WTOมองประเทศไทยกำลังลอกคราบ!?! ฐานะการคลังยังแกร่ง แนะเพิ่มลงทุน-หนุนค้าเสรี-ปรับโครงสร้างภาษี

2007

องค์การค้าโลก มองการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ปัจจัยท้าทายทั้งภายนอกและภายในประเทศ ปัจจุบันคนไทยมีรายได้ปานกลางระดับบน แต่ช่องว่างรายได้ยังไม่เท่าเทียม ติงระเบียบการลงทุนทำธุรกิจจากต่างประเทศยังไม่เสรี แนะให้นำมุมมองจากต่างประเทศมาพิจารณา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นได้

องค์การค้าโลก (WTO) ได้จัดทำรายงานเกี่ยวกับนโยบายด้านการค้าสำหรับประเทศไทย (Trade Policy Review:Thailand) โดยไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและพันธกิจของสมาชิก และไม่มีนัยทางกฎหมายว่า มาตรการที่กล่าวถึงในรายงาน สอดคล้องกับความตกลงในกรอบ WTO หรือไม่ ในช่วงนี้องค์การค้าโลกอยู่ในระหว่างคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปไม่เกินต้นปี 2564

24 พ.ย.2563 WTO เผยแพร่รายงานมีเนื้อหาสาระโดยสรุปดังนี้คือ

  1. โครงสร้างเศรษฐกิจไทย-พื้นฐานข้อมูลปี 2562 กล่าวว่า ประเทศไทยในช่วง 5 ปี (2558-2562) มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละ 3.4%

ปัจจัยหลักมาจาก การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก โครงสร้างภาคบริการ การก่อสร้าง ในสัดส่วน 61% ต่อจีดีพี เพิ่มจากปี 2558 ที่ 58% แต่สัดส่วนภาคการผลิตแฃะการเกษตรต่อจีดีพีมีแนวโน้มลดลง

  1. คนไทยมีรายได้เฉลี่ยปี 2562 ที่ 8,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อป คือเฉลี่ย 240,000 บาท ซึ่งเป็นแรงขับให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน (uppermiddle-income)

ปัจจุบ้น ประเทศไทยเผชิญกับเศรษฐกิจดิ่งตัวจาก เศรษฐกิจโลกชะลอตัวแฃะ การค้าต่างประเทศอยู่ในระหว่างความตึงเครียด ทำให้การส่งออก-การลงทุน-การบริโภคหดตัว แต่รัฐบาลได้ออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจช่วงหลังของปี 2562

ปี 2563 การระบาดโควิด-19 เกิดภาวะการค้าโลกหดตัว ส่งผลต่อไทยในหลายด้าน การส่งออก การหยุดชะงักของห่วงโซอุปทานโลก (Global supply chains) ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นฟันเฟืองหลัก นำไปสู่ความไม่แน่นอนของดีมานด์ในตลาด การจ้างงนและรายไดเประชาชนอยู่ในภาวะอ่อนแอ

รัฐบาลออกแพ็คเกจพยุงเศรษฐกิจมูลค่า 14%ของจีดีพี หลายหน่วยงานประเมินจีดีพีไทยติดลบ 8.1% การจ้างงาน 8.4 ล้านตำแหน่งอยู่ในภาวะเสี่ยง

  1. ฐานะการคลังของไทย มีทุนสำรองระหว่างประเทศสูง 224.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อสิ้นปี 2562  ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่า กระทบการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ
  2. ไทยออกกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง หรือ Fiscal Responsibility Act (FRA) ซึ่งเข้มงวดเรื่องเป้าหมายหนี้การใช้งบประมาณ การลงทุนต่างๆ กล่าวคือ รัฐบาลไทยเคร่งครัดต่อสุขภาพการคลัง
  3. การลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไทยมีแต้มต่อจากสถานะผู้เชื่อมโยงอาเซียนและภูมิภาค ทำให้ไทยมีฐานะผู้ส่งออกในการลงทุนไปต่างประเทศด้วย

เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญปัจจัยท้าทาย

  1. โครงสร้างเศรษฐกิจไทยภายในมีข้อจำกัด-ระดับการลงทุนภาครัฐและเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับผลเสียหายจากภัยธรรมชาติ และความตึงเครียดทางการเมือง ความไม่เท่าเทียมในด้านรายได้ ภาระการคลังที่จะต้องใช้จ่ายรับมือกับกลุ่มประชากรสูงอายุ ที่จะกระทบต่อโครงสร้างตลาดแรงงานในอนาคตอย่างแน่นอน
  2. การเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ต้องเพิ่มการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชน เพิ่มการค้าและการลงทุนเสรี และการดึงภาคบริการให้มีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจให้มากขึ้น
  3. ประเทศไทยกำลังอยู่ในระยะขับเคลื่อนประเทศ  ด้วยการนำ “ไทยแลนด์ 4.0” ว่าด้วยองค์ความรู้ทางเทคโนโลยี มาเป็นพื้นฐานสำคัญทางอุตสาหกรรม การยกระดับโครงสร้างทางกายภาพ
  4. การทำข้อตกลงการค้าเสรีในหลายกรอบ และความพยายามปรับกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า เช่นพิธีการทางศุลกากร  ในการนี้ด้านระเบียบการลงทุน หรือการทำธุรกิจจากต่างประเทศยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ  เช่น การเข้างวดการถือหุ้นของต่างด้าวในธุรกิจต่างๆ เช่นด้านสื่อ เหมืองแร่ บริการทางการเงิน โทรคมนาคม การขนส่ง การท่องเที่ยวเป็นต้น
  5. การกำหนดอัตราภาษีของไทย (MFM Tariff) มีแนวโน้มสูงขึ้น ปี 2557 อัตราภาษีอยู่ที่ เฉลี่ย 13.4%ในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 14.5% และการนำเข้ามีเงื่อนไขยุ่งยาก เช่น การขอใบอนุญาต การกำหนดโควตาภาษีบางสินค้า เป็นต้น

แง่คิดข้อแนะนำของWTO คือ ประเทศไทยจะก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านได้สำเร็จหรือไม่ขึ้นกับ การนำมุมมองจากภายนอกประเทศมาร่วมพิจารณาประกอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายใน และการใส่นวตกรรมเทคโนโลยีขับเคลื่อนประเทศ