คนไทยจวกกันยับ! หลัง “เนติวิทย์” ใช้มุขเดิม ดึง “ม.ฮาร์วาร์ด” กดดัน “จุฬาฯ” แต่มหาลัยดังอื่นขอเงียบ ไม่หนุน นศ.แหกกฎ?
สืบเนื่องจากกรณีเพจ “องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.)” ได้ออกมาประกาศ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสั่งปลด นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล พ้นตำแหน่งนายก อบจ. จากสาเหตุเชิญ เพนกวิน-ปวิน-รุ้ง ไลฟ์เซอร์ไพรส์นิสิตใหม่ กิจการนิสิตระบุไม่แจ้งก่อน ขัดระเบียบและทำลายเกียรติมหาวิทยาลัย
ต่อมาเจ้าตัวออกมาโพสต์ข้อความระบุ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยก่อรัฐประหารตนเอง ไม่เคารพคะแนนเสียงที่เลือกตนเข้ามา ยันยังคงสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่
ล่าสุดทางด้านของ นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ได้โพสต์ภาพจดหมายจาก ม.ฮาร์วาร์ด ลงในเฟซบุ๊ก “Netiwit Ntw” ของตนเอง ที่ระบุเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีใจความคือ
ทางฮาร์วาร์ดมีความกังวลเกี่ยวกับการสั่งปลดนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล พ้นจากตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของประเทศไทย ในเรื่องของโครงการแลกเปลี่ยนและเรื่องของทุนการศึกษา
ดังนั้นจึงขอให้เจ้าหน้าที่และอาจารย์ที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ใช้ดุลพินิจและหาทางเจรจามากกว่าที่จะเผชิญหน้ากัน และเชื่อว่าผลประโยชน์ของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องของทุนการศึกษาและการเรียนรู้ จะได้รับผลดีที่สุดจากเรื่องนี้
หลังจากที่มีข่าวดังกล่าวออกมา ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยจำนวนมาก เกิดความไม่พอใจ เนื่องจากทางด้านของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ไม่ได้รู้ความจริงที่เกิดขึ้น ว่าต้นสายปลายเหตุเป็นอย่างไร รวมถึงไม่ควรมาก้าวก่าย เช่น
“Harvard ก็ลองปล่อยให้นักศึกษาขึ้นไปบรรยาย แล้วด่ามหาวิทยาลัย ด่าผู้บริหาร คณาจารย์ของ Harvard ดูซิ”
“ไม่เผือกสิค่ะเรื่องของเราจะ ไม่เหมาะก็ปลด”
“น่าจะถือโอกาสนี้ ไปเรียนต่อ ม.ฮาร์วาร์ด อย่าไปแคร์ จุฬา เลย ..รีบไปๆ”
“บริษัทและโรงงานในเครือไทซัมย้วย ช่วยรับ เนเน่ เป็นประธานอำนวยการดูแลบริหารธุรกิจด้วยครับ”
“ถูกปลดเพราะ ถูกตัดคะแนนความประพฤติ จนเกินเงื่อนไขตำแหน่ง เค้าไม่ได้ปลดตรงๆ มึงเป็นต่อไม่ได้ ก็เพราะไปก่อเรื่องเองนี่หว่า ซื่อบื้อเอ้ย เขียนจดหมายหลอกล่อ ตอแหลส่งเค้าไปละสิ ไม่มียางอายเลยนะครับ ถถถ”
ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อช่วงประมาณ ปี2560 ทางด้านของ นายเนติวิทย์ ก็เคยใช้วิธีนี้กดดัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากที่ลงโทษตนเองพร้อมพวก เนื่องจากเหตุการณ์ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ซึ่งในครั้งนั้นมีนักสิทธิมนุษยชน รวม 23 คน จากมหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลก ร่วมลงนามกดดัน แต่ในครั้งนี้เหลือเพียงแค่มหาวิทยาลัยเดียว ซึ่งชัดเจนว่าไม่มีใครเห็นด้วย ที่หนุนนักศึกษาที่แหกกฎเกณฑ์แบบนี้