เยอรมันอ่วม! ผวาวิกฤตหลังแซงชั่นรัสเซีย เร่งกักตุนสินค้า ชะตากรรมปชช.เศร้า ควักเงินจ่ายค่าก๊าซกระเป๋าฉีก!?

1583

จากกรณีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประท้วงเกิดขึ้นในหลายประเทศยุโรป เนื่องมาจากราคาพลังงาน ก๊าซ และค่าไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนัก ออกมาเรียกร้องให้ผู้นำปรับมุมมองและวางท่าทีสถานการณ์ในวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน ที่แม้ว่าการเจรจาจะยังหาข้อยุติไม่ได้ แต่การที่บางประเทศยังคงคว่ำบาตรรัสเซีย

ทำให้ต้องเผชิญกับวิกฤติราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งร้านอาหารก็ได้รับผลกระทบ ประชาชนเริ่มกักตุนน้ำมันพืช สินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตเกลี้ยงชั้น ทำให้นักวิชาการและสื่อต่างชาติมองว่า วิกฤติครั้งนี้จะทำให้กลุ่มอียู ต้องต่อสู้กับระบบบเศรษฐกิจรวนครั้งใหญ่แน่นอน

โดยเยอรมัน ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการแซงซั่นรัสเซีย ได้มีท่าทียอมอ่อนข้อต่อรัสเซียหลายครั้ง เพราะยังต้องพึ่งพาพลังงานก๊าซจากรัสเซีย แต่ยังก็ทำตามความต้องการของนาโตและสหรัฐฯ ในการที่แบนรัสเซียทางด้านอื่น ๆ ด้วย

ล่าสุดมีรายงานจากรอยเตอร์ ระบุว่า เยอรมนีเริ่มทำงานเพื่อเสริมสร้างที่หลบภัยชั้นใต้ดิน ตลอดจนเพิ่มสต็อกสินค้าวิกฤตในกรณีเกิดสงคราม หนังสือพิมพ์ Welt am Sonntag รายงานเมื่อวันเสาร์ที่ 9 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยอ้างรัฐมนตรีมหาดไทยของประเทศ ภายหลังจากหลายทศวรรษที่มีจำกัดขนาดกองกำลังติดอาวุธของเยอรมนีหลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามของรัสเซียในยูเครนยังได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งสำคัญ โดยนายกรัฐมนตรีเยอรมันโอลาฟ โชลซ์ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศและอัดฉีดเงินจำนวน 1 แสนล้านยูโร เพื่อเสริมสร้างกองทัพ

แต่ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะปรับปรุงระบบที่หลบภัยสาธารณะและจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านการคุ้มครองพลเรือน รัฐมนตรีมหาดไทย แนนซี เฟเซอร์ บอกกับหนังสือพิมพ์ Welt am Sonntag

“ปัจจุบันมีที่หลบภัยสาธารณะ 599 แห่งในเยอรมนี เราจะตรวจสอบว่าเราสามารถอัพเกรดระบบดังกล่าวเพิ่มเติมได้หรือไม่ ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม การรื้อถอนที่หลบภัยก็จะหยุดลง”

เยอรมนีกำลังทำงานเกี่ยวกับแนวความคิดใหม่ในการเสริมสร้างที่จอดรถใต้ดิน สถานีรถไฟใต้ดิน และห้องใต้ดินให้กลายเป็นที่หลบภัยได้ รัฐบาลได้ให้เงินจำนวน 88 ล้านยูโรแก่รัฐบาลของรัฐต่าง ๆ ในการติดตั้งระบบไซเรนใหม่ “แต่ในแง่ความครอบคลุมทั่วประเทศ เราไม่ได้ใกล้เคียงเลยด้วยซ้ำ”

นอกจากนี้ ประเทศเยอรมนีจะเพิ่มสต็อกสินค้าในภาวะวิกฤตด้วยเวชภัณฑ์ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชุดป้องกัน หน้ากาก หรือยารักษาโรค

อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการไทย วิเคราะห์ถึงแง่มุมนี้ไว้ด้วยว่า สงครามยูเครนส่งผลต่อนโยบายพลังงานเยอรมันอย่างหนัก ต้องซื้อแพงขึ้นมาก งบประมาณประเทศ เงินในกระเป่าคนเยอรมันแทนที่จะนำไปใช้จ่ายในกิจกรรมอื่นกลับต้องมาจ่ายราคาเพื่อคว่ำบาตรรัสเซีย ซ้ำร้ายในระยะสั้นอาจถึงขั้นไม่พอใช้ ประเด็นสำคัญคือ หากเยอรมันยกเลิกนำเข้าพลังงานรัสเซียสิ้นเชิง ผลร้ายแรงที่ตามมาคือราคาพลังงานในประเทศจะสูงขึ้นมาก ต้นทุนการผลิตทุกอย่างพุ่งพรวด อีกทั้งบางคนชี้ว่าการคว่ำบาตรรัสเซียไปซื้อจากตะวันออกกลางแทน ก็เหมือนคว่ำบาตรอำนาจนิยมประเทศหนึ่งแล้วไปสนับสนุนอำนาจนิยมอีกประเทศ รัฐบาลโชลซ์เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีแต่จำต้องเดินหน้าต่อไป อย่างน้อยในระยะนี้