“โรม”เงิบแรง! อ้างสติกเกอร์แผ่นเดียวโดนคุก3ปี เจอหนุ่มบุกสวนเจ็บหนักถึงถิ่น

1866

จากกที่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ข้อความถึงกรณี นายนรินทร์ การกระทำติดสติกเกอร์ “กูkult” บนพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 10 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งลงโทษ ก่อนได้รับการประกันตัวนั้น

ทั้งนี้ศูนย์ทนายความฯ โพสต์ข้อความ ว่า 4 มีนาคม 2565 ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี นรินทร์ ศาลตัดสินว่า การกระทำติดสติกเกอร์ “กูkult” บนรูปรัชกาลที่ 10 แปลเจตนาได้ว่า กลุ่มบุคคลดังกล่าวมีความยิ่งใหญ่เหนือกว่า ร.10 เป็นการลบหลู่ ดูหมิ่น มีความผิดตาม ม.112 แม้จะไม่ได้กระทำโดยตรงต่อ ร.10 แต่ก็แปลความหมายได้เช่นเดียวกัน แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการนำสืบพยานจึงลดโทษให้หนึ่งในสามเหลือโทษจำคุกสองปี โดยจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อไปได้

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลา 13.00 น. ที่ สน.ชนะสงคราม นรินทร์ (สงวนนามสกุล) เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยถูกกล่าวหาว่า ติดสติกเกอร์ “กูkult” บนพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 ระหว่างการชุมนุม 19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อ 19 ก.ย. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และสนามหลวง

โดยเจ้าหน้าที่ตํารวจฝ่ายสืบสวนทราบว่า มีบุคคลนําสติกเกอร์มีอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คําว่า “กูkult” ไปติดบนพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่ตั้งไว้ที่บริเวณประตูทางเข้าของศาลฎีกา จึงออกทําการสืบสวนติดตามหาตัวบุคคลที่นําสติกเกอร์ดังกล่าวไปติด

นอกจากนี้เมื่อเดือนกันยายน 2563 นายนรินทร์ ถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมที่บ้านพักตามหมายจับในคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และถูกกล่าวหาว่าเป็นแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “กูkult” ซึ่งเผยแพร่ข้อความเสียดสีสถาบันจำนวน 3 โพสต์ โดยเขาถูกควบคุมตัวระหว่างการสอบสวนอยู่ที่ สน.ทุ่งสองห้อง และกองบังคับปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เป็นเวลา 2 วัน ก่อนศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัวในวงเงิน 100,000 บาท เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563

ล่าสุดวันนี้ 05 กุมภาพันธ์ 2565 นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความถึงกรณีดังกล่าวด้วย ซึ่งระบุเนื้อหาว่า แค่สติกเกอร์แผ่นเดียว บวกกับความเปราะบางของผู้มีอำนาจ ทำระบบกฎหมายไทยตกต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ

วันนี้ (4 มีนาคม 2565) ศาลอาญาอ่านคำพิพากษา กรณีคุณ “นรินทร์” ติดสติกเกอร์ข้อความ “กูkult” บนพระบรมสาทิสลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 10 ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 โดยศาลตัดสินจำคุก 3 ปี แต่ลดโทษลง 1 ใน 3 เหลือ 2 ปี และให้ประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ด้วยหลักทรัพย์เดิม วงเงิน 100,000 บาท

คดีนี้เมื่ออ่านรายละเอียดที่ผ่านมาก็ได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้น เช่นการไม่จดคำถามทนายจำเลย การถามแทนอัยการฝ่ายโจทก์ การตัดพยานของทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยโดยอ้างว่าศาลสามารถตัดสินเองได้ ทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้พยานฝ่ายตัวเองช่วยสนับสนุนหรือถามค้านพยานอีกฝ่าย การแสดงท่าทีกดดันทนายในเรื่องนอกประเด็น หรือการรีบนัดอ่านคำพิพากษาหลังสืบพยานเสร็จเพียง 3 วัน

และสรุปรวบยอดทุกสิ่งด้วยตัวคำพิพากษา ที่อ้างเหตุผลในการตัดสินลงโทษว่าการนำสติกเกอร์ไปติดที่พระบรมสาทิสลักษณ์ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ มีเจตนาสื่อว่ากลุ่มบุคคลเช่นนั้นมีความยิ่งใหญ่กว่ารัชกาลที่ 10 แม้จะไม่ได้กระทำต่อตัวพระมหากษัตริย์โดยตรง แต่ก็ถือเป็นการลบหลู่พระมหากษัตริย์

การตีความเช่นนี้ หากลองคิดเปรียบเทียบดูว่าถ้ามีการติดสติกเกอร์ทับรูปบุคคลอื่นๆ แล้วจะต้องตีความว่าอวดอ้างความยิ่งใหญ่เหนือบุคคลนั้นๆ ไปหมด ผมเกรงว่าระบบกฎหมายคงจะเละเทะไปหมด

ถ้าสติกเกอร์แค่แผ่นเดียวยังสามารถถูกผู้มีอำนาจเอามาตีความให้คนคนหนึ่งต้องรับโทษตั้ง 2-3 ปีได้ ผมคิดว่าระบบที่ค้ำจุนสังคมไทยอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายของบ้านเมือง กระบวนการยุติธรรม หรือ การเมืองการปกครองของประเทศนี้ ต้องนับว่าเปราะบางเกินกว่าจะคุ้มครองชีวิตของประชาชนได้ เปราะบางเกินกว่าที่จะพิทักษ์ไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ ระบบที่เป็นอยู่นี้จะนำพาให้ทั้งประชาชน และสถาบันพระมหากษัตริย์ตกต่ำ ผู้มีอำนาจทั้งหลายควรรู้สึกตัวเสียทีได้แล้ว

ทั้งนี้เมื่อข้อความของนายรังสิมันต์ เผยแพร่ออกไปสู่โลกโซเชียลฯ ก็ปรากฏว่ามีคนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่โจมตีศาล และพาดพิงไปถึงสถาบัน มีบางข้อความที่ไม่เห็นด้วยกับนายรังสิมันต์ ซึ่งมีความน่าสนใจ เช่น

“คนไทยเกือบ​ 70​ ล้านคนมีผู้ได้รับโทษจากการกระทำผิด​ ม.112​ ไม่ถึง​ 100​ คน กลับกันในคดีอาญา​อื่นๆมีผู้ต้องโทษนับแสนนับล้านไม่เห็นเขาออกมาคัดค้านกฎหมายสักแอะ มีแต่คนคิดไม่ดีและมีอคติเท่านั้นแหละที่เดือดร้อน ไอ…โรมเป็นถึง​ส.ส.เป็นนักกฎหมาย​ แต่กลับให้ความรู้ทางด้านกฎหมายกับประชาชนแบบผิดๆ ถ้าทุกคนมีตรรกะ​ความคิดเยี่ยงมึ…มันจะต้องมีกฎหมายไว้ทำไม…สั….”