อดีตทูตฯนริศโรจน์ ตอกเจ็บ ต้นตอความไม่เท่าเทียม คือ ฟุตบอลประเพณี จุฬา-มธ.

1938

ชำแหละความจริง! อดีตทูตฯนริศโรจน์ ตอกเจ็บ ต้นตอความไม่เท่าเทียม คือ ฟุตบอลประเพณี จุฬา-มธ. กิจกรรม “ล้อการเมือง” แบบเอียงข้าง!

สืบเนื่องจากกรณีที่ทางด้านของ องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ซึ่งมีนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯนายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ได้โพสต์แถลงการณ์เรื่อง ยกเลิกกิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จนกลายเป็นกระแสสังคม ถึงการไม่เห็นด้วย และหมิ่นเหม่ต้องการจาบจ้วงสถาบันฯหรือไม่

ล่าสุดทางด้านของ นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในประเด็นดังกล่าวได้อย่างน่าสนใจโดยมีรายละเอียดว่า

เอางี้มั้ยครับ ถ้าอยากเน้นความเท่าเทียมกันในสังคม ด้วยการยกเลิกพิธีอัญเชิญพระเกี้ยว ผมว่าเรามองไปที่ต้นตอเลยดีกว่า นั่นคือ เลิกจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬา – มธ. ไปเลยละกัน นี่พยายามช่วยน้องๆคิดนะครับ

เพราะอะไร จะสรุปเป็นข้อๆละกัน
1.การแข่งขันฟุตบอลแต่ละปี เน้นเอาชนะ สร้างอัตตาว่า สถาบันของฉันเก่งกว่าของแก เวลาใครชนะ ใครแพ้ ก็ก่อให้เกิดอารมณ์ ทั้งสะใจ ทั้งประชดประชัน ทั้งเคือง ทั้งน้อยใจ บางทีก็เกิดปะทะกันในระหว่างเล่น บางทีอาจสร้างความแตกแยกแบ่งเขาแบ่งเราเกทับกันมากกว่าสร้างสามัคคีด้วยซ้ำ ยิ่งการแข่งขันในยุคปัจจุบันเน้นเอาชนะมากกว่าทุกสิ่ง ถึงขนาดดึงเอานักเล่นทีมชาติมาสังกัดสถาบันของตัวเอง แทนที่จะใช้ นิสิต นศ. จริงๆเล่น

2.ประหยัดไม่ต้องมาทำเสื้อเชียร์ขาย ไม่ต้องตัดชุดแพงๆ เน้นแฟชั่นทุนนิยมให้บรรดาเชียร์ลีดเดอร์ ไม่ต้องขนคนให้มานั่งตากแดดแปลอักษร
3.จะได้ไม่ต้องมีขบวนล้อการเมืองที่มองอะไรแบบเอียงข้าง ด้วยมิติแบนๆ ด่าอีกฝ่าย แต่ไม่แตะอีกฝ่าย ทั้งๆที่ทำระยำพอกัน หรือมากกว่า

ถ้าเลิกที่ต้นตอได้ ก็ไม่ต้องอัญเชิญพระเกี้ยว แต่ผมเสนอทางออกว่า แทนที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอล ก็จัดให้นิสิต นศ.ของทั้งสองมหาวิทยาลัยออกไปทำกิจกรรมรับใช้สังคม ทำอะไรให้ปังๆใหญ่ๆไปเลยในแต่ละปี เช่น ไปช่วยกันปรับปรุงสลัม ไปช่วยกันปลูกป่า ไปช่วยกันทำความสะอาดล้างถนน ไปช่วยสร้างโรงเรียนหรือซ่อมแซมโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ฯลฯ
ว่าแต่ว่าโครงการทำกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อประชาชนแบบนี้ จะมี นิสิต นศ.ที่ชอบอ้างเรื่องความเท่าเทียมกัน อ้างประชาชน ไปกันสักกี่คน เท่านั้นแหละ !?