เดินหน้าเศรษฐกิจ?!!?ภาครัฐ-เอกชนจัดหนัก ช่วย SME แก้หนี้เสริมสภาพคล่อง จัดจ็อบเอ็กซโปจ้างงานเพิ่ม 1 ล้านตำแหน่ง

1976

ภาครัฐและเอกชน ผนึกกำลังเร่งมือแก้ปัญหาค้างคาของ SMEs ทั้งแก้หนี้และเสริมสภาพคล่อง เติมงบฯ ให้อีก 1.1 แสนล้านบาท ด้านคลังและธปท.เร่งสร้างงาน จัด Job Expo ตั้งเป้าสร้างงานเพิ่ม 1 ล้านตำแหน่ง เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อยอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมดูแลการเงิน-การคลังให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่กระทบความเชื่อมั่น

“ศบศ” เคาะมาตรการเร่งด่วน- กระตุ้นท่องเที่ยว รับมือปัญหาว่างาน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบศ. นัดแรก เปิดเผยว่า มีหลายงานที่ต้องเร่งรัดในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ให้ฟื้นคืนจากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ต้องทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ อย่างน้อยในช่วง 3-6 เดือนและ หาช่องทางให้ผู้ประกอบการ สามารถเข้าถึงแผนฟื้นฟูของรัฐให้ได้มากที่สุด 

“การตั้ง ศบศ.นี้ขึ้นมา ยังมีคณะอนุกรรมการอีกหลายคณะ เพื่อช่วยการทำงานให้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอนโยบายจากส่วนบน แล้วจึงจะเริ่มดำเนินการ ทั้งนี้ เมื่อได้กำหนดกรอบการทำงานแล้ว ฝ่ายปฏิบัติสามารถนำไปขยายและคิดต่อว่า จะเพิ่มเติมในส่วนใดได้บ้าง ก่อนนำกลับมาเสนอยัง ศบศ. ชุดใหญ่ ช่วยให้การทำงานรวดเร็วและต่อเนื่องยิ่งขึ้น  ขอย้ำว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องสุขภาพควบคู่กันไป ซึ่งขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีในระดับที่น่าพอใจ แต่ทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ต้องมีความเข้าใจของประชาชนร่วมด้วย”

ระดมสรรพกำลัง-รับมือปัญหา และกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายสมิทธ์ พนมยงค์ โฆษกประจำศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ศบศ. ได้อนุมัติมาตรการเร่งด่วน 4 ด้าน ได้แก่

  1. มาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยว โดย ขยายสิทธิ์ในโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ให้พักจาก 5 คืนเป็น 10 คืน สนับสนุนตั๋วเครื่องบินจาก 1,000 บาทต่อคน เป็น 2,000 บาทต่อคน ในส่วนนี้ ด้องการใหประชาชนเดินทางท่องเที่ยวในระยะไกลมากขึ้น  จากเดิมท่องเที่ยวไม่เกิน 300 ก.ม.จากภูมิลำเนาเท่านั้น และจะนำเสนอในการประชุมครม. (25 ส.ค.2563)
  2. มาตรการสนับสนุนธุรกิจและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ตามที่ประทรวงการคลังดำเนินการแล้ว 
  3. มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน โดยให้กระทรวงแรงงานเร่งทำมาตรการเสนอ โดยทำ แพลตฟอร์มข้อมูล “บิ๊กดาต้า”  ปัจจุบันมีอัตราว่างงานอยู่ 7.5 แสนล้านตำแหน่ง ตี้งเป้ารวมจากการจะจัด Job Expo ประมาณ 7 แสนตำแหน่งรวมหน่วยงานอื่นๆ ตั้งเป้าให้ได้ 1 ล้านตำแหน่ง
  4. มาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย  โดยไม่ใช้วิธีการแจกเงิน แต่จะกระจายรายได้ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก และกลุ่มหาบเร่แผงลอย ทางรัฐบาลจะทำคิวอาร์โค้ต ให้ได้ใช้เท่าเทียมกับผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่ จะทำรายละเอียดเสนอ ศบศ.อีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า

แบงก์ชาติ ร่วมกับสมาคมธนาคาร- เร่งสางปม SME

จากมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ 30 มิถุนายน 2563 มีลูกหนี้รับความช่วยเหลือพักหนี้จำนวน  12.82 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 6.88 ล้านบาท คิดเป็น 1 ใน 3 ของสินเชื่อทั้งระบบ สะท้อนปัญหาคุณภาพสินทรัพย์น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะ SMEs มีจำนวน 1.17 ล้านราย คิดเป็นมูลหนี้ 2.25 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจท่องเที่ยว ที่มีสายป่านไม่ยาวเสี่ยงเป็นหนี้เสีย เพราะเดือนตุลาคมนี้จะสิ้นสุดระยะเวลาพักชำระหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย มีมติเห็นร่วมกันในการ “รวมเจ้าหนี้” (Multicredition) เพื่อช่วยให้ลูกหนี้ไปต่อได้ เพราะโดยส่วนใหญ่มีหลีกประกันอยู่แล้ว ซึ่งจะดำเนินการลงนามเอ็มโอยู เพื่อให้มั้นใจว่าจะดำเนินการเป็นเอกภาพกัน เพราะสมาชิกสมาคมธนาคารต่างเห็นชอบร่วมกัน ทำให้การดำเนินงานราบรื่นขี้น

นายธาริทธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตรวจสอบ และวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า คุณภาพความเสี่ยงหนี้ NPL ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2/2563  ยังอยู่ในเกณฑ์ดี

“ที่ผ่านมามาตรการความช่วยเหลือออกไปค่อนข้างมาก ทั้งมาตรการการคลัง มาตรการการเงิน เข้าไปแก้ปัญหาก่อนสินเชื่อจะเสื่อมคุณภาพ”

สินเชื่อรายใหญ่ที่มีแนวโน้มเป็น NPL มาจากสายการบินที่ประสบปัญหาการระบาดโควิด-19 ส่วนสินเชื่อของเอสเอ็มอี ที่มีแนวโน้ม NPL ลดลงจากมาตรการของรัฐ และการตัดขายหนี้ของธนาคารพาณิชย์

กระทรวงการคลังเร่งมือ-การมีงานทำ มีรายได้ ค้าขายสะดวกขึ้น

นายปรีดี ดาวฉาย รมว.กระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงงานเร่งด่วนที่จะต้องทำเลย คือ การสร้างงาน ให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและภาคธุรกิจ เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อย ต้องเร่งเติมสภาพคล่องให้ แก้ไขกฎเกณฑ์ที่ทำให้ติดขัดขอสินเชื่อไม่ได้

และมีมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐ เรื่องการลงทุน จะทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ นอกจากนี้ นายปรีดีฯ แจงบทบาทกระทรวงการคลังเน้น สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการรักษาระดับหนี้สาธารณะให้ไม่เกิด 60% ของจีดีพี