นักลงทุนสหรัฐฯ โดนโทษหนักหลังยอมรับ “รับเงินต่างชาติ” แทรกแซงการเมือง

2906

ทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ไม่มีการยินยอมให้องค์กรที่รับเงินต่างชาติ ขับเคลื่อนทางการเมืองโดยเด็ดขาด และถือว่ามีความผิดร้ายแรงเสียด้วยซ้ำ

ยกตัวอย่างคดีสุดฮือฮา ที่กำลังโด่งดังในขณะนี้ ของ นายอิมมาด ซูเบรี (Imaad Zuberi) นักลงทุนชาวอเมริกันวัย 50 ปี ได้ยอมรับสารภาพ หลังจากที่ถูกฟ้องร้องในคดีรับเงินจากองค์กรต่างชาติ และพยายามล็อบบี้เจ้าหน้าที่ของทางการสหรัฐฯ

โดยทางด้านของ อัยการกลางสหรัฐฯ ได้ระบุความผิดไว้ทั้งสิ้น 4 ประการด้วยกัน
1. นายซูเบรี ใช้เงินจากองค์กรต่างชาติ เพื่อมุ่งหวังครอบงำอิทธิพลทางความคิดต่อฝ่ายการเมืองสหรัฐฯ
2. นายซูเบรี ล็อบบี้เจ้าหน้าสหรัฐฯ ตามความต้องการขององค์กรต่างชาติ
3. นายซูเบรี ได้เงินจากการหลอกลวงลูกค้า นักลงทุนรายใหญ่ รวมถึงสรรพากร
4. นายซูเบรี ทำการจ่ายเงินสินบนต่อพยาน และพยายามทำลายหลักฐาน

ซึ่งทางด้านของ อัยการกลางสหรัฐฯ ได้ระบุว่า นายซูเบรี ได้ละเมิดกฎหมาย คือ “สนับสนุน ปกป้อง องค์กรต่างชาติ ที่มีต่อกระบวนการเมืองของสหรัฐฯ”
ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบแหล่งเงินทุน และควบคุมการใช้เงินในการทำกิจกรรมทางการเมืองที่อาจส่งผลต่อการแทรกแซงการเมืองในสหรัฐฯ

ซึ่งความผิดดังกล่าว ประกอบกับข้อหาอื่นๆ นายซูเบรี อาจจะต้องจำคุกสูงสุด 13 ปี และปรับเงินเป็นจำนวน 300 ล้านบาท โดยศาลมีกำหนดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2020 ที่จะมาถึง

หลังจากที่ท่านผู้อ่านได้อ่านจนจบแล้ว ลองมองย้อนกลับมาใกล้ตัวก็คือ ประเทศไทยของเรา ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากว่ามีความผิดตามกฎหมายหรือไม่ ก็คือ การยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ ของ ไอลอว์ (iLaw)

เนื่องจากการยื่นรัฐธรรมนูญนั้น ถือว่าเป็นกิจการภายในของประเทศไทย แต่ ไอลอว์ (iLaw) เป็นองค์กรที่ที่ขับเคลื่อนทางการเมืองไทยอย่างชัดเจน รวมถึงยังได้ออกมายอมรับชัดเจนว่า “รับเงินทุนจากต่างชาติ” แม้จะกล่าวอ้างว่า ถึงจะรับเงินทุนต่างชาติ แต่ผู้สนับสนุนเงินทุนเหล่านี้ ไม่มีสิทธิในการชี้นำ ซึ่งเป็นเหตุผลที่เชื่อได้ยาก

ซึ่งหากมองกันดี คดีของ “นายอิมมาด ซูเบรี” กับ “ไอลอว์” แทบจะเป็นรูปแบบเดียวกัน คือ “รับเงินต่างชาติ แทรกแซงการเมืองในประเทศ” แต่ที่ต่างกันก็คือ ประเทศอื่นติดคุก แต่ประเทศไทยยังลอยนวน ใส่สูทเดินเข้าสภา