เปรูได้ประธานาธิบดีคนใหม่!?! เลือก 3 คนในรอบ 6 วันชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล คาดสถานการณ์คลี่คลาย

2166

วิกฤตประชาธิปไตยแดนละติน-เปรูต้องเลือกประธานาธิบดี 3 คนใน 1 สัปดาห์เพราะชุมนุมประท้วงใหญ่ท่ามกลางโควิดระบาดและเศรษกิจตกต่ำ ล่าสุด สภาคองเกรสเปรูลงมติเลือกนักกฎหมายนาย ฟรานซิสโก ซากาสติ เป็นประธานสภาคองเกรสและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโดยอัตโนมัติ ในวันจันทร์(16 พ.ย.2563) ที่ผ่านมาด้วยคะแนนเสียง 97 ต่อ 26 เสียง เพื่อคลี่คลายวิกฤตทางการเมืองที่ต่อเนื่องมานานนับสัปดาห์ ประชาชนให้การยอมรับเพราะภาพพจน์ไม่คอรัปชั่น

นับตั้งแต่ปลดประธานาธิบดี มาร์ติน วิซคาร์คาในข้อหาคอรัปชั่น ก่อกระแสไม่พอใจของประชาชนได้จัดชุมนุมครั้งใหญ่ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 วัน ต่อต้านนายมานูเอล มารีโน ประธานาธิบดีรักษาการที่มาจากสภาคองเกรส และสั่งปราบการชุมนุม มีคนเสียชีวิตและถูกกดดันจนต้องลาออกในที่สุด

ควบสองตำแหน่งตามลำดับอำนาจในรัฐธรรมนูญ

นาย ฟรานซิสโก ซากาสติได้รับเลือกเป็นประธานสภาคองเกรสจึงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไปโดยอัตโนมัติ เพราะนายมานูเอล เมอริโนลาออกเมื่อวันอาทิตย์ (15 พ.ย.2563)เพราะแรงกดดัน การปราบการชุมนุมส่งผลมีคนเสียชีวิต 2 ราย เขาไม่มีรองประธานาธิบดี  โดยตามลำดับอำนาจในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประธานสภาฯจึงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไปโดยอัตโนมัติ เขากล่าวว่าเขาพร้อมรับตำแหน่ง “เพื่อประเทศของเรา เยาวชนของเราแะเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของชาวเปรูทุกคน”

นักวิเคราะห์การเมืองมองว่าการที่สภาตัดสินใจเลือกนายซากาสติเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาเบื้องต้นที่ต้องเปลี่ยนประธานาธิบดี 3 คนในรอบ 6 วัน เนื่องจากการที่สภาคองเกรสถอดถอนประธานาธิบดีวิซคาร์ราในข้อกล่าวหารับสินบนและคอรัปชั่น ด้วยเสียง 105 ต่อ 130 เสียงซึ่งเป็นตัวแทนจากประชาชนทั้งหมด 32 ล้านคน ทั้งนี้วิซคาร์ราปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและเรื่องดำเนินการสอบสวนอยู่ในขั้นศาล

นายซากาสติและพรรคเพอร์เพิลของเขาเป็นเสียงส่วนน้อยที่ไม่ร่วมถอดถอนประธานาธิบดี ซึ่งทำให้เกิดการประท้วงที่ไม่อาจควบคุมได้นับสัปดาห์ ทั้งๆที่อีก 5 เดือนข้างหน้าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเปรู และปัญหาโควิด-19 ระบาด เศรษฐกิจตกต่ำก็เป็นตัวเร่งแรงกดดันจากภาคประชาชน เขาเคยทวิตว่า “อีกสองสามเดือนก็เลือกตั้งใหม่ การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลจะไม่ก่อประโยชน์อะไรมีแต่จะสร้างความไร้สเถียรภาพมากขึ้น”

นายซากาสติเป็นที่รับรู้และคาดหวังกันว่าจะสามารถฟื้นฟูทั้งความมั่นคงทางด้านการเมือง และดูแลช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านในระหว่างการเลือกตั้งที่จะถึงในเดือนเมษายน 2564 ทั้งนี้เขาจะหมดวาระเดือนมิถุนายน

การตัดสินใจเลือกนายซากาสติได้รับการตอบรับจากผู้ชุมนุมชาวเปรู เพราะพวกเขาต้องการนักกฎหมายที่ไม่โหวตถอดถอนประธานาธิบดีวิซบาร์ซา และปราศจากประวัติการคอรัปชั่น

คาร์ลอส เมเลนเดซ นักวิเคราะห์การเมืองแห่งมหาวิทยาลัยดิเอโก พอร์เทลส์แห่งชิลีกล่าวว่า บทบาทของเขาคือทำให้ผู้ชุมนุมใจเย็นลง เพราะเขาไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือกรณีคอรัปชั่นใดๆ เขาเป็นตัวแทนที่มีภาพพจน์ดีของสภาฯ

เขาเป็นใคร-ตัวเลือกดีที่สุดเวลานี้

นายซากาสติ ศึกษาสาขาวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเพนน์สเตท และได้รับดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เขาสอนอยู่ที่โรงเรียนวอร์ตัน เขามีประสบการณ์ทำงานกับบุคคลสำคัญในสถานทูตญี่ปุ่นปี 1996 และมีบทบาทในระดับนานาชาติในหลายเหตุการณ์ นอกจากนี้ยังมีบทบาททำงานระดับสูงในรัฐบาลเปรูตลอดมา และโดยเฉพาะการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไมเคิล ชิฟเฟอร์ ประธาน กลุ่มศึกษานโยบายสหรัฐ-นานาชาติในวอชิงตันซึ่งรู้จักนายซากาสติดีกล่าวว่า “เขาเป็นตัวเลือกที่เป็นที่รู้จักว่าเป็นสายกลาง ซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้ามอดีตเผด็จการ อัลเบอร์โต ฟูจิโมริ มาโดยตลอด ตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เมื่อครั้งนายฟูจิ โมริทอดทิ้งให้เปรูเต็มไปด้วยการคอรัปชั่น แม้เขาจะไม่โด่งดังเป็นที่นิยม แต่เขาเป็นเท็คโนแครตมืออาชีพซึ่งมีความเป็นนักประชาธิปไตยที่เข้มแข็งทีเดียว”

เขาจะต้องมีบทบาทประสานนักการเมือง 9 พรรค เพื่อรับมือกับปัญหาการระบาดไวรัสโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบอย่างหนักไปจนถึงปีหน้า

นายโรดอลโฟ โรจัส นักวิเคราะห์การเมืองแห่ง เซโควเอ บริษัทที่ปรึกษาและลิมา กล่าวว่า นักกฎหมายสามารถเปลี่ยแปลงปฏิรูปกฎหมายที่ให้ประโยชน์แก่ตนเองและพวกพ้อง ขณะที่โฆษณาว่า กฎหมายนั้นๆจำเป็นแก่การลงทุนของประเทศเปรู “วาระประชานิยม” ในสภาคองเกรสก็ดำเนินต่อไป” โรจัสกล่าว

ประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ 2 คนใน 5 วัน

นายมานูเอล เมรีโนที่เพิ่งเป็นประธานาธิบดีได้ 5 วันนั้นได้ประกาศลาออกในวันอาทิตย์ (15 พ.ย.2563)เคยเป็นประธานสภาก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรักษาการประธานาธิบดี ภายหลังที่สภาถอดถอนอดีตประธานาธิบดีวิซการ์ราจากข้อครหาทุจริตเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พ.ย. แต่อดีตประธานาธิบดีวิซการ์ราปฏิเสธ สร้างความไม่พอใจกับประชาชนที่ออกมาประท้วงทั่วประเทศและปะทะกับเจ้าหน้าที่เป็นเวลาติดต่อกัน 6 วัน 6 คืน ทำให้คนเสียชีวิตอย่างน้อย 2 ศพ และบาดเจ็บ 94 คน สำนักอัยการเปิดการสืบสวนคดีการตายของทั้งสองรายแล้ว ขณะสำนักผู้ตรวจการเปรูติดตามการประท้วง และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่หยุดใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยางกับสลายการชุมนุม

กลุ่มผู้ประท้วงมาจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านและภาคประชาสังคม เรียกการถอดถอนอดีตประธานาธิบดีวิซการ์ราเป็นการ ยึดอำนาจโดยฝ่ายนิติบัญญัติ และไม่ยอมรับนายเนายเมรีโนกลายเป็นประธานาธิบดีเปรูคนที่สามที่อยู่ในตำแหน่งน้อยกว่า 5 ปี ก่อนหน้านี้(ดำรงตำแหน่งแค่ 5 วัน) เคยเป็นรองประธานาธิบดีเมื่อปี 2561 ในสมัยรัฐบาลอดีตประธานาธิบดี เปโดร ปาโบล คูชินสกี ซึ่งลาออกท่ามกลางข้อครหาทุจริต

สิ้นเสียงคำลาออกของเขา ประชาชนพากันออกมาเฉลิมฉลองกันอย่างอึกทึกในกรุงลิมา เสียงบีบแตรรถและเคาะหม้อเคาะกระทะดังรัว

ประธานาธิบดี มาร์ติน วิซคาร์คา ถูกสภาคองเกรสถอดถอนไปเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน ในข้อหาทุจริต เขากล่าวปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และขอต่อสู้ในชั้นศาล

กลุ่มผู้ประท้วงเชื่อว่า การถอดถอนประธานาธิบดีวิซคาร์รา เป็นแผนการสู่การยึดอำนาจโดยรัฐสภา ซึ่งมีคนได้ประโยชน์ ไม่ใช่การต้องการแก้ปัญหาคอรัปชั่นอย่างที่อ้าง