กัมพูชาโต้ UN และ NGOคัดค้านร่างกฎหมายอินเตอร์เน็ตเกตเวย์!?!ฟาดกลับมีไว้ปกป้องประชาชน-สังคม-ความมั่นคง

1996

นสพ.Phnom Penh Post ฉบับวันที่ 8 มิ.ย.2564 รายงานอ้างแถลงการณ์ของกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคมกัมพูชา ชี้แจงการจัดทำอนุกฤษฎีกา (เทียบเท่าพระราชกฤษฎีกา) ว่าด้วยระบบ National Internet Gateway (NIG) ว่า เป็นระเบียบเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมซึ่งได้หารือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว 

การที่สหประชาชาติ (UN) และองค์กรภาคประชาสังคม (CSO) กล่าวหาว่าร่างกฎหมายฉบับนี้แทรกแซงความเป็นส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ถูกต้อง รัฐบาลกัมพูชาเคารพต่อความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการแสดงออก ควบคู่กับข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน และจัดทำโดยพิจารณาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ หลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ประมวลกฎหมายแพ่งและอาญา รวมถึงกฎหมายโทรคมนาคม และว่าอนุกฤษฎีกา NIG จะช่วยป้องกันกิจกรรมผิดกฎหมายและอาชญากรรมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทุกรูปแบบ 

 

ท่าทีดังกล่าวมีขึ้นหลังจากนางโรนา สมิธ (Rhona Smith) ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาแห่งสหประชาชาติ :UN รวมถึงองค์การภาคประชาสังคม (CSO) ในกัมพูชา แสดงความห่วงกังวลว่าอนุกฤษฎีกาดังกล่าวจะละเมิดสิทธิการแสดงออก การรับส่งข้อมูล และละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน พร้อมขอให้รัฐบาลชี้แจงความจำเป็นในการจัดทำและบังคับใช้ร่างกฎหมายนี้

ก่อนหน้านี้สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ของกัมพูชา ได้ลงนามกฎหมายการจัดตั้งอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ (National Internet Gateway-NIG) เมื่อ 17 ก.พ. 64 โดยการอนุมัติกฎหมายดังกล่าวจะให้อำนาจทางการกัมพูชาติดตามและควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในประเทศผ่านระบบ NIG รูปแบบเดียวกับของจีน เพื่อควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ รวมถึงการละเมิดศีลธรรม วัฒนธรรม ประเพณี และขนบธรรมเนียม

เรื่องนี้ประชาคมระหว่างประเทศวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดการจัดตั้งระบบ NIG ของกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง โดยห่วงกังวลว่า รัฐบาลกัมพูชาอาจใช้ระบบ NIG เป็นเครื่องมือทางการเมืองโจมตี ข่มขู่และคุกคามพรรคฝ่ายค้านและภาคประชาสังคม

ซึ่งเป็นมุมมองของต่างชาติโดยเฉพาะสหรัฐและตะวันตกที่ เร่งมือแทรกแซงประเทศเป้าหมายด้วย สงครามพันทาง ใช้เครื่องมือสื่อสารท้้งสื่อหลัก สื่อโซเชียลมีเดียครอบงำความคิด เยาวชน สังคมให้เห็นคล้อยตามชุดความคิดที่ตะวันตกป้อนให้ จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวต่อต้านอำนาจรัฐที่ไม่ยอมสยบต่อวาระของพวกเขา 

สำหรับกัมพูชาที่แสดงจุดยืนชัดเจน เลือกข้างคบจีน ต้องเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐและชาติตะวันตก ทั้งด้านเศรษฐกิจการเมืองและ การต่างประเทศ ได้ตัดสินใจวางกรอบเส้นทางเผยแพร่ข่าวสารพิษ จากอำนาจภายนอกอย่างเด็ดขาด

รัฐบาลไทยน่าจะศีกษาแบบอย่าง และตัดสินใจจัดการปัญหาเฟกนิวส์ ปั้นข่าวเท็จ จ้องทำชายสังคม ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ได้แล้ว อย่าได้ลังเล!!