เมื่อครั้ง “ในหลวงร.9-สมเด็จย่า” เสด็จขึ้นดอย รับปากจะสร้างเขื่อนภูมิพล แลกกับเลิกบุกรุกป่าเพิ่ม ผ่านมา 70 ปี ชาวม้งยังรักษาคำสัญญา

2653

จากกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เปิดเผยว่า ตามที่สื่อมวลชนและโซเชียลมีเดียได้มีการแชร์เอกสารจากเว็บไซต์ของ กอ.รมน.

เกี่ยวกับเอกสารสรุปราคากลางงานก่อสร้างอาคาร โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ของกองดำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 โดยมีการเบิกงบค่าก่อสร้างระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซล์แสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ขนาดกำลังติดตั้งไม่น้อยกว่า 210 กิโลวัตต์ พร้อมระบบกักเก็บเก็บพลังงานรวม 45,205,109.91 บาทนั้น

ต่อมาโฆษก กอ.รมน. ได้ออกมาชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารฉบับจริง และเป็นเอกสารที่ใช้ในการเผยแพร่ราคากลางของโครงการฯ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง มาตรา 56 วรรค 1 ของภาครัฐฯ ด้วยวิธีการประมูลราคากลางผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ ของกรมบัญชีกลาง

ซึ่งได้ผ่านการรับรองราคาจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเป็นการดำเนินการจำนวน 5 พื้นที่ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ แต่มีระบบกักเก็บพลังงาน (แบตเตอรี่ลิเทียม) จำนวน 998.40 กิโลวัตต์ และได้ดำเนินการจัดทำโครงข่ายไฟฟ้าชุมชน

โดยมีการลากสายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่หมู่บ้าน จำนวน 5,409 เมตร และติดตั้งเสาไฟฟ้า แต่ถึงอย่างไรก็ตามมูลค่าของโครงการดังกล่าวเมื่อเทียบกับกรณี “พิมรี่พาย” ใช้เงินกว่า 5 แสนบาท เพื่อทำโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้า ติดตั้งทีวีที่หมู่บ้านแม่เกิบโดยเฉลี่ยกิโลวัตต์ละ 57,692 บาท

ส่วนของ กอ.รมน.เฉลี่ยกิโลวัตต์ละ 215,262 บาท แล้วมีความแตกต่างกันมาก ที่สำคัญเมื่อดูรายละเอียดตามเอกสารก็จะพบว่าหลายรายการมีราคาแพงกว่าปกติ ทั้งนี้แม้ในรายละเอียดโครงการของ กอ.รมน.จะมีการลากสายไฟฟ้าและติดตั้งเสาไฟฟ้าด้วยก็ตาม ก็น่าที่จะเป็นราคาที่สูงเกินไปมาก นอกจากนั้นยังเป็นที่สงสัยว่าบริษัทที่เสนอราคาต่ำที่สุดจำนวน 44,707,745 บาท เหตุใดจึงไม่เป็นผู้ชนะการประมูล จึงสงสัยว่าเป็นการประมูลที่โปร่งใส เป็นไปตามระเบียบหรือไม่ด้วย

ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความไปร้องเรียนต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้ใช้อำนาจตาม พรป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2561 ดำเนินการตรวจสอบไต่สวนและวินิจฉัยว่าโครงการติดตั้งโซล่าเชลล์ของ กอ.รมน.ทั้ง 5 พื้นที่มีความคุ้มค่า มีผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

และด้วยประเด็นดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทำให้กระแสดราม่า หลังจากที่พิมรี่พาย ขึ้นไปหมู่บ้านแม่เกิบ เพื่อช่วยเหลือเด็กดอยนั้น เริ่มจะเงียบลง ซึ่งต่อมาก็ได้มีนักวิชาการ และบุคคลใกล้ชิดเมื่อครั้งในหลวงร.9 ได้เสด็จไปเยือนดอยต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวเขา ออกมาเล่าเรื่องราวในอีกหลายแง่มุม ที่สะท้อนว่าพระองค์ท่านและสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

ล่าสุดในเฟซบุ๊กที่ชื่อว่า จามร จรมา ได้โพสต์เล่าเรื่องราวสุดซึ้ง เมื่อครั้งในหลวงร. 9 และสมเด็จย่า ได้เสด็จไปเยี่ยมชาวม้ง

โดยระบุว่า ” ข้อห้ามในการทำไร่บนดอย
หลังจากที่ ในหลวง สมเด็จย่าพระพันปีหลวง
ไปลุยงานบนดอย มานานหลายปี
พลิกดงฝิ่นให้เป็นป่าสงวน และพืชเมืองหนาวแล้ว

มีข้อตกลงกับชาวเขาว่า ต้องไม่บุกรุกป่าเพิ่ม เพราะในหลวงจะสร้างเขื่อนภูมิพล
เพื่อกักเก็บน้ำ และผลิตไฟฟ้า ซึ่งกว่าชาวบ้านจะเข้าใจก็ต้องใช้เวลา
นาน ถึงนานมาก ๆ

จนมีเรื่องเล่าว่า ทรงขอร้องชาวบ้านว่า ทำไร่ ให้ใช้แค่แรงกาย
และขุดด้วยจอบ หรืออีเต้อ เท่านั้น

ห้ามใช้เครื่องจักรใด ๆ ทั้งสิ้น
จะใช้รถไถแบบเดินตามก็ไม่ได้
ทำแค่แรงตัวเองมี เอาแค่พออยู่พอกิน
ชาวบ้านบางคนก็เข้าใจ
อธิฐานกับ พ่อเจ้าฟ้าหลวงว่า

ชาตินี้ขอที่ดินทำกิน แค่หมดด้ามจอบหนึ่งก็พอ
ผมฟังแล้วฉงน ถามคุณครูว่าแปลว่าอะหยั๋ง

คุณเลยอธิบายว่า พ่อเจ้าฟ้าหลวง ขอให้ทำไรด้วยจอบเท่านั้น
คนแม้ว คนม้งที่รักท่าน ก็บอกว่าขอทำแค่หมดด้ามจอบด้ามเดียว
สมมุติว่า ด้ามจอบตัวเองยาว 2 เมตร ก็ขุดไป แค่ด้ามจอบหมด

เพราะว่าขุด ๆ ด้ามจอบมันหัก ก็ตัดแค่ที่หัก แล้วเหลา ๆ
ใส่เข้าไปใหม่ ไปขุดอีก จนหักอีก ก็ตัดแล้วเหลา ๆ ใส่เข้าไปใหม่

5 ปี 70 ปี ด้ามจอบเหลือแค่ศอกเดียวก็ขุดไม่ได้

อย่าบอกนะว่า ที่เห็นชาวบ้านด้ามจอบสั้นกระจุ๊ดรุ๊ด
เพราะใช้มานานแล้วไม่ยอมเปลี่ยน แต่จะให้ให้หมดแล้วเลิกทำไร่”

ครูพยักหน้า แล้วยิ้ม บอกว่าใช่ ๆ เป็นแบบนั้น

“โฮ้…แสดงว่า ชาวบ้านก็รัก ในหลวงมากเลยสิแบบนั้น
ครูบอกว่า ” ใช่ครับ พี่จามร ”

ที่นี่นอกจากไม่ใช้รถไถแล้ว ยังไม่มีการจ้างกันอีกด้วย
เพื่อตัดปัญหานายทุน มาจ้างชาวบ้านให้ฮุบที่ ”
“เฮ้ยยย..เกิดมาเพิ่งเคยได้ยิน

แล้ว ที่ทำไร่กระหล่ำปลีกันเยอะ ๆ
ก็ไม่ใช่ของนายทุนใช่ไหม”
“ใช่ครับ เราลงแขก ช่วยกันปลูก”
“ลงแขก..!!”

ผมขนหัวลุก

“งั้นถ้าผมจะจ้างชาวบ้านทำ ท่อน้ำและซ่อมฝายในหลวง ก็คง….ต้องลงแขกใช่ไหมครับครู ”
ผมหยุดมองป่าและห้วยระหาร

ครูบอกว่า ใช่ครับ
ถ้าพี่จามร ออกทุนซื้อท่อ พีวีซีให้พวกเรา
พ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) จะลงแขก ขุดดินฝังท่อกันครับ”
“ระยะทาง 7 กิโลเนี่ยนะ”
ผมอดฉงนไม่ได้

“ใช่ครับ ลงแขก 5 หมู่บ้าน 3 วันก็เสร็จ”
” จาก ค่าแรงเกือบ ๆ แสนนึงเนี่ยนะ”
“นี่ต้นกาแฟที่สมเด็จย่าปลูกไว้ครับ”
ครูชี้ให้ดู ผมยืนร้องไห้เลย ”

ที่มาเฟซบุ๊ก : จามร จรมา