ถึงทางแยก?!!? สงครามดิจิทัล สหรัฐ-จีน!! WeChat-TikTok ถูกUSAแบนสะเทือนแต่ไม่ล้ม จีนโต้สร้าง IPv6 ตีจากอินเตอร์เน็ตตะวันตก

2951

ปธน.ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งพิเศษห้ามบุคคลหรือบริษัทอเมริกันทำธุรกรรมใดๆ กับบริษัท ไบต์แดนซ์ (ByteDance) ซึ่งเป็นเจ้าของ ติ๊กต็อก (TikTok) และบริษัท เทนเซ็นต์ เจ้าของแอพพลิเคชัน “WeChat” จากจีน มีผลภายในระยะเวลา 45 วัน เว้นเสียแต่จะขายกิจการให้กับบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ ไบแดนซ์บริษัทแม่ของTikTok ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาชและเตรียมฟ้องร้องต่อศาลสหรัฐเร็วๆนี้ ส่วน WeChat แจงไม่กระทบมาก แต่บริษัทเกมส์ในสหรัฐ, บริษัทแอปเปิลในจีน วิตกผลกระทบจะมากกว่า ล่าสุดจีนเปิดตัว IPv6 อินเตอร์เน็ตล้ำยุคเตรียมใช้แยกค่ายจากไมโครซอฟท์อย่างชัดเจน

กดดันบริษัทเทคโนโลยีจีน-ทำบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐกระทบเอง

สำนักข่าวบีบีซีเปิดเผยว่า บริษัท เทนเซ็นต์ (Tencent) บริษัทวิดีโอเกมยักษ์ใหญ่ และเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันพูดคุย WeChat ได้ออกมาเปิดเผยรายได้ในช่วงไตรมาสที่สอง เมื่อช่วงวันพุธ (12 ส.ค.)ว่า บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 37%  โดยทางเทนเซ็นต์ได้ตรวจสอบคำสั่งพิเศษ  “ห้ามบุคคลหรือบริษัทอเมริกันทำธุรกรรมใดๆ กับบริษัทเทนเซ็นต์” ที่ปธน.สหรัฐฯโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา  ซึ่งในคำสั่งระบุว่าข้อบังคับนี้จะมีผลแค่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น และพวกเขาไม่เห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการทำธุรกิจของพวกเขาในประเทศจีน เนื่องจากผู้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกามีแค่ 2% ของผู้ใช้กว่าพันล้านคนซึ่งเป็นคนจีนเป็นส่วนใหญ่

นักวิเคราะห์ทั้งฝั่งจีนและสหรัฐฯได้แสดงความกังวลว่า ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากคำสั่งครั้งนี้อาจจะไม่ใช่ทางแอพฯ WeChat แต่เป็นบริษัทแอปเปิล (Apple) ที่มีตลาดขนาดใหญ่ในประเทศจีน และหากชาวจีนไม่สามารถใช้แอปฯ WeChat ได้จะทำให้พวกเขาหันไปซื้อโทรศัพท์รุ่นอื่นแทน โดยจากการคำนวณของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก คาดเดาว่าตลาดจีนทำเงินให้กับแอปเปิลเป็นเงินมากกว่า 44,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือราวๆ 1 ล้านล้านบาท

TikTok ของบริษัทไบแดนซ์ เป็น tech-unicorn ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกครอบคลุมผู้ใช้ทุกระดับอายุและอาชีพในจีน ล่าสุดมีมูลค่าสูงถึง 140 พันล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทนี้มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงปักกิ่ง ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อกว่า 8 ปีที่แล้ว แต่สามารถสร้างฐานผู้ใช้และมูลค่าบริษัทได้สูงถึงขนาดนี้ แสดงถึงวิสัยทัศน์ การจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง ตลอดจนความสามารถด้าน AI ที่มีกองทัพ Data Scientist กว่าหมื่นคนรวมทั้ง Content Specialist อีกหลายหมื่นคนทำงานอยู่ 

สหรัฐฯหวังครอบงำโลกออกไลน์ผ่าน Microsoft+TikTok 

ความพยายามยึดนำเอา TikTok มาผูกเอาไว้กับ ไมโครซอฟท์ สามารถที่จะเพิ่มขยายฐานะครอบงำของอเมริกันในโลกออนไลน์และสื่อสังคมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นไปอีก และยกระดับสถานะของไมโครซอฟท์เทียบแข่ง Facebook อย่างมั่นคง  แต่อาจก่อให้เกิดผลด้านลบที่ไม่ได้ตั้งใจบางประการขึ้นแก่บรรดาบริษัทสหรัฐฯ  และแก่แนวความคิดเรื่องอินเทอร์เน็ตแบบเปิดกว้าง (Internet Protocal)

ดาร์เรลล์ เวสต์ (Darrell West) ผู้อำนวยการของศูนย์กลางเพื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ซึ่งสังกัดอยู่กับสถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) กลุ่มคลังสมองที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงวอชิงตันกล่าวว่า

“มันอาจจะกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดลัทธิชาตินิยมทางข้อมูล (data nationalism) ขึ้นมา โดยมันจะกลายเป็นเชื้อเพลิงเติมพลังให้แก่เสียงเรียกร้องในหลายๆ ประเทศ ซึ่งต้องการให้ท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมเหนือแพลตฟอร์มต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต ตลอดจน (ให้ท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุม) การจัดเก็บข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ภายในขอบเขตเส้นเขตแดนประเทศของพวกเขาเอง”

ซูซาน แอรอนสัน (Susan Aaronson) อาจารย์และหัวหน้าศูนย์ด้านการค้าดิจิตอลและธรรมาภิบาลทางข้อมูล (Digital Trade and Data Governance hub) ณ มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน มองว่า “ข้อสรุปโดยรวมทั้งหมดของอินเทอร์เน็ตคือ ข้อมูลควรที่จะไหลเวียนข้ามพรมแดนต่างๆ ได้อย่างเสรี” แอรอนสัน ชี้ “ถ้าหากคุณกำลังใช้วิธีข่มเหงรังแกคนอื่นๆ และกำลังทำตัวเป็นนักชาตินิยมแล้ว อินเทอร์เน็ตก็จะเกิดการแบ่งแยกแตกออกเป็นส่วนๆ มากยิ่งขึ้นไปอีก”

จีนกำลังเร่งพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตให้เปิดกว้าง (Internet Protocal)  ใช้งานได้รวดเร็วขึ้น ไม่จำกัดจำนวนของอุปกรณ์ และปิดโอกาสไม่ให้ผู้ใช้งานปิดบังตัวตนได้อีกต่อไปสำนักข่าว ซินหัว ของจีน ระบุว่า หน่วยงานด้านอินเทอร์เน็ตชั้นนำหลายรายของจีนกำลังเฝ้ารอการเปิดตัวอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (Internet Protocol – IP) ใหม่สำหรับการใช้งานทั่วโลก ที่ใหญ่กว่าและเร็วกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังปิดโอกาสที่ผู้ใช้งานจะปกปิดตัวตนด้วย

เทคโนโลยีนี้มีชื่อเรียกว่า IPv6 ซึ่งเป็นโครงสร้างโลกอินเทอร์เน็ตที่จะอนุญาตให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นับล้านล้านชิ้นเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละอุปกรณ์จะมีเลขที่อยู่ไอพี หรือ IP Address เฉพาะตัวด้วยระบบอินเทอร์เน็ตที่ในปัจจุบันนั้นคือ IPv4 หรือ เวอร์ชั่นที่ 4 ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และมีเลขที่อยู่ไอพีเพียงราว 4,300 ล้านเลขเท่านั้น ก่อนที่คนทั่วโลกจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้นผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แทบเล็ต และอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลายที่มีใช้กันอย่างกว้างขวางในเวลานี้

บริษัทเกมส์ฟอร์ทไนท์ฟ้องแอปเปิลและกูเกิล ฐานถอดเกมส์ออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า และอยู่ระหว่างดำเนินการทางกฎหมายเรียกร้องค่าเสียหายต่อกัน, บริษัทเกมส์ทีผูกติดกับ WeChat ได้แสดงกังวลและจับตาผลการแบน ว่าส่งผลต่อรายได้ของตนอย่างไร ถ้ากระทบมากคาดมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแน่นอน

การต่อสู้ช่วงชิงการนำ ในการเป็นเจ้าเทคโนโลยีอันดับหนึงของโลก  เข้มข้นขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อใกล้เวลาเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ (พฤศจิกายน 2563 ) อันที่จริงสหรัฐและจีนมีความขัดแย้งกันในหลายๆปัญหามานานโดยเฉพาะ การแข่งขันทางเทคโนโลยี ในทุกปริมณฑลเศรษฐกิจ  และดูเหมือนว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลับทำให้ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนตกเข้าสู่ภาวะแห่งความตึงเครียดมากยิ่งขึ้น  เมื่อปธน.ทรัมป์ใช้เป็นเหตุอ้างโจมตีจีนในทุกๆครั้งที่พูดถึงปัญหา ผลกระทบการระบาดโควิด-19 ในสหรัฐ และส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐดิ่งเหวต่อเนื่องอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เรียกว่าแทบทุกวันที่แถลงข่าวที่ทำเนียบขาวก็ว่าได้

ผลที่สุดจะเป็นอย่างไร ระหว่างเทคโนโลยีฝั่งสหรัฐฯ แอปเปิล-หัวเหว่ย, TikTok-Facebook, Alibaba-Amezon และเวทีใหม่ ระหว่างไมโครซอฟท์และ IPv4 กำลังเปิดฉาก  ผู้บริโภคอย่างเราก็ไม่พ้นถูกบีบให้เลือกว่า จะใช้ทีมไหนในการดำเนินชีวิต ทำมาต้าขาย อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้