กองทุนสามนิ้วงานเข้า! “สนธิญา” บุกร้องบชน.สอบพฤติกรรม-อาจารย์เจ้าของบช. เข้าข่ายหนุนล้มล้างการปกครอง?

1159

กองทุนสามนิ้วงานเข้า! “สนธิญา” บุกร้องบชน.สอบพฤติกรรม-อาจารย์เจ้าของบช. เข้าข่ายหนุนล้มล้างการปกครอง?

จากกรณีเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม โพสต์ข้อความทางบัญชีทวิตเตอร์เมื่อ 17.54 น ของ 22 ก.พ. ว่า “ข่าวดี ศาลอาญา ให้ประกันตัวอานนท์ นำภากับเพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ ทุกคดีแล้ว แต่ติดปัญหาเงินกองทุนราษฎรประสงค์ไม่เพียงพอสำหรับวางศาล ขอแรงทุกคนระดมช่วยกันครับ”

ซึ่งต่อมาก็ได้โพสต์ข้อความต่ออีกว่า ช่วงค่ำ ๆ ระหว่างรอวางเงินประกันตัวอานนท์ กับ เพนกวิน เจ้าหน้าที่ : น้องนรเศรษฐ์ฯ ได้เงินประกันครบหรือยัง ผม : ได้ครบแล้วครับ ตอนนี้พร้อมโอนวางเงินประกันครับ เจ้าหน้าที่ : โอโห้!! ทำไมได้เร็วจัง ผม : พี่เชื่อมั่นในพลังของประชาชนไหมครับ ……… ประชาชนจงเจริญ ตอนนี้ผ่านไปแค่ไม่กี่ชั่วโมง เราสามารถระดมทุนประกันเข้ากองทุนราษฎรประสงค์กว่า 10 ล้านบาท นี่คือพลังของราษฎร

ซึ่งทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก ถึงเงินที่ถูกบริจาคเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทำให้หลายคนตั้งคำถามและข้อสงสัยว่า ว่า การเปิดรับบริจาคดังกล่าวนี้ จะต้องมีการเสียภาษีหรือไม่ และใครจะต้องเป็นคนจ่ายและต้องจ่ายจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าที่ผ่านมา กองทุนราษฎรประสงค์ ซึ่งเป็นเงินที่ใช้ประกันแกนนำนั้น มีเงินหมุนเวียนหลายสิบล้านบาท

ล่าสุดเมื่อวานนี้ (28 ก.พ.65) ที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล หรือ บชน. นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษาประธาน กมธ.การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องกองทุนราษฎรประสงค์เปิดรับบริจาค และประกาศระดมทุนเพื่อเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวผู้ต้องขังคดีอาญามาตรา 112 ต่อ กองบัญชาการตำรวจนครบาล

โดย นายสนธิญา กล่าวว่า ต้องการให้ตำรวจตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวโดยเฉพาะอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นเจ้าของบัญชี ว่าเข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยออกมาแล้วว่าให้ยุติการกระทำ กรณีเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันว่าเป็นการล้มล้างการปกครองก่อนหน้านี้ ซึ่งคำวินิจฉัยผูกพันกับทุกองค์กร และหากตำรวจตรวจสอบแล้วพบว่า เข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุน ก็ให้ดำเนินการเพื่อให้ยุติการกระทำตามกฎหมาย ซึ่งหลังจากนี้จะไปยื่นหนังสือถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ตรวจสอบพฤติกรรมของอาจารย์ในสังกัดดังกล่าวด้วย

“สำหรับผู้ที่ร่วมบริจาคนั้นสามารถทำได้ แต่หากไม่มีการเปิดบัญชีเรียกรับบริจาคก็จะไม่มีผู้บริการ ดังนั้นจึงมุ่งไปที่การยับยั้งการกระทำของผู้เปิดรับบริจาคซึ่งมีเจ้าของบัญชีร่วม 2 คน และเห็นว่าหากจะระดมทุนช่วยเหลือก็ควรที่จะทำเงียบ ๆ หรือมีวิธีการหย่าร้างอย่างที่ทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้เอิกเกริก” นายสนธิญา กล่าว