ปูตินและมาครงเปิดเผยผลการเจรจาสำคัญในกรณีวิกฤตยูเครนตกลงที่จะ “ก้าวไปข้างหน้า” ในข้อเสนอด้านความมั่นคงบางอย่าง ที่มาครงนำมาเสนอที่มอสโกว์ในวันจันทร์นี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดแต่อย่างใด ขณะเดียวกัน ไบเดนเปิดทำเนียบขาวถกนายกฯเยอรมนี ก่อนจะพบกับปูติน เรียกว่าล็อบบี้กันจนวินาทีสุดท้าย และไบเดนยังคงแข็งกร้าวขู่รัสเซียไม่ลดน้อยถอยลงแต่อย่างใด
เมื่อวันจันทร์ที่ 7ก.พ.2565 สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และเอเอฟพีรายงานว่า ปธน.วลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เปิดเผยถึงผลการพูดคุยกับปธน.มาครงแห่งฝรั่งเศสพร้อมประนีประนอมและพิจารณาข้อเสนอที่นำเสนอโดยเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส แต่ยังคงกล่าวโทษสหรัฐและตะวันตกที่ก่อกระแสความความตึงเครียดที่พุ่งสูงในประเด็นยูเครนไม่เลิกรา ขณะเดียวกันปธน.โจ ไบเดน เปิดทำเนียบขาวต้อนรับ โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี พร้อมยังขู่อีกว่าจะพับเก็บโครงการท่อลำเลียงก๊าซ “นอร์ด สตรีม 2” หากว่ามอสโกเปิดฉากรุกรานยูเครน แม้แต่นิดเดียว ท่าทีของสหรัฐไม่ได้ลดน้อยถอยลงยังเดินหน้าปั่นความขัดแย้งต่อเนื่อง
ประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวย้ำว่า ยูเครนปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงมินสค์ และสร้างสันติภาพกับสองภูมิภาคที่แตกแยกของโดเนตสค์และลูกาสค์ โดยเลือกที่จะข่มเหงผู้ที่พูดภาษารัสเซียในยูเครนแทน
⚡️ Russia’s security concerns “ignored” by NATO – Vladimir Putin says in presser following talks with France's Emmanuel Macron pic.twitter.com/tIrRHF0Zn1
— RT (@RT_com) February 7, 2022
นอกจากนี้ เขายังหยิบยกประเด็นสำคัญ 3 ประการจากข้อเสนอด้านความมั่นคงของมอสโกที่เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ได้แก่1.ไม่ขยายสมาชิกนาโต 2.ไม่ติดตั้งอาวุธทำลายล้างชายแดนรัสเซีย และ3.ยกเลิกการเพิ่มกองทหารนาโตในยุโรปตะวันออก ซึ่งนาโต้และสหรัฐฯ ได้“ปฏิเสธอย่างน่าเสียดาย”และกล่าวว่า NATO ไม่จำเป็นต้องเพิ่มสมาชิกอีกรวมถึงยูเครน หากไม่มีวาระซ่อนเร้นบางอย่าง
Macron กล่าวว่า อาจจำเป็นต้องมีการสร้างกลไก “ทางเลือกใหม่”เพื่อสร้างความมั่นคงในยุโรป เนื่องจากการแก้ไขการจัดเตรียมและข้อตกลงที่มีอยู่แต่เดิมจะไม่เป็นประโยชน์ในสถานการณ์ปัจจุบัน
ประธานาธิบดีทั้งสองยังได้หารือเกี่ยวกับเบลารุส ความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานเกี่ยวกับนากอร์โน คาราบาคห์ ข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน และสถานการณ์ในประเทศมาลีในแอฟริกา และอื่นๆ
ประธานาธิบดีฝรั่งเศสเดินทางไปมอสโกว์ในวันจันทร์เพื่อพบกับปูตินด้วยตนเอง เพื่อสนทนาแบบเจาะลึกและหาคำตอบร่วมกันที่เป็นประโยชน์สำหรับรัสเซียและสำหรับทั้งยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม งานที่มาครงได้คะแนนจากมิตรประเทศและอาจไม่ได้ดั้งใจอเมริกา
ในวันอังคารที่ 8 ก.พ.นี้มาครงจะเดินทางไปพบปธน.โวโลดิมีร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelensky)ที่ยูเครนเพื่อหวังว่าผลการเจรจาจะเป็นบวก
"Germany is one of America's closest allies. We're working in lockstep to further deter Russian aggression in Europe," Pres. Biden says during meeting with German Chancellor Olaf Scholz. https://t.co/uruQ4F4zM9 pic.twitter.com/0mvWqDbHIS
— ABC News (@ABC) February 7, 2022
ความเคลื่อนไหวของปธน.โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ที่เปิดทำเนียบขาวในกรุงวอชิงตัน ต้อนรับการมาเยือนของ โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนีในวันจันทร์ 7ก.พ.เช่นกัน
ไบเดน ประกาศระหว่างการพูดคุยว่าจะมีการปิดตายท่อลำเลียงก๊าซ “นอร์ดสตรีม 2″ จากรัสเซียสู่ยุโรป หากว่ามอสโกเปิดฉากรุกรานยูเครน ไบเดนระบุว่า”ถ้ารัสเซียรุกราน หมายถึงมีรถถังหรือทหารข้ามเขตแดนของยูเครน เมื่อนั้นจะไม่มีนอร์ดสตรีม 2 อีกต่อไป” ไบเดนแถลงข่าวร่วมกับ ชอลซ์ ที่ทำเนียบขาว หลังเจรจาทวิภาคีในห้องทำงานรูปไข่ “ผมสัญญากับคุณ เราจะทำให้มันถึงจุดจบ”
การเดินทางเยือนทำเนียบขาวของ ชอลซ์ มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลใหม่ของเขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากยูเครนและจากผู้คนบางส่วนในสหรัฐฯ ที่กล่าวหาเบอร์ลินว่าไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับสหรัฐฯที่ต้องการกดดันทางทหารต่อรัสเซีย
อย่างไรก็ตามทั้ง ไบเดน และ ชอลซ์ ยืนยันระหว่างแถลงข่าวที่วอชิงตัน ว่าไม่มีความเห็นต่างในแนวทางรับมือกับรัสเซีย ไบเดนกล่าวในห้องทำงานรูปไข่ “เรากำลังทำงานในการก้าวไปพร้อมๆกัน เพื่อปัดเป่าความก้าวร้าวของรัสเซียในยุโรป”ส่วน ชอลซ์กล่าวเสริมว่า “เราเป็นพันธมิตรใกล้ชิดกัน และเราลงมือในแนวทางที่พร้อมเพรียงและเป็นอันหนึ่งเดียวกัน ยามที่เรากำลังตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน”
ในขณะที่ชอลซ์ อยู่ในวอชิงตัน แอนนาลีนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี อยู่ในกรุงเคียฟ ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศสาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกียและออสเตรีย ในการเดินทางเยือน 2 วันเพื่อประชุมร่วมและคาดว่าจะมีแถลงการณ์หลังการพูดคุย
หลังจากนี้ชอลซ์จะเดินทางเยือนมอสโกพบปูตินและเคียฟในสัปดาห์หน้า ก็ต้องคอยดูว่าในที่สุดแล้วชอลซ์จะพูดว่าอย่างไรอีก
ยิ่งสหรัฐพยายามสร้างภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่นาโตหรืออีกฐานะหนึ่งคือสหภาพยุโรป ยิ่งเผยให้เห็นสิ่งตรงข้ามที่ดำรงอยู่ ทางการทูตไม่มีการตัดไมตรีอยู่แล้ว แต่การปฏิบัตินั้นสำคัญที่สุดที่สำคัญในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อคือ เรื่องการเคลื่อนไหวทางการทหาร สัญญาณความแตกต่างในบทบาทตอบสนองต่อกรณียูเครนนี้ไม่เสมอกันทั้งอังกฤษ เยอรมนีและฝรั่งเศส ตลอดจนสมาชิกนาโตอีกหลายประเทศ ต้องจับตาดูต่อไปว่า ระหว่างฝ่ายหนึ่งที่สหรัฐเป็นแกนนำผลักดันสงครามปะทะรัสเซีย อีกฝ่ายหนึ่งคือฝรั่งเศสและเยอรมนีพยายามลดกระแสตึงเครียดหลีกเลี่ยงสงคราม ฝ่ายใดจะทำสำเร็จ ซึ่งส่งผลต่อโลกอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ท่ามกลางการระบาดโควิดกลายพันธ์ที่ยังไม่มีแนวโน้มยุติหรือคลี่คลาย??