ดร.โญ รวมกฎหมาย ปกป้องประมุข และผู้นำทั่วโลก ตอกหน้าพวกจาบจ้วง แต่ไม่มีความรู้จริง

7297

ไม่แตกฉาน แต่อยากแตกแยก!?! ดร.โญ รวมกฎหมาย ปกป้องประมุข และผู้นำทั่วโลก ตอกหน้าพวกจาบจ้วง แต่ไม่มีความรู้จริง!!

จากกรณีที่มีกลุ่มผู้ชุมนุม และผู้สนับสนุนได้ปราศรัยบนเวที และส่งต่อแนวคิดผ่านโซเชียล โดยเป็นการชักชวนให้บีบบังคับยกเลิก กฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยได้บินเบือนกล่าวอ้างว่า กฎหมายนี้ทั่วโลกไม่มีใครนำมาใช้ และไม่เป็นธรรม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทั่วโลกยังใช้กฎหมายมาตรานี้อยู่ แถมยังบังคับใช้อย่างจริงจังและรุนแรงอีกด้วย

โดยทางด้านของ ดร.โญ มีเรื่องเล่า ผู้ดำเนินรายการชื่อดัง ได้โพสต์เรื่องราวดังกล่าวโดยเป็นการรวบรวม กฎหมายที่เรียกได้ว่าคล้านกับ ม.112 ของไทย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ เป็นเพียงกฎหมายป้องกันการหมิ่นประมาทอันหนึ่ง หากไม่ทำผิดก็ไม่ผิดกฎหมาย แล้วกลัวทำไม ไม่ได้ทำผิดแล้วทำไมจึงต้องกลัว

กฎหมายหมิ่นประมาท มีอยู่ ๓ จำพวกเช่นเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาทของนานาประเทศได้แก่
๑) หมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา (ม.๓๒๖ ประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายอาญาของไทย)
๒) หมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ม.๑๓๖ประมวลกฎหมายอาญา และหากหมิ่นประมาทศาลก็จะมีความเฉพาะเจาะจงลงไปอีก)
๓) หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ (ม.๑๑๒ ประมวลกฎหมายอาญาของไทย)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปีถึง ๑๕ ปี”

และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๓ บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

บรรดาเด็กน้อย เด็กโข่งที่โดนหมายเรียกและหมายจับตามความผิดฐานนี้ เพราะ ได้กระทำการอันเป็นการ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท” ถ้าสิ่งที่พูดนั้นไม่ได้ผิดก็สามารถพิสูจน์ตัวเองได้ในกระบวนการยุติธรรม ทำไม่ผิดไม่ติดคุกดอก แต่หากทำผิดแล้วต้องติดคุกแน่ ๆ

ม.๑๑๒ จึงเป็นเพียงกฎหมายที่ปกป้องพระเกียรติของในหลวง พระราชินี และรัชทายาทเฉกเช่นเดียวกับ กฎหมาย ม.๓๒๖ และม.๑๒๖ และเหมือนกับกฎหมายปกป้องการหมิ่นประมาทต่อประมุขแห่งรัฐ (Head of State Defamation Law) ของทุกประเทศในโลกนี้ ส่วนคำว่า Lèse majesté Law ซึ่งมีการนำมาเอ่ยอ้างนั้น ในวิกิพีเดียนั้นระบุว่า หมายรวมถึงผู้นำที่เป็นทั้ง พระมหากษัตริย์ ประธานาธิบดี และตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอื่น ๆ ด้วย

ในประเทศต่าง ๆ ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น
สเปน มาตรา 490 และ 491 ของประมวลกฎหมายอาญาควบคุมการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ บุคคลใดที่หมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น กษัตริย์ ราชินี บรรพบุรุษหรือทายาทมีโทษจำคุกได้สองปี นิตยสาร El Jueves ลงบทความเสียดสีภาษาสเปนถูกปรับในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ของสเปน หลังจากตีพิมพ์ปัญหาเกี่ยวกับภาพล้อเลียนของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสเปน ในขณะนั้นทรงเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในปี 2007

บรูไน การหมิ่นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนถือเป็นอาชญากรรมในบรูไนดารุสซาลาม มีโทษจำคุกสามปี
กัมพูชา กุมภาพันธ์ 2018 รัฐสภากัมพูชาได้ลงมติให้การกระทำอันเป็นการหมิ่นพระมหากษัตริย์ใด ๆ ที่มีโทษจำคุกสูงสุดหนึ่งถึงห้าปี และปรับ 2 ถึง 10 ล้านเรียล โดยเมื่อมกราคม 2019 ชายชาวกัมพูชาคนหนึ่งถูกตัดสินจำคุก 3 ปีจากการโพสต์บนเฟซบุ๊ก

มาเลเซีย มีพระราชบัญญัติการปลุกระดม 1948 เพื่อตั้งข้อหาผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่า หมิ่นสถาบันกษัตริย์ ในปี 2013 Melissa Gooi และเพื่อนอีก 4 คนถูกควบคุมตัวเนื่องจากถูกกล่าวหาว่า ดูหมิ่นราชวงศ์ ในปี 2014 Ali Abd Jalil ถูกคุมขังและถูกคุมขัง 22 วันในข้อหาดูหมิ่นราชวงศ์ยะโฮร์และสุลต่านแห่งสลังงอร์ มีการลงโทษจำคุกในยะโฮร์ในข้อหาทำร้ายราชวงศ์ต่อ Muhammad Amirul Azwan Mohd Shakri

โมร็อกโก มีชาวโมร็อกโกถูกดำเนินคดีจากข้อความที่ถือว่าเป็นการล่วงละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ บทลงโทษขั้นต่ำสำหรับความผิดดังกล่าวคือ จำคุกหนึ่งปีหากคำแถลงดังกล่าวจัดทำขึ้นเป็นการส่วนตัว (เช่นไม่ออกอากาศ) และจำคุกสามปีหากเผยแพร่ในที่สาธารณะ ในทั้งสองกรณีสูงสุดคือ 5 ปี คดีของ Yassine Belassal และ Nasser Ahmed (อายุ 95 ปีซึ่งเสียชีวิตในคุกหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์) และ Fouad Mourtada Affair ได้อภิปรายเกี่ยวกับรื้อฟื้นการกฎหมายเหล่านี้และการบังคับใช้งานของพวกเขา ในปี 2008 ชายหนุ่มอายุ 18 ปีถูกตั้งข้อหา “ละเมิดพระมหากษัตริย์” เนื่องจากเขียนคำว่า “God, Homeland, Barça” บนกระดานของโรงเรียน โดยอ้างถึงสโมสรฟุตบอลที่เขาชื่นชอบและเสียดสีคำขวัญประจำชาติ (“God , Homeland, King”) กุมภาพันธ์ 2012 Walid Bahomane วัย 18 ปีถูกตัดสินว่า มีความผิดในข้อหาโพสต์การ์ตูนสองเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์บน Facebook (อ้างถึงเพจเฟซบุ๊ก 2 เพจ และคอมพิวเตอร์ที่ถูกยึดไว้เป็นหลักฐาน) Walid ถูกดำเนินคดีอย่างเป็นทางการในข้อหา “ล่วงละเมิดต่อพระมหากษัตริย์”

ซาอุดิอาระเบีย การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือประมุขของรัฐ จะถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่มีผลบังคับใช้ในปี 2014 การกระทำที่ “คุกคามเอกภาพของซาอุดีอาระเบียรบกวนความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของรัฐหรือกษัตริย์” ถือเป็นการกระทำที่เป็นการก่อการร้าย ความผิดดังกล่าวอาจได้รับการลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรง รวมถึงการเฆี่ยนในที่สาธารณะ การจำคุกที่ยาวนาน และแม้กระทั่งการประหารชีวิต อาจมีการพิจารณาโทษเป็นรายกรณี เนื่องจากระบบกฎหมายของซาอุดิอาระเบียมีลักษณะตามอำเภอใจ (แปลกที่บรรดานักเคลื่อนไหวและองค์กรสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ไม่กล้ายุ่งเลย)

ในประเทศต่าง ๆ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น
เยอรมนี การดูหมิ่นประธานาธิบดีผิดกฎหมาย แต่การฟ้องร้องต้องได้รับอนุญาตจากประธานาธิบดี
ไอซ์แลนด์ การดูหมิ่น ประธานาธิบดี ประมุขของรัฐต่างประเทศ ผู้แทนหรือธงชาติ อาจถูกลงโทษโดยจำคุกไม่เกินสองปี ตามมาตรา 95 ของประมวลกฎหมายอาญา สำหรับการละเมิดที่ร้ายแรงมากโทษสูงสุดสามารถขยายได้ถึงหกปี
อิตาลี ในอิตาลีการดูหมิ่นประมุขต่างชาติต่อหน้าสาธารณชนถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

ในโปแลนด์การดูหมิ่นประมุขต่างประเทศในที่สาธารณะถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย 5 มกราคม พ.ศ. 25003 Jerzy Urban ผู้จัดพิมพ์นิตยสารฝ่ายซ้ายของ Nie ถูกศาลโปแลนด์สั่งปรับ 20,000 złoty (ประมาณ 5,000 ยูโร 3,400 ปอนด์หรือ 6,200 เหรียญสหรัฐฯ) เนื่องจากดูหมิ่นสมเด็จพระสันตปาปาจอห์นปอลที่ 2 ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐที่มาเยือน

รัสเซีย มีนาคม 2019 สภานิติบัญญัติของรัสเซียได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยข่าวปลอมหรือดูหมิ่นประธานาธิบดีรัสเซีย นายกรัฐมนตรี และประมุขต่างประเทศจากนั้นต้องโทษจำคุกสูงสุด 15 วัน และปรับไม่เกิน 30,000 รูเบิล

สวิตเซอร์แลนด์ ในสวิตเซอร์แลนด์การดูหมิ่นประมุขต่างประเทศต่อหน้าสาธารณชนเป็นเรื่องผิดกฎหมาย บุคคลใดที่ดูหมิ่นรัฐต่างประเทศอย่างเปิดเผยต่อบุคคลที่เป็นประมุขของรัฐ สมาชิกของรัฐบาล ผู้แทนทางการทูต ผู้แทนอย่างเป็นทางการในการประชุมทางการทูตที่จัดขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์หรือผู้แทนอย่างเป็นทางการคนใดคนหนึ่งขององค์กรระหว่างประเทศหรือ แผนกที่ประจำอยู่หรือนั่งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือโทษปรับลุค แองเจล

สหรัฐอเมริกา ศาลฎีกาแห่งสหรัฐฯ ในปี 1982 ถือว่า ประธานาธิบดีมีสิทธิ์“ คุ้มกันเต็มที่” จากความเสียหายสำหรับการประพฤติมิชอบใด ๆ ที่เกิดขึ้นภายใน“ ขอบเขตรอบนอก” ของอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี เป็นการป้องกันในข้อสงสัยในกระบวนการอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวกับการฟ้องร้องประธานาธิบดี โดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐสามารถดำเนินการทางกฎหมายเพื่อเป็นการปกป้องประธานาธิบดีที่อยู่ในวาระได้ และรัฐบาลสหรัฐฯได้การประกาศห้าม ลุค แองเจล หนุ่มวัย 17 ปี ชาวอังกฤษ เดินทางเข้าสหรัฐฯ ตลอดชีวิต หลังจากเมาแล้วพาลส่งอีเมล์ ต่อว่าประธานาธิบดีบารัก โอบามา ด้วยถ้อยคำหยาบคาย หลังได้ดูรายการเกี่ยวกับเหตุวินาศกรรม 9/11 ทางโทรทัศน์ โดย เจ้าหน้าที่เอฟบีไอ ได้สกัดข้อความดังกล่าวไว้ได้ ก่อนที่จะประสานไปยังตำรวจอังกฤษ เพื่อติดตามตัวหนุ่มคน ดังกล่าว ที่บ้านย่านซิลโซ เบดฟอร์ดเชียร์ ซึ่ง นายแองเจล ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจของทั้งสองประเทศตำหนิอย่างหนัก เกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว และกรณีศาลแห่งเมืองหลุยส์วิลล์ มลรัฐเคนตักกี ได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2010 ให้จำคุกนายจอห์นนี่ โลแกน สเปนเซอร์ ชาวเมืองหลุยส์วิลล์ วัย 28 ปี เป็นเวลา 33 เดือน ด้วยข้อหาข่มขู่นายบารัก โอบามา กรณีที่นายสเปนเซอร์ได้เขียนบทกวี 16 บรรทัด ซึ่งมีเนื้อหาบรรยายถึงการใช้ปืนสไนเปอร์ลอบยิงประธานาธิบดีสหรัฐฯ โพสต์ขึ้นบนเว็บไซต์แห่งหนึ่ง

คนที่ต้องการยกเลิก ม.๑๑๒ จึงไม่ได้แตกฉานในข้อเท็จจริงและเจตนาของกฎหมาย แต่กล่าวอ้างด้วยเจตนาเพื่อทำให้เกิดความแตกแยกเกลียดชังในสังคม ในทางกลับกันหากมีใครไปด่าพ่อล้อแม่ของบรรดาคนที่ต้องการยกเลิก ม.๑๑๒ คนเหล่านั้นยินยอมที่จะไม่แจ้งความจับผู้ที่ด่าพ่อล้อแม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖ ด้วยหรือไม่