกลาง เรียกชาวบ้านแจงคดีเปลี่ยนแนวเวนคืนสายสีส้มจากพระราม 9-ดินแดงเป็นประชาสงเคราะห์ ไม่เป็นธรรม
คดีดำ พ9/2559 แถลงต่อหน้าศาลในคดี หมายเลขแดงฝ2563 เวลา 13.00 น.ที่ศาลปกครอง ในประเด็นเรื่อง รฟม.ออกพระราชกฤษฏีกา(พรฎ) เวนคืนไม่เป็นธรรมต่อชาวบ้าน มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุน จากถนนพระราม 9-ดินแดง-ประตูน้ำ เพราะเส้นทางนี้อ้อมทำให้รฟม.ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม และสร้างความเดือดร้อนกับวิถีความเป็นอยู่ของประชาชน ทำไมไม่ใช้เส้นทางเวนคืนเดิมที่แทบไม่ต้องเวนคืนที่ดิน
นายประทีป นิลวรรณ ประธานชุมชนประชาสงเคราะห์ เขตดินแดงเปิดเผยว่า ชุมชนประชาสงเคราะห์ยินยอให้รฟม.สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มผ่านได้หากใช้หัวเจาะอุโมงค์ ให้รถไฟฟ้าลอดผ่านใต้ชุมชนทั้ง 184 หลังคาเรือน แต่ยืนยันจะเวนคืนชาวบ้านจะต่อสู้ถึงที่สุด และมีหลักฐานรฟม.ปั้นเรื่องเท็จว่า มีการประชุมชาวบ้าน 90 คน อ้างว่าเห็นชอบให้รฟม.นำพื้นที่ชุมชนไปก่อสร้างรถไฟฟ้าได้ และที่ผ่านมารฟม.ไม่เคยลงพื้นที่ถามความเห็นชาวบ้าน ทั้งนี้ชาวบ้านยื่นฟ้องมานาน 4 ปีตั้งแต่พ.ศ.2559 เป็นการนัดครั้งแรกในประเด็น
“เป็นการกระทำที่ผิดไปจากข้อตกลงของชุมชนและขัดต่อผลการศึกษาบริษัทที่ปรึกษา อีกทั้งขัดต่อมติคณะกรรมการจัดระบบจราจรทางบก(คจร.)”