ต่างชาติเกาะติดข่าวทุจริตการบินไทย?!? ผลสอบอื้อฉาวมีผู้เกี่ยวข้องทุจริต 20 ราย คาดป.ป.ช.ชี้ขาด

2801

“ถาวร” ชี้ ป.ป.ช.ต้องทำหน้าที่ชี้ขาดกรณีทุจริตการบินไทย คณะกรรมการตรวจสอบหยุดปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ การบินไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว และคณะกรรมการฯได้ส่งข้อมูลทุกอย่างแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ขณะที่ ป.ป.ช.เรียกคณะตรวจสอบทุจริตการบินไทยให้ถ้อยคำเพิ่มเติม 14 ธ.ค.นี้ เรื่องนี้เป็นที่สนใจของสื่อมวลชนวงการอุตสาหกรรมการบิน เกาะติดผลการสอบทุจริตอย่างต่อเนื่อง ขณะอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกเผชิญความยากลำบาก การระบาดโควิด-19 การเดินทางหยุดชะงัก ซึ่งเป็นอุปสรรคจากสถานการณ์ภายนอก กรณีตัวอย่างการบินไทยบอกถึงปัจจัยภายในที่ไม่ปกติคือการทุจริตคอรัปชั่น จนการบริหารงานล้มเหลว ขาดทุนบักโกรกต่อเนื่อง สังคมไทยจับตาดูการแก้ปัญหาของสายการบินแห่งชาติว่า ทำจริงจังหรือไม่ ใครมีหน้าที่ควรทำให้จบ นำคนผิดมาลงโทษให้เป็นแบบอย่าง ต้องล้างบางทุจริต สายการบินแห่งชาติไทยจึงจะกลับมาสดใสได้อย่างแท้จริง

นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้ากรณีคณะตรวจสอบข้อเท็จจริงการบริหารกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมให้ถ้อยคำ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลผู้กระทำผิด ว่า ตนไม่ได้เป็นผู้กำกับดูแลบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และได้ประสานงานส่งมอบไปยัง ป.ป.ช. ดังนั้นป.ป.ช.จะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและตัดสิน

ตั้งแต่เรื่องการจัดซื้อเครื่องบินแอร์บัส รุ่น A340-500 และรุ่น A340-600 ทั้งหมด 11 ลำและเรื่องอื่น ๆ ด้วย โดย ป.ป.ช.ได้เชิญผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวนเรื่องนี้ไปพบเพื่อให้การเพิ่มเติมแล้ว 2 ครั้ง ขณะที่ได้เรียกคณะทำงานมาประชุมอีกครั้งหนึ่งเพื่อกำหนดท่าที

ด้านพล.ต.ท.สาโรช นิ่มเจริญ รองหัวหน้าคณะตรวจสอบข้อเท็จจริงการบริหารกิจการของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และปัญหาการทุจริต ซึ่งทำให้ประสบภาวะขาดทุน เปิดเผยว่า คณะตรวจสอบได้ส่งข้อมูลการตรวจสอบไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ และประธาน ป.ป.ช.แล้ว โดย ป.ป.ช. ได้ส่งหนังสือกลับมาถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงและขอเอกสารเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา โดยนัดไปให้ถ้อยคำในวันที่ 14 ธันวาคมนี้

สื่อวงการการบินต่างประเทศให้ความสนใจติดตามกรณีทุจริต

สำนักข่าวแอร์โรไทม์ รายงานการทุจริตต่อเนื่องของการบินไทยว่ามีผู้เกี่ยวข้องการทุจริต 20 รายการสืบสวนทุจริตอย่างต่อเนื่องของสายการบินแห่งชาตื การบินไทยระบุไว้ 20 รายที่อาจเกี่ยวข้องกับการทุจริตทำให้การบริหารของบริษัทล้มเหลวขาดทุนต่อเนื่อง

ต้นเดือนสิงหาคม 2020 การกระทรวงคมนาคมได้ริเริ่มตรวจสอบการทุจริตในบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) พบว่าพนักงานการบินไทยจำนวนหนึ่งร่ำรวยอย่างผิดปกติ จากการจัดซื้อเครื่องบินตั้งแต่ปี 2003-2004

ในช่วงเวลานั้น การบินไทยได้สั่งซื้อเครื่องบินใหม่ 10 เครื่องรุ่น แอร์บัส A340 และ 2 ใน 10 ลำคือ A340-500s  ตั้งเป้าใช้บินระยะทางไกลจากกรุงเทพฯไปอเมริกาเหนือ และมีแผนการส่งมอบลำแรกในปี 2005

อย่างไรก็ตาม การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ได้รายงานผลที่น่าสงสัย หลังจากที่เที่ยวบินกรุงเทพ-สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการ  การบินไทยบันทึกการขาดทุน 12 ล้านบาท และขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็น 39 ล้านบาทหลังจากที่ A340s ทำการบินในเส้นทางอื่น นสพ.บางกอกโพสต์ได้รายงานอ้างคำชี้แจงจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

การสอบสวนการทุจริตในครั้งหลัง พบข้อพิรุธในโครงการมากกว่าเดิมและพบว่ามีคนเกี่ยวข้องกับการบริหารที่ล้มเหลวทำให้ขาดทุนถึง 20 คน จากรายงานของนายสาโรจ นิ่มเจริญ รองหัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบการบริหารจัดการภายในของการบินไทย

ตัวอย่างเช่น “คณะกรรมการได้พบว่าฝ่ายช่างเครื่อง พนักงาน 567 คนได้เบิกเงินจำนวน 6 ล้านบาท เป็นการเบิกเงินค่าล่วงเวลาถึง 1,500 ชั่วโมง (สำหรับการทำงานล่วงเวลา)ต่อปี” สาโรจกล่าวว่า “เรื่องนี้จะต้องได้รับการตรวจสอบถึงเหตุผลและความจำเป็นในการเบิกจ่ายเงินค่าทำงานล่วงเวลาจำนวนมากขนาดนี้”

การบินไทยมีผู้ถือหุ้นหลัก คือกระทรวงการคลัง 51% ควบคุมดูแลโดย คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Policy Committee:SEPC)

การสืบสวนทุจริตเพื่อค้นหามูลเหตุของการขาดทุนต่อเนื่องไม่จบสิ้นของบริษัทฯ การบินไทยรายงานผลขาดทุน 7 ปีของการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

สืบเนื่องจากรายงานฐานะการเงิน การขาดทุนสะสมและการขาดสภาพคล่อง “กลุ่มบริษัทในเครือและตัวบริษัทการบินไทย ต่างขาดทุนจากการบริหารงานมาตั้งแต่ปี 2013 ส่งผลให้มีการขาดทุนสะสมและขาดสภาพคล่อง” จากรายงานการเงินประจำไตรมาสของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ปี 2020

ยอดการขาดทุนเมื่อเร็วๆนี้ การบินไทยต้องเผชิญปัญหาวิกฤตทางการการเงินเนื่องจาก การระบาดไวรัสโควิด-19 การบินไทยมีผลการขาดทุนในไตรมาส 3 ของปี 2020 จำนวน 21.53 พันล้านบาท (713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

กล่าวคือภาคการบินขาดทุนสะสมที่ 28 พันล้านบาท (927 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ภาคขนส่งขาดทุนสะสมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 คิดเป็น 21.53 พันล้านบาท( 713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากรายงานการเงินของบริษัทการบินไทย

การบินไทยกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งได้รับอนุมัติจากศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2020 ศาลผ่านการพิจารณอนุมัติให้การบินไทยปรับโครงสร้างองค์กรและประกาศแต่งตั้งผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้คณะผู้ทำแผนอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการซึ่งจะต้องนำเสนอต่อศาลฯภายในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2020