เมียนมาระส่ำหนักไฟฟ้าดับหลายเมือง!! นักการเมืองพรรคซูจีประกาศนำสู้?!? ปลุกระดมประชาชนชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ

1956

สถานการณ์ต่อสู้ในเมียนมาดุเดือดเข้มข้นอย่างยิ่ง ทั้งการต่อสู้ในทางการเมืองการทูตระหว่างประเทศ และการต่อสู้ภายในประเทศ ซึ่งวันนี้ เมียนมายังไม่เพลี่ยงพล้ำแต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะสื่อทั่วโลกได้ป้ายหน้าผากเมียนมาว่าเป็นฝ่ายชั่วร้ายไปแล้วด้วย ผิดธรรมเนียมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนตะวันตก ในโซเชียลมีเดีย และสื่อออนไลน์ได้เผยแพร่ข่าวชาวเมียนมาจะชุมนุมต่อต้านกองทัพเมียนมาครั้งใหญ่  โดยตัวแทนคณะกรรมาธิการผู้แทนรัฐสภาเมียนมา ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคเอ็นแอลดี(NLD) ของนางอองซาน ซูจี ได้ออกหน้าปลุกระดมประชาชนเมียนมาทั่วประเทศ ให้มาชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 7 มี.ค.2564  นับเป็นการเปิดตัวแกนนำการต่อสู้อย่างเป็นทางการภายในประเทศโดยนักการเมือง  ขณะที่การต่อสู้จากภายนอกก็ยังเข้มข้น  เมื่อทูตเมียนมาที่ประจำการในต่างประเทศประกาศ ไม่ทำงานให้รัฐบาลทหารเมียนมา และไม่ยอมกลับเข้าประเทศตามคำสั่งของรัฐบาลเฉพาะกาลปัจจุบัน  ซึ่งแน่นอนทูตเหล่านี้ต่างได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลของนางอองซาน ซูจี  ที่สำคัญล่าสุด มีข่าวว่า ปธน.ไบเดนบอกว่าสหรัฐฯจะไม่ส่งกองทหารเข้าเมียนมา เพราะสิ้นเปลืองงบฯ แบบนี้ยิ่งน่าสงสัย บอกว่าไม่-แปลว่าใช่หรือปล่าว? 

เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2564 สำนักข่าวดิอิระวดี (The Irrawaddy) รายงานว่า ตัวแทนคณะกรรมาธิการผู้แทนรัฐสภาเมียนมา (CRPH) ซึ่งจัดตั้งโดยพรรคNLD ของนางอองซาน ซูจี เชิญชวนให้ชาวเมียนมาเแสดงออกทางการเมือง สนับสนุนความเคลื่อนไหวการชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 7 มี.ค.2564 เพื่อต่อต้านอำนาจของกองทัพเมียนมา โดย CRPH เรียกร้องเจ้าหน้าที่รัฐให้ร่วมการชุมนุมในครั้งนี้ด้วย 

ในขณะที่เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องในหลายเมือง ทำให้ประชาชนวิตกและหวาดระแวงว่าเป็น กลยุทธ์ปราบปรามของกองทัพหรือไม่ ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นย่างกุ้ง เนปิดอว์ มัณฑะเลย์ และมะละเหม่ง ตลอดจนพื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยงตั้งแต่ช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 5 มี.ค.2564

และการกวาดจับแกนนำผู้ต่อต้านรัฐบาลเฉพาะกาล และการปะทะระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมมีต่อเนื่อง ส่งผลมีการเสียชีวิตเป็นจำนวนกว่า 50 ราย

ในวันเดียวกันนั้น นักการทูตเมียนมาที่ประจำการในต่างประเทศประกาศไม่ยอม กลับประเทศ และจะไม่ทำงานให้รัฐบาลทหารเมียนมา

นักการทูตเมียนมาที่ประจำการในต่างประเทศหลายแห่งเช่น สหรัฐฯ และเยอรมนี มากกว่า 10 คน ประกาศจะไม่ทำงานให้รัฐบาลทหารเมียนมา และสนับสนุนกลุ่มความเคลื่อนไหวในลักษณะของการขัดขืนอย่างสงบ-ซีวิล ดิสโอบิเดียนซ์ มูฟเม้นท์ หรือ ซีดีเอ็ม (Civil Disobedience Movement-CDM) เพราะไม่พอใจที่มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วงอย่างสันติ แต่จะไม่ลาออกจากตำแหน่ง โดยกรณีดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ อูจ่อ โมทุน เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำองค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศสนับสนุนแนวทางของพรรคอองซาน ซูจี ก่อนหน้านี้ทางการทรวงการต่างประเทศเมียนมาเรียกทูตกลับ อย่างน้อย 100 คน จาก 19 ประเทศ เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ จีน และญี่ปุ่น

และอีกเช่นกัน การเคลื่อนไหวของสหรัฐอเมริกามีทั้งยึดเงินฝากในบัญชีของเมียนมาที่ฝากไว้ในนิวยอร์ก และประธานาธิบดีโจ ไบเดนปฏิเสธว่าจะไม่ส่งกำลังทหารเข้าไปจัดการปัญหาในพม่า ออกตัวก่อนเหมือนจะรู้ว่า ทั้งโลกจับตาสหรัฐฯว่าจะทำอย่างนั้นหรือไม่ จะอ้างเหตุผลอะไร? ก็ทำให้ยิ่งต้องจับตาดูกันว่า สหรัฐและพันธมิตรตะวันตกจะขยับอย่างไรในทางการทหาร และเมียนมาจะเลือกปิดประเทศหรือจะรับมือสงครามไฮบริดอย่างไร? สิ่งเหล่านี้กระทบถึงประเทศไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง แค่เหลียวมามอง การเคลื่อนไหวของกลุ่มชังชาติ ที่นัดกันชุมนุมใหญ่ลงถนนในวันนี้ 6 มี.ค.2564 ก่อนหน้ากำหนดวันชุมนุมใหญ่ของนักการเมืองพม่าวันที่ 7 มี.ค.2564 เราจะเห็นความเชื่อมโยงที่ไม่ใช่ความบังเอิญ

มาดูความเคลื่อนไหวต่างประเทศกดดันเมียนมากันว่าคืบหน้าอย่างไรบ้าง?

เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า  สหรัฐฯห้ามกองทัพเมียนมาเข้าถึงเงินฝากในบัญชีธนาคารกลางในนครนิวยอร์ก(Federal Reserve Bank of New York)  มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกองทัพเมียนมา พยายามจะถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวตั้งแต่ 4 ก.พ.64 หลังจากการยึดอำนาจเมื่อ 1 ก.พ.2564 แต่ไม่สำเร็จ  อย่างไรก็ดีการที่กองทัพเมียนมาเร่งถอนเงินจากธนาคารต่างประเทศเป็นสัญญาณว่า ต้องการหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรจากประชาคมระหว่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ได้ขึ้นบัญชีดำการค้ากระทรวงกลาโหม กระทรวงกิจการภายใน รวมถึงหน่วยงานการค้า 2 แห่งของเมียนมา อีกทั้งประกาศยกระดับความเข้มงวดของมาตรการควบคุมการส่งออกกับเมียนมาด้วย

และท้ายสุดที่ต้องบอกต่อกัน คือ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง เปิดเผยเที่ยวบินรับคนไทยกลับบ้าน โดยสายการบินเมียนมาจะจัดเที่ยวบินประเภท relief flight ดังนี้

  1. MAI: Myanmar Airways International วันที่ 12 มี.ค. 2564 ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ภายในวันที่ 5 มี.ค. 2564
  2. MNA: Mlyanmar National Airlines วันที่ 16 มี.ค. 2564 ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ภายในวันที่ 11 มี.ค. 2564

ทั้งนี้ นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทย ชี้แจงว่าการเตรียมเที่ยวบินครั้งนี้ได้จัดเตรียมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองแต่อย่างใด แต่เตือนคนไทยเกี่ยวกับสถานที่ที่ต้องระวังเพราะมีการชุมนุมต่อเนื่อง เช่น เมืองย่างกุ้ง ภาคมัณฑะเลย์ ภาคตะนาวศรี (เมืองทวายและมะริด) ภาคสกาย ภาคมะกวย รัฐฉาน รัฐคะฉิ่น