เพื่อปากท้องคนไทย!?! ต้องเร่งแก้ปัญหา?!!! คนไทยตกงานพุ่ง แต่แรงงานต่างด้าวไม่พอ สภาพัฒน์ฯชี้ต้องใช้งบฯสร้างงานท้องถิ่นและแก้หนี้สินครัวเรือนไปด้วย

1824

กำลังแรงงานในการสร้างเศรษฐกิจของไทยมีอยู่ 37.4 ล้านคน สภาพัฒน์ฯคาดอาจถูกเลิกจ้างถึง 8.4 ล้านคน ขณะที่เมื่อรัฐบาลเตรียมเปิดเฟส 6 ที่คาดว่าธุรกิจจะเปิดดำเนินการมากขึ้น กลับพบปัญหาแนวโน้มขาดแคลนแรงงานระดับล่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ติดปัญหาที่ค่าใช้จ่ายในการตรวจเชื้อใครจะมาปลดล็อก เงื่อนปมเหล่านี้ สภาพัฒน์ฯเสนอให้สร้างงานสร้างรายได้ในท้องถิ่น พร้อมแก้หนี้ครัวเรือน ส่วนทีดีอาร์ไอขอให้ปลดล็อก ค่าใช้จ่ายตรวจโควิดให้แรงงานต่างด้าวไม่ผลักภาระแก่นายจ้างและแรงงานฝ่ายเดียว

ไม่นานมานี้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ได้รายงานสถานการณ์แรงงานไทยโดยภาพรวมว่า  ประเทศไทยมีแรงงาน 37.4 ล้านคน ลดลง 0.7% จากปีก่อน  ในไตรมาสแรกโควิด-19 ยังไม่แสดงผลกระทบมากนัก สถานประกอบการขอใช้มาตรา 75 เพื่อหยุดกิจการชั่วคราว 570 แห่ง มีแรงงานต้องหยุดงานแต่ยังได้เงินเดือนราว 1.2 แสนคน ซึ่งไตรมาส 2 น่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น 

ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.9 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน  1.03% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ 0.92%  สภาพัฒน์คาดว่าจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความเสี่ยงการถูกเลิกจ้างในไทยจะเพิ่มเป็นประมาณ 8.4 ล้านคน โดยอาจจะเห็นการเคลื่อนย้ายแรงงาน เช่น ย้ายสาขา ย้ายงาน ฯลฯ โดยกลุ่มที่เสี่ยงถูกเลิกจ้างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

 -แรงงานภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 2.5 ล้านคน จากแรงงานรวมที่มีอยู่ 3.9 ล้านคน 

-แรงงานภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะได้รับผลกระทบ 1.5 ล้านคน จากแรงงานทั้งหมด 5.9 ล้านคน

-แรงงานภาคบริการอื่นที่ไม่ใช่ท่องเที่ยว เช่น สถานศึกษา โรงเรียนกวดวิชา ตลาดสด ห้าง คาดว่าได้รับผลกระทบ 4.8 ล้านคน จากแรงงานทั้งหมด 10.3 ล้านคน

-แรงงานภาคเกษตร คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งรวม 6 ล้านคน แบ่งเป็นในพื้นที่ที่เกิดภัยแล้ง 3.9 ล้านคน และพื้นที่อื่นๆ 2.1 ล้านคน 

การเลิกจ้างรวม 2 ล้านคน คิดเป็น 3-4% ของการจ้างงานในไทยทั้งหมด ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยการเลิกจ้างเดิมที่อยู่ราว 3-4 แสนคนต่อปี หรือราว 1% เช่นนี้ถือว่าใกล้เคียงกับช่วงวิกฤติปี 2540 (ต้ายำกุ้ง) ถ้ารวมกลุ่มเด็กจบการศึกษาใหม่ในปีนี้ราว 5.2 แสนคน จำนวนว่าที่คนว่างงานก็จะสูงยิ่งขึ้นไปอีก

ในขณะเดียวกัน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เสนอมุมมองเกี่ยวกับปัญหา การขาดแคลนแรงงานระดับล่าง ซึ่งแรงงานทั้งคนไทยและต่างด้าว  ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองของรัฐบาล สถานประกอบการและธุรกิจที่ มีคนทำงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งคนไทยและต่างด้าว โดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน  โดยคนไทยสวนหนึ่งไม่มีรายได้และทนค่าครองชีพในเมืองใหญ่ไม่ได้ ก็ต้องกลับไปตั้งหลักที่ต่างจังหวัด ส่วนต่างด้าวจำนวนมากต้องเดินทางกลับประเทศ เพราะไม่มีงานทำ เนื่องจากนายจ้างต้องปิดตัวจากธุรกิจ โดยการกลับไปของแรงงานต่างด้าวนี้ ได้ทำให้เกิดปัญหากับตลาดแรงงานไทยอีกครั้ง  นั่นคือ “การขาดแคลนแรงงานระดับล่าง”

และมาถึงปัจจุบันนี้สภาพปัญหาก็ชัดเจนขึ้น เมื่อมีการสำรวจพบว่าตลาดแรงงานต่างด้าวขาดแคลนอย่างหนัก ได้แก่  “การก่อสร้าง,การประมง” มีความต้องการ 1.2 ล้านคน ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า มีแรงงานในธุรกิจรับเหมารวม 1.8 ล้านคน หลังการแพร่ระบาดของโควิด แรงงานต่างด้าวบางส่วนกลับประเทศ รวมแล้วมีแรงงานหายไปจากระบบ 100,000-200,000 คน

แรงงานทั้งจากเมียนมา-ลาว-กัมพูชา รอการเปิดเฟส 6 ที่จะเปิดให้ต่างชาติเข้าไทย แต่ติดเงื่อนไขกักตัว 14 วันและค่าใช้จ่าย 1.4 หมื่นบาทต่อหัว  ทำให้นายจ้างลังเลที่จะเรียกแรงงานเหล่านี้กลับเข้าทำงาน กล่าวคือถ้าไม่แก้ปัญหานี้ ก็เดินหน้าทำธุรกิจฟื่นฟุเศรษฐกิจได้ยาก

แนวทางแก้ปัญหาที่สภาพัฒน์เสนอ

1.มาตรการสร้างงานและจ้างงาน 

สภาพัฒน์มองว่าหากคนหนุ่มสาวมีทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งอาจจะทำงานในพื้นที่ต่างๆ เช่น การเก็บข้อมูลด้านดิจิทัล ฯลฯก็อาจมีโอกาสมีงานทำ เพราะในช่วงโควิด บริษัทที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลจะยังคงดำเนินกิจการได้อยู่  และความหวังการสร้างงานโครงการจากเงินกู้ก็ไม่สามารถจ้างงานได้ทั้งหมดในกรณีนี้  งบฯ 4,000 ล้านเพิ่งได้รับอนุมัติจากครม.เมื่อต้นสัปดาห์ เพื่อจัดสรรสร้างงานในท้องถิ่นเกือบ 40,000 อัตราจ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ช่วยได้เพียงส่วนหนึ่งไม่ครอบคลุมทั้งหมด

2.แก้ปัญหาหนี้สินระดับครัวเรือนที่ยังเรื้อรัง ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวกับด้านการเงินการคลัง

ไม่มีโควิดปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนก็หนักหนาอยู่แล้ว ยิ่งมีวิกฤติโรคระบาดซ้ำเติมก็ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้น สภาพัฒน์ระบุว่าหนี้ครัวเรือนไตรมาส 1 อยู่ที่ 13.47 ล้านล้านบาท สูงขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  อัตราหนี้สินต่อครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 79.8% มีหนี้เสีย (NPL) มูลค่า 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็น  3.23% ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ในภาวะที่การระบาดไวรัสโควิด-19 ยังทรงตัวอยู่สำหรับประเทศไทย แต่ทั่วโลกยังยังสาหัสทั้งจำนวนผู้ป่วยและ การเสียชีวิต  ปัญหาด้านแรงงานทั้งคนไทยและต่างด้าว ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดไวรัสต่าง ในช่วงแรก ต่างไร้งานข่าดรายได้ แรงงานไทยต้องเดินทางกลับชนบท แรงงานต่างด้าวต้องกลับประเทศบ้านเกิด เมื่อทางการไทยมีนโยบายจะเปิดเฟส 6 ซึ่งคาดหวังให้ธุรกิจได้กลัยมาดำเนินการได้ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ ฟื้นฟุเศรษฐกิจ แต่ทุกอย่างยังไม่ราบรื่น 

ใครจะมาดูแลเรื่องนี้ให้ดีได้ถ้าไม่ใช่ “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” และทีมเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล ? หรือจะต้องให้ถึงมือ “นายกลุงตู่” อีกแล้ว ก็ต้องอดใจรอ

………………………………………………………….