อดีตเลขาฯมิตรภาพสภาฯรัสเซีย เปิดวินาทีทูตไทยแถลงUN เผยเหตุผลควรชื่นชม

1978

จากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) ลงมติด้วยคะแนนเสียง 141 ต่อ 5 เสียง เรียกร้องให้รัสเซียยุติการรุกรานยูเครน และถอนกองทัพ ซึ่งการประชุมมี 193 ประเทศที่เรียกร้องให้รัสเซียถอนกำลังออกจากยูเครน 141 ประเทศรวมไทยด้วยนั้น

ต่อมานาย สมชาย แสวงการ ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ในฐานะอดีตกรรมการบริหารและเลขานุการกลุ่มมิตรภาพรัฐสภาไทยรัสเซีย ได้โพสต์ข้อความพร้อมภาพถึงกรณีดังกล่าวว่า

ขอสนับสนุนท่าทีของประเทศไทยในเรื่องนี้ ที่ดำเนินการอย่างถูกต้องเหมาะสม เช่นที่เอกอัครราชทูตไทยแถลงที่สหประชาชาติเช่นนั้นครับ # วางตัวเป็นกลางไม่เลือกข้างในสงคราม  # สนับสนุนการเจรจาสันติภาพ #ส่ งความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน

https://www.facebook.com/100014542603197/posts/1317174285443979/

แม้ไทยจะร่วมลงมติรับร่างญัตติประนามรัสเซียตามที่ประชุมส่วนใหญ่ของUNซึ่งเป็นการร่วมลงมติในนามสหประชาชาติ ถูกต้องเพราะ เป็นการลงคะแนนสนับสนุนในการเคารพกฎบัตรสหประชาชาติ และร่วมมือกันในUN

แต่การแสดงเจตนารมณ์ด้วยการแถลงของท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำ UNนั้น  ถูกต้องชัดเจน เหมาะสม เพื่ออธิบาย สาเหตุที่เราต้องลงมติเช่นนั้น และยังคงความชัดเจนเป็นกลาง ไม่สนับสนุนสงคราม สนับสนุนสันติภาพและยึดหลักสิทธิมนุษยชน ครับ

ขณะที่ทวิตเตอร์ @MFAThai ของกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยคำแปล (อย่างไม่เป็นทางการ) ถ้อยแถลงของนายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ต่อการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา กรณีที่ไทยลงคะแนนเสียงสนับสนุนร่างมติของที่ประชุมยูเอ็นจีเอกรณีรัสเซียนำกำลังบุกยูเครน โดยข้อความระบุว่า

(1) ประเทศไทยมีความกังวลอย่างยิ่งต่อการสถานการณ์ความรุนแรงและการปะทะระหว่างกันที่แย่ลง ซึ่งเป็นผลจากการใช้กำลังทหารในยูเครน ที่ส่งผลให้มีการสูญเสียชีวิตรวมถึงชีวิตพลเรือนผู้บริสุทธิ์และความเสียหายของทรัพย์สินและสาธารณูปโภคของพลเรือน

(2) รัฐนตรีต่างประเทศอาเซียนออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์ในยูเครน เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2565 ตั้งแต่นั้น การปะทะด้วยอาวุธยังคงดำเนินต่อไป โดยมีผู้เสียชีวิตซึ่งรวมถึงพลเรือนยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

(3) สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมของผู้ลี้ภัย และผู้หนีการสู้รบมีความน่ากังวลเป็นพิเศษประเทศไทยชื่นชมประเทศเพื่อนบ้านของยูเครนและรัฐอื่น ๆ สำหรับการระดมความช่วยเหลือไปสู่ผู้ต้องการความช่วยเหลือด้นมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วน ในส่วนของประเทศไทย จะให้ความร่วมมืออย่างสุดความสามารถเพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พลเรือนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งการให้ความช่วยเหลือโดยตรง และผ่านความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

(4) ประเทศไทยคารพหลักการตามกฎบัตรสหประชาชาติ และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเคารพอธิปใตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความเป็นเอกราชของรัฐ รวมทั้งการละเวันการใช้กำลังหรือการขู่ว่าจะใช้กำลังต่อรัฐอื่น เราจึงเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงและการปะทะทางอาวุธโดยทันที สถานการณ์ที่รุนแรงยิ่งขึ้นจะยิ่งส่งผลกระทบต่อโลกในวงกว้าง ซ้ำเดิมความเปราะบางด้านมนุษยธรรม และเศรษฐกิจโลกที่กำลังพื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้

(5)ประเทศไทยขอย้ำคำเรียกร้องให้มีการเจรจาหารือเพื่อหาข้อยุติโดยสันติวิธี และมีทางออกที่ยั่งยืน ผ่านองค์การสหประชาชาติ กลกระดับภูมิภาค หรือกลไกอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน ในการนี้ ประเทศไทยยินดีต่อการหารือทริภาคีล่าสุดระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคาดหวังว่าจะมีผลสำเร็จ

(6) ในฐานะประเทศที่รักความสงบ มีความศรัทธาในเจตนาดีของชาติต่าง ๆ และความเข้าอกเข้าใจกันของมวลมนุษยชาติ เราจึงจะยังสานต่อความหวังว่า ในที่สุดทุกฝ่ายจะกลับเข้าสู่เส้นทางของสันติภาพ ความปรองตอง และความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี

นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายการลงคะแนนเสียงของประเทศไทย โดยนายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ต่อการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2565 ด้วย โดยข้อความระบุว่า

  • ประเทศไทยได้พิจารณาร่างข้อมติฯ อย่างรอบคอบ และได้ลงคะแนนเสียงสนับสนุนข้อมติฯ เนื่องจากประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อหลักการที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติและหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะหลักการเคารพอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และการไม่ใช้กำลังต่อรัฐต่าง ๆ
  • การที่ประเทศไทยสนับสนุนข้อมติฯ ยังเป็นการย้ำถึงความห่วงกังวลอย่างลึกซึ้งต่อความยากลำบากของพลเมืองที่เดือดร้อน และผลกระทบต้านมนุษยธรรมต่อบริเวณที่มีการสู้รบและความรุนแรง ในการนี้เราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามพันธกรณีของตนตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน
  • เรายังมีความห่วงกังวลต่อผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นต่อความเป็นระเบียบระหว่างประเทศที่อิงพื้นฐานของกฎเกณฑ์ และขอย้ำถึงข้อเรียกร้องให้เกิดสันติภาพและขอให้ทุกฝ่ายเพิ่มการหารือผ่านช่องทางต่าง ๆเพื่อให้สามารถนำไปสู่การหาทางออกอย่างสันติให้แก่สถานการณ์นี้