บุตรชายพ.ต.เสวกคณะราษฎร สะอื้นไห้ก่อนเสียชีวิตพ่อได้สำนึกผิดต่อ3พระองค์

11833

จากที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Bongsbandhuteja Agrindra” ได้โพสต์ ว่า “หมายข่าวถึงสำนักข่าวทุกสำนัก เรื่อง:การแถลงข่าวของ พลโท สรภฎ นิรันดร บุตรชายคณะราษฎร 2475

ทั้งนี้โดยมีประเด็นแจ้งว่า สำนึกผิดแทนบิดา (พันตรี เสวก นิรันดร หรือ ขุนนิรันดรชัย) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะราษฎร 2475 สายทหารบก ที่ได้กระทำการมิบังควรต่อทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาเป็นของตนเองโดยมิชอบ ในวันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม 2563 ที่โรงแรม INTERCONTINENTAL BANGKOK ( สี่แยกราชประสงค์ )

ล่าสุดวันนี้ (26ธ.ค.63) พลโท สรภฎ นิรันดร ได้ออกมาแถลงสำนึกผิดแทนบิดา นั่นคือ พันตรี เสหวก นิรันดร หรือ ขุนนิรันดรชัย ซึ่งหนึ่งในคณะราษฎร์ 2475 สายทหารบก ที่ได้กระทำการมิบังควรต่อทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาเป็นของตนเองโดยมิชอบ ซึ่งมีเนื้อหาบางช่วงระบุว่า อยากให้เด็กเยาวชนได้ศึกษาความเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยให้ถ่องแท้ ได้ยือถือพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ให้ใช้สติ อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ

ส่วนเรื่องปฏิวัติ 2475 ผิดหรือถูกนั้น บุตรชาย พันตรี เสวก กล่าวว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล คุณพ่อก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ละคนต่างก้มีความคิดต่างกันไป โดยก่อนเสียชีวิตคุณพ่อได้มีความสำนึกผิด ช่วงนั้นท่านยังมีชีวิตก็ได้สำนึกผิดซึ่งเหตุการณ์มิบังควรนั้นได้เกิดขึ้น ตอนคุณพ่อเป็นกรรมการสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เรื่องเกี่ยวกับที่ดินของตระกูล นิรันดร ที่มีจำนวน 80 แปลง มีอยู่ที่ถนนสาทร 3ไร่กว่า ทั้งที่ใกล้กับพระตำหนัก และพระราชวัง อีก2แห่ง

“คุณพ่อมีลูกทั้งหมด 4คน อีก3คนนั้นตอนนี้นั่งรถเข็นหมดแล้ว เหลือเพียงตนที่เดินได้ ส่วนจะส่งคืนที่ดินนี้หรือไม่นั้น ต้องมีการพูดคุยกับลูกหลานด้วย เพราะของที่จะส่งคืนนั้นต้องมีความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ว่าไม่อยากคืน เพราะแม้แต่ชีวิตของตนก็สละให้ได้”

อย่างไรก็ตามพลโท สรภฎ ได้ก้มลงกราบพร้อมกล่าวคำขอพระราชทานอภัยโทษต่อหน้า พระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวง3พระองค์ด้วย คือ ในหลวงรัชกาลที่ 7 ในหลวงรัชกาลที่ 8 และในหลวงรัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ช่วงระหว่างการแถลงนั้น พลโท สรภฎ ได้มีน้ำเสียงสะอื้นด้วย ขณะตอบคำถามสื่อมวลชน

สำหรับ ขุนนิรันดรชัย หรือในชื่อ พ.ต.สเหวก นิรันดร เป็นคณะราษฎรสายทหารบก กลุ่มเด็กรุ่นใหม่ ที่คอยช่วยเหลือสายทหารในการก่อการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 จนกระทั่งประสบความสำเร็จ โดยเขาอยู่ทำงานในสายรับใช้ ‘ผู้ใหญ่’ มาโดยตลอด จนจอมพล ป. ไว้ใจเป็นอย่างมาก กระทั่งถูกแต่งตั้งเป็นคนประสานระหว่างรัฐบาล (ช่วงจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรี) กับคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (สมัยรัชกาลที่ 8 ทรงครองราชย์) โดยมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นแกนนำในกลุ่มคณะทำงานชุดนี้ และมีขุนนิรันดรชัยเป็นเลขานุการคณะทำงานผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

ว่ากันว่าในช่วงนี้ ภายหลังมีการตั้งคณะทำงานผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่นานนัก คณะราษฎรบางสาย ได้ชวนกันจับจองกว้านซื้อที่ดินใจกลางเมือง ทำเลเลิศหรู ไม่ว่าจะเป็นที่ดินแถวถนนสาทร ถนนวิทยุ เป็นต้น

ขณะที่ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์ของพันเอก พิบูลสงครามกับขุนนิรันดรชัยนั้นก็น่าจะลองพิจารณาการซื้อขาย“ราคาที่ดินพระคลังข้างที่”ซึ่งเป็น“พื้นที่หน้าพระราชวังจิตรลดารโหฐาน”ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

โดยพันเอก หลวงพิบูลสงคราม ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ภายหลังจากที่รัฐบาลถูกอภิปรายเรื่องการแห่กันซื้อที่ดินพระคลังข้างที่เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 แล้ว พันเอก หลวงพิบูลสงคราม ได้ยื่นหนังสือลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตามการลาออกของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนานายกรัฐมนตรี

ทั้งพันเอก หลวงพิบูลสงคราม ได้ยอมรับในการเขียนจดหมายชี้แจงหนังสือพิมพ์เพื่อประกอบเหตุผลการลาออกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 28กรกฎาคมพ.ศ. 2480ว่าเมื่อปีพ.ศ. 2479ได้มีผู้แนะนำให้ซื้อที่ดินพระคลังข้างที่หน้าพระราชวังจิตรลดารโหฐานเพื่อ“ปลูกบ้านส่วนตัว”

แม้จะซื้อที่ดินจากพระคลังข้างที่จริงแต่ก็ได้ขายคืนที่ดินกลับไปเพราะไม่ต้องการให้เกิดความยุ่งยากในการขับไล่ราษฎรและการรื้อถอนของสิ่งปลูกสร้างโดยสำหรับประเด็นที่น่าวิเคราะห์จากการแถลงครั้งนั้นในเรื่อง“ราคาที่ดิน”ปรากฏความตอนหนึ่งว่า:

“ได้ตกลงซื้อไว้ 2ไร่ราคาไร่ละ 4,000บาทเป็นเงิน 8,000บาททางพระคลังข้างที่ก็จัดการโอนที่ดินนั้นให้ข้าพเจ้าประมาณเดือนมกราคมพ.ศ. 2480”

ในขณะที่นายธรรมนูญ นิรันดร หนึ่งในทายาท“ขุนนิรันดรชัย”ได้เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 พระราชทานพื้นที่ 1 ไร่ให้“ขุนนิรันดรชัย”นั้น เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่าขุนนิรันดรชัยได้ลาออกจากราชเลขาธิการในพระบาทก่อนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 จะทรงบรรลุนิติภาวะ และก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 จะทรงเสด็จนิวัติกลับประเทศไทยด้วย ดังนั้นขุนนิรันดรชัยจึงได้เป็นข้าราชการในสำนักราชเลขานุการของ“คณะผู้สำเร็จราชการเท่านั้น” ดังนั้นจึงน่าสงสัยว่าการได้ที่ดินมาในครั้งนั้นได้มาจากใครระหว่าง ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 หรือได้จากคณะผู้สำเร็จราชการกันแน่

ขณะเดียวกันจาการสัมภาษณ์ของนายธรรมนูญ ในครั้งนั้น ทำให้ทราบได้ว่า ขุนนิรันดรชัย ได้ซื้อที่ดินหน้าพระราชวังจิตรลดาในราคาต่ำกว่า 75 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับราคาหน้าพระราชวังเดียวกันที่“พันเอก หลวงพิบูลสงคราม”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เคยซื้อเอาไว้เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2480 ในราคา 4,000 บาทต่อไร่

ขุนนิรันดรชัยซื้อที่ดินบริเวณ“หน้าวัง” ในราคาถูกกว่าที่ซื้อพื้นที่เพิ่มเติม 62.5 เปอร์เซนต์ โดยจากราคาหน้าวังตารางวาละ 2.50 บาท (1,000 บาทต่อไร่) มาเป็นซื้อพื้นที่เพิ่มเติมตารางวาละ 4 บาท (1,600 บาทต่อไร่)

ในช่วงนั้นมีการนำที่ดินพระคลังข้างที่ออกมาจัดสรรให้สมาชิกคณะราษฎรผ่อนซื้อในราคาถูกๆ อ้างว่าเป็นที่ดินพระราชทาน ครั้นต่อมาปรากฏว่าผู้ซื้อแทบทุกคนไม่มีการผ่อนชำระ ก็จัดฎีกาขอพระราชทานยกหนี้ให้ แน่นอนว่าการกระทำภายใต้พระปรมาภิไธยนี้ องค์ยุวกษัตริย์มิเคยทรงได้รับทราบ

ต่อมาร.ท.ขุนนิรันดรชัย เปลี่ยนชื่อ เป็นสเหวก นิรันดร พ้นความหมายเดิมของเสวกไป ปัจจุบันตระกูลนิรันดรคือผู้ถือครองที่ดินผืนงามขนาดใหญ่ผืนหนึ่งบนถนนวิทยุที่ได้ “รับพระราชทาน”มาตั้งแต่ครั้งกระนั้น