หมดหนทางช่วยสามกีบ!? ก้าวไกล แก้พรบ.อาญาฯชงสภา เอาผิดกราวรูดตร.ยันอัยการ ตลก.ศาล อ้างบิดกม.ลงโทษผู้บริสุทธิ์?

1753

หมดหนทางช่วยสามกีบ!? ก้าวไกล แก้พรบ.อาญาฯชงสภา เอาผิดกราวรูดตร.ยันอัยการ ตลก.ศาล อ้างบิดกม.ลงโทษผู้บริสุทธิ์?

จากกรณีที่วันนี้ (27 พฤษภาคม 2564) พรรคก้าวไกลมีมติที่ประชุมพรรค เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ว่าด้วยการเอาผิดเจ้าพนักงานยุติธรรมในฐาน “บิดเบือนกฎหมาย” โดยมี ส.ส.ร่วมลงชื่อ เพื่อบรรจุเป็นญัตติเข้าสู่การพิจารณาของสภาต่อไป

สำหรับสาระและความสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว คือการเพิ่มฐานความผิดเข้าไปในประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรม หมวด 2 ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ได้แก่ความผิดฐาน “บิดเบือนกฎหมาย” ของเจ้าพนักงานในการยุติธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

เหตุผลที่พรรคก้าวไกลต้องเสนอร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมา เจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นงานสอบสวนทั้งตำรวจและฝ่ายปกครอง ผู้ว่าคดี พนักงานอัยการ ตลอดไปจนถึงผู้พิพากษาและตุลาการ ได้ถูกตั้งคำถามถึงการใช้อำนาจหน้าที่ไม่เป็นไปตามหลักในทางนิติธรรมหรือไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ไปตามที่กฎหมายกำหนดในหลายกรณี ผลที่เกิดขึ้นคือ มีการบิดเบือนและทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่ใช่ต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์เท่านั้น แต่ได้สร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งอาจจะถูกทำลายและอาจทำให้ประชาชนหมดสิ้นศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมได้

ทั้งนี้ พรรคก้าวไกล ได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา โดยเพิ่มมาตรา 200/1 ในวรรคหนึ่ง กำหนดฐานความผิดจากการบิดเบือนกฎหมายของพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี และพนักงานสอบสวน ความว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือพนักงานสอบสวน กระทำการบิดเบือนกฎหมายในการสอบสวนและการสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี ด้วยการทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดี หรือกระทำความเห็นทางคดีอย่างอื่นอันจะมีผลกระทบต่อการสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี

ส่วนในวรรคสอง กำหนดฐานความผิดจากการบิดเบือนกฎหมายของ ความว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งตุลาการ กระทำการบิดเบือนกฎหมายในการพิจารณาคดี การทำคำสั่งรับหรือไม่รับฟ้อง การทำคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี หรือการทำคำสั่งคำร้องหรือคำขออื่นใด เพื่อให้เกิดประโยชน์หรือความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี”