ถอดบทเรียนมิคสัญญี!?! ประชาชนขัดแย้งแตกแยก?!!? ระเบิดเบรุต-วินาศกรรม-ประมาท-แทรกแซง ท่ามกลางประท้วง-ปะทะ อำนาจรัฐล้มเหลว

2162

ภาพความเสียหายยับเยินของเมืองเบรุต เมืองหลวงของเลบานอน สะท้อนความเป็นจริงหลายประการทั้งที่เปิดเผย และที่อยู่เบื้องลึกของสถานการณ์ภายในประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความขัดแย้งที่คุกรุ่นภายในระเบิดออกมาหลังระเบิด 2 ครั้งที่ท่าเรือหลัก ทำประชาชนผู้บริสุทธ์สังเวยชีวิตกว่า 200 คน บาดเจ็บ 6,000 คน และนี่คือสัญลักษณฺ์แห่งความตกต่ำอย่างที่สุดของเลบานอน ประเทศรัฐกันชนทีเหวี่ยงไปมาตามแรงสนับสนุน-ต้านของมหาอำนาจและผู้นำของประเทศที่สนใจรักษาฐานอำนาจมากกว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

“เลบานอน” กำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่สงครามกลางเมืองสิ้นสุดลงเมื่อ 30 ปีก่อน ที่ผ่านมาการเมืองในประเทศเต็มไปด้วยการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แสวงหาอำนาจและประโยชน์ให้กับพรรคพวกของตัวเอง ไม่ว่าฝ่ายสนับสนุนมหาอำนาจตะวันตก(สุหนี่) หรือฝ่ายคัดค้านอำนาจตะวันตก-อิสราเอล(ชีอะห์)

ควันไฟ-กองเลือดและน้ำตาประชาชน

หลังเกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่ทำให้มีผู้ไร้บ้านอยู่ถึง 300,000 คน เสียชีวิตกว่า 200 คน บาดเจ็บกว่า 6,000 คน มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นคาดว่า 15,000 ล้านดอลล่าร์ ก่อความไม่พอใจสูงสุดลุกลามเป็นความโกรธแค้นของประชาชนในกรุงเบรุต ก่อตัวประท้วงรัฐบาล แรกเริ่มไม่พอใจที่จัดการกับความเสียหายล่าช้า ความช่วยเหลือไม่ถึงมือประชาชนเร่งด่วนพอ และขยายตัวเป็นความขัดแย้งทางการเมืองในที่สุด

ตำรวจปราบจลาจลใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ประท้วงที่ชุมนุมกันอยู่ใกล้กับทางเข้าของรัฐสภา หลังจากที่ผู้ชุนชมนุมบางส่วนจุดไฟเผาข้าวของ และขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจ สังคมโซเชียลมีเดียเดือด ชาวเลบานอนไม่น้อยโทษชนชั้นนำทางการเมือง การคอรัปชั่นและการบริหารจัดการที่ผิดพลาด ว่าเป็นต้นเหตุของการระเบิดใหญ่ครั้งนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ คำเรียกร้องล่าสุดคือ “รัฐบาลชุดนี้ออกไป-ขอเลือกตั้งใหม่”

อดีตเจ้าอนานิคมฝรั่งเศสมาเยือนพร้อมคำหวาน

ชาวเบรุตยังได้แสดงความโกรธแค้นต่อรัฐบาลของตน ในช่วงที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง เดินทางมาเยือนกรุงเบรุต มาครง กล่าวว่าจะระดมทุนช่วยเหลือเลบานอน แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่า เลบานอนต้องมีการเมืองใหม่ เพราะระบบการเมืองเก่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนในประเทศแล้ว มาคร็องยังกล่าวว่า”เหตุระเบิดที่ท่าเรือกรุงเบรุตนี้เป็นจุดเริ่มต้นของฉากใหม่ของการเมือง” มาครงสัญญาจะระดมเงินบริจาคจำนวน 297 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 9,248 ล้านบาท ส่งตรงให้ถึงมือประชาชนชาวเลบานอนโดยไม่ผ่านรัฐบาลด้วย

หลังเสียงระเบิดวันเดียวกัน (พฤหัสบดีที่ 4 ส.ค.) ที่ชายแดนของเลบานอน อิสราเอลยิงถล่มชายแดนอ้าง เป็นฐานที่มั่นกลุ่มเฮซบอลเลาะห์ที่ต่อต้านอิสราเอลและมหาอำนาจตะวันตก

2 รัฐมนตรีลาออกไม่มีผลสยบความโกรธแค้นของมวลชนแต่อย่างใด

นางมานัล อับเดล ซาหมัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศของเลบานอน และนายเดเมียนอส กัตตาร์ รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเลบานอน ที่ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยก่อนหน้าที่ 2 รัฐมนตรีในรัฐบาลของเลบานอนจะลาออก ยังมีสมาชิกรัฐสภาอีกจำนวนหนึ่งยื่นหนังสือลาออก เนื่องจากเหตุระเบิดด้วยเช่นเดียวกัน

อำนาจรัฐล้มเหลว-ไม่ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ/การเมือง, ไม่ดูแลประชาชน เกิดเหตุโทษกันไปมา

ประธานาธิบดีของเลบานอน มิเชล อาอูน กล่าวว่าผู้ที่มีส่วนในการทำให้เกิดเหตุระเบิดครั้งนี้จะถูกลงโทษอย่างถึงที่สุด ขณะบาดรี ดาเฮอร์ (Badri Daher) หัวหน้าแผนกศุลกากร ซึ่งกำลังถูกเพ่งเล็งในการสืบสวนหาสาเหตุของการระเบิด ได้พยายามโยนความผิด โดยบอกว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ส่งจดหมายไปหาฝ่ายตุลาการถึงหกฉบับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อขอคำแนะนำในการกำจัดแอมโเมเนียมไนเตรท เนื่องจากเป็นสารเคมีที่อันตราย  ดาเฮอร์ กล่าวว่าเขาไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการแจ้งทางการ เขายังบอกด้วยว่าเป็นหน้าที่ของการท่าเรือที่ต้องจัดการวัตถุระเบิด ในขณะที่หน้าที่ของเขานั้นคือการป้องกันไม่ให้มีการลักลอบสินค้าและเก็บภาษีเท่านั้น

เบื้องหลังระเบิดและควันปืนคือใคร?

ข้อสันนิษฐานจากรัฐบาลเลบานอนเองแม้ไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ ทั้งรมต.กลาโหม และเจ้าหน้าที่ชั้นสูงการข่าวกล่าวว่า นี่เป็นการโจมตี แต่ไม่แน่ใจใครดำเนินการ ในวันเดียวกัน ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐฯให้สัมภาษณ์ว่า จากที่คุยกับนายทหารระดับสูงของสหรัฐ ว่า เป็นการโจมตีแน่นอน

แต่วันรุ่งขึ้น เพนตากอนให้สัมภาษณ์ทันทีว่า เป็นอุบัติเหตุ มีช่างชื่อมทำงาน เกิดประกายไฟในโกดัง โดยไม่รู้ว่ามีสารแอมโมเนีย-ไนเตรตแต่ไม่ระบุว่าใคร และเป็นข่าวจากไหน

นักวิเคราะห์ของไทยที่เกาะติดสถานการณ์ในเลบานอน และความขัดแย้งของมหาอำนาจตะวันตกและตะวันออกกลางในดินแดนแห่งนี้ ฟันธงว่า เป็นผลงานของ “มอสสาด” หน่วยรบพิเศษของอิสราเอล และซีไอเอ ที่ต้องการสยบพลังต่อต้านยิวที่นับวันแข็งแกร่งขึ้น และทำลายแนวร่วมกลุ่มชีอะห์ ที่ใกล้ชิดซีเรียและอิหร่าน

หลายประเทศได้ยื่นความช่วยเหลือให้กับเลบานอนในรูปแบบต่าง ๆ

รัสเซียส่งโรงพยาบาลเคลื่อนที่และบุคลากรการแพทย์ 50 คน เช่นเดียวกับกาตาร์และอิรักที่ให้การสนับสนุนด้านโรงพยาบาลสนาม บุคลากร อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์, ตูนิเซียเสนอรับผู้ได้รับบาดเจ็บมารักษาในประเทศ ส่วนเยอรมนีส่งทีมกู้ภัยและสุนัขค้นหาไปช่วย,ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และฮังการี ได้รับปากว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงิน ในขณะที่สถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเบรุตกล่าวในวันศุกร์ว่า จะให้ความช่วยเหลือมูลค่า 17 ล้านดอลลาร์ ในรูปแบบอาหาร อุปกรณ์การแพทย์ และความช่วยเหลือทางการเงินอื่น ๆ

ประชาชนเลบานอนมีสิทธิเลือกทางชีวิตตนเองและประเทศได้หรือไม่?  คงไม่มีใครตอบแทนให้ได้ แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ่งบอกถึงความอ่อนแอ เปราะบางภายใน ที่พร้อมให้อำนาจภายนอกเข้าแทรกแซง ด้วยบริบทของความแตกต่าง ความขัดแย้ง ความเชื่อทางศาสนา เศรษฐกิจปากท้อง ทุกข์นี้ของเลบานอนยังอีกยาวนานไม่รู้จบ ตราบใดที่ไม่ตื่นตัวรู้ความจริงว่า ที่ล่มสลายอยู่นี้ไม่อาจโทษใคร ที่ใดขาดความรัก-เมตตา ความสามีคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว  ที่นั่นไม่รอดพ้นมิคสัญญีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง!!!