กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า รัฐบาลจะกู้เงินเกือบ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 เนื่องจากต้องการเงินมาสนับสนุนการบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา ก่อนที่สภาคองเกรสจะพิจารณาผลกระทบของโครงการเศรษฐกิจเพิ่มเติม ในขณะที่เงินกู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการระงับวงเงินเพิ่มจากเพดานก่อนหน้านี้มียอด $22.0 ล้านล้าน ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และมีการกู้เงินเพิ่มอีก 6.5 ล้านล้านดอลลาร์ ทำให้ยอดหนี้คงค้างภายใต้วงเงินตามกฎหมายปัจจุบันอยู่ที่ 28.5 ล้านล้านดอลลาร์ วงเงินหนี้ใหม่ซึ่งจะกำหนดขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564นี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาคองเกรซ ต้องจับตาว่า สหรัฐจะกู้เพิ่มอีกยอดจริงเท่าไหร่ จากแหล่งเงินไหน และจะมีวิธีหารายได้มาใช้หนี้อย่างไร เพราะสถานการณ์ปัจจุบันคือ หนี้สาธารณะทะลุเพดานแล้ว และหนี้สินภาคครัวเรือนก็สาหัสไม่แพ้กัน
เมื่อวันจันทร์ที่ 2 ส.ค.2564 ที่กรุงวอชิงตัน สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กระทรวงการคลัง คาดว่าจะออกตราสารหนี้สุทธิ 673 พันล้านดอลลาร์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนพฤษภาคม 148 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้กระทรวงการคลังเปิดเผยยอดเงินสดคงเหลือ ณ สิ้นเดือนกันยายนจำนวน 750,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น ในขณะที่แผนกาาช่วยเหลือ และแผนการทุ่มเงินสร้างโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่รออนุมัติอยู่
นั่นคืออเมริกาต้องกู้เงินอีกแล้ว เพื่อทยอยจ่ายหนี้สินซึ่งมีอยู่กว่า 28 ล้านๆ ดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดสัญญาใช้คืน
ขณะนี้ รายได้จากการเก็บภาษีของอเมริกาไม่พอกับรายจ่ายอย่างมาก อเมริกาจึงไม่มีปัญญาจะใช้คืนจากเงินรายได้จากภาษี ต้องพิมพ์เงินใช้เองโดยไม่มีทองคำหนุนและต้องกู้มาใช้หนี้เงินกู้ทุกๆ ปี
ประมาณการปัจจุบันและก่อนหน้ากันยายนที่ผ่านมา มีการระงับหรือเพิ่มวงเงินการชำระหนี้ที่ติดเพดานหลังจากหยุดพักชำระมาสองปี และผู้ร่างกฎหมายยังไม่ได้กำหนดแผนที่ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัด ซึ่งสำนักงานงบประมาณรัฐสภาเตือนว่าอาจเกิดขึ้นในเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนเมื่อกระทรวงการคลังหมดมาตรการพิเศษและเงินสดในมือหมดลง
ด้านหนี้ครัวเรือนซึ่งสถิติสูงสุดในรอบกว่า 1 ทศวรรษนั้น ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สาขานิวยอร์ก เปิดเผยรายงานสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของสหรัฐฯ ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 พบว่า ชาวอเมริกันทั่วประเทศเป็นหนี้เฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 14.96 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และนับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2007 หรือในรอบ 14 ปี รวมถึงมากกว่าระดับหนี้ก่อนเกิดวิกฤตการระบาดในปี 2019 ถึง 8.12 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ หนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ซื้อบ้าน โดยไตรมาสสองที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกถึง 2.82 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้หนี้กู้ซื้อบ้านขณะนี้รวมอยู่ที่ 10.44 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 44% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งหนี้จากที่อยู่อาศัยนี้หมายรวมถึงการกู้ซื้อบ้านครั้งแรกและการรีไฟแนนซ์
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ปัจจุบันแม้หนี้กู้ซื้อบ้านของชาวอเมริกันยังไม่มีปัญหาเนื่องจากได้รับอานิสงส์ของนโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการพักหนี้เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตโควิดระบาด แต่เมื่อใดก็ตามที่โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลง เมื่อนั้นเกรงว่าจะมีปัญหาที่จะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ตามมา