BBCจ่อถูกตัดงบ! เมื่อไหร่ถึงคิว “ไทยพีบีเอส” ได้เงินหนุนรบ.ปี2พันล้าน แต่เชียร์ม็อบจาบจ้วง?

1462

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 ทางสำนักข่าววีโอเอ ได้เผยแพร่บทความโดยมีหัวข้อว่า “รัฐบาลอังกฤษจ่อตัดงบ ‘บีบีซี’ – จี้ปฏิรูปโครงสร้างเก็บค่าธรรมเนียมผู้ชม” โดยมีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจว่า

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว รัฐบาลอังกฤษเปิดการเจรจากับบีบีซี เพื่อหากรอบของค่าธรรมเนียมที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำข้อตกลงระหว่างกันในระยะ 5 ปี ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายนปีนี้

ทางกระทรวงดิจิทัล สื่อ วัฒนธรรม และกีฬา ของอังกฤษ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้กับสำนักข่าวรอยเตอร์ ขณะที่รัฐมนตรีนาดีน ดอร์รีส์ ทวีตข้อความเกี่ยวกับข่าวนี้ในบัญชีทวิตเตอร์ พร้อมระบุว่า ข้อตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมกับบีบีซีจะเป็นข้อตกลงสุดท้ายที่เกิดขึ้นในรูปแบบนี้ และถึงเวลาแล้วที่จะหารือกันเรื่องการระดมทุน การสนับสนุน และการขายเนื้อหาของอังกฤษที่ยอดเยี่ยมในรูปแบบใหม่ๆ ด้านสื่อบีบีซีปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับทวีตของรัฐมนตรีดอร์รีส์ในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน

ด้านพรรคฝ่ายค้านอังกฤษ มองว่า การตัดงบประมาณของสื่อบีบีซีมีปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง โดยลูซี พาวเวลล์ สส.จากพรรคแรงงาน ระบุว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมอังกฤษ ดูเหมือนจะเต็มใจที่จะโจมตีสถาบันที่ยิ่งใหญ่ของอังกฤษนี้ เพราะพวกเขาไม่ชอบสื่อมวลชน

ที่ผ่านมา การรายงานข่าวของสื่อบีบีซี มักถูกวิจารณ์จากนักการเมืองอังกฤษหลายฝ่าย โดยเฉพาะประเด็นเบร็กซิต และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมของอังกฤษ กล่าวว่าการนำเสนอข่าวของบีบีซี เกี่ยวกับงานเลี้ยงที่บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิงสตรีท ช่วงล็อคดาวน์ของนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ถือเป็น ‘ความพยายามก่อรัฐประหาร’

อย่างไรก็ตาม ก็หลายคนเกิดวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อในประเทศไทยที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลอย่าง สำนักข่าวไทยพีบีเอส ที่เคยตกเป็นประเด็นเกี่ยวกับการชุมนุมในประเทศไทย ที่หลายคนจับตามองว่า มีการเสนอข่าวที่มีการเอนเอียงไปในฝ่ายสามนิ้วหรือไม่

หากย้อนไปเมื่อวันที่มีการจัดกิจกรรมเดินทะลุฟ้าทางเพจ ซึ่งต้องพิสูจน์ ได้รายงานระบุว่า “6 มี.ค. 64 กลุ่มมวลชน ที่จัดกิจกรรม “เดินทะลุฟ้า” เข้าไปพักใน TPBS โดยทาง TPBS เป็นผู้อนุญาต เเละมี “นายสมเกียรติ จันทรสีมา” ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ TPBS ให้การต้อนรับ “ไผ่ ดาวดิน”

โดยทางด้านนายสมเกียรติ ก็ได้ออกมาชี้แจงในกรณีนี้ว่า “พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่กลาง ให้กับทุกกลุ่มนี่ก็เป็นหน้าที่เราต้องช่วยดูแลให้ประชาชนมีประกันเสรีภาพในการแสดงออก แต่อีกด้านก็พยายามจะช่วยดูแลเรื่องของความปลอดภัยด้วย ในแง่ของการชุมนุมที่ผ่านมาทางกลุ่มดำเนินการราบรื่นมาโดยตลอด กลุ่มที่เข้ามาเราก็เห็นเป็นประชาชนที่เขามีความเดือดร้อนอยู่ หน้าที่เรา เราต้องเป็นเสียงหนึ่งให้กับคนในสังคมได้รับรู้ว่ามีคนที่เขาเดือดร้อนจากเหตุการณ์ อาจจะเอาเสียงของภาครัฐหรือคนที่เกี่ยวข้องมาตอบให้กับเขาด้วย”

จึงทำให้สังคมตั้งคำถามถึงความจำเป็น ของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ว่ายังมีความจำเป็นบนแพลตฟอร์มทีวีหรือไม่ หรืออาจจะต้องปิดกิจการลง และยิ่งไทยพีบีเอส ถือเป็นอีกหน่วยงานที่มีการใช้งบประมาณต่อปีจำนวนมากด้วย ทำให้คำถามเหล่านี้ ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอีกครั้ง

ทั้งนี้ยังมีประเด็นของ นายเดวิด สเตร็คฟัสส์ นักวิชาการสหรัฐฯ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ The Isaan Record และอดีตผู้อำนวยการโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา CIEE ได้ถูกทางการระงับวีซ่า แม้อยู่ไทยมานานกว่า 35 ปี มีผลสิ้นสุดทันที

ทั้งนี้พบว่า นายเดวิด เป็นคนก่อตั้ง อีสานเร็คคอร์ต ร่วมกับภรรยาชาวไทย ที่เป็น บ.ก .ของ isaan record ซึ่งก่อนหน้านี้ภรรยาได้เคยทำงานที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ซึ่งต่อมาทางด้าน รศ. วิลาสินี พิพิธกุล ผอ.ไทยพีบีเอส ได้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงดังกล่าว ผ่านนายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา โดยบอกว่า ภรรยาของนายเดวิด ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับไทยพีบีเอสแล้ว ภรรยาของนายเดวิด ยังเคยได้รับรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชนจากองค์กร Amnesty International เมื่อปี 2562 ด้วย

หลังจากที่ประเด็นดังกล่าว ได้รับการเผยแพร่ ทำให้มีการตั้งคำถาม ถึงการเคลื่อนไหวทางข่าวสาร และการนำเสนอสื่อของไทยพีบีเอส ในช่วงที่มีม็อบ 3 นิ้วเกิดขึ้น ว่าเป็นองค์การที่ค่อนข้างชัดเจนว่า แนวทางของผู้บริหารเชียร์ม็อบ และมักจะโปรดคนที่มีแนวคิดต่อต้านม.112 อย่างเช่น ตอนที่นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผอ.สำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะ TPBS ออกมาต้อนรับ “ไผ่ ดาวดิน” และเปิดใจว่าพร้อมรับฟัง สนับสนุนออกแสดงออกแบบเสรีภาพ

อย่างไรก็ตาม องค์กรสื่อไทยพีบีเอส (Thai PBS) ได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีสรรพสามิตพิเศษปีละ 2,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการผลิตสื่อทีวีสาธารณะที่เป็นอิสระ ซึ่งหลังจากที่การเสนอข่าวว่ารัฐบาลอังกฤษจ่อตัดงบบีบีซี ทำให้กเิดการตั้งคำถามขึ้นอีกครั้งว่า รัฐบาลจะการจัดการกับสำนักข่าวไทยพีบีเอสอย่างไรบ้าง?