ฝรั่งเศส-เยอรมันเทเมกา!!ค้านลากยุโรปเป็นสนามรบ ปะทะรัสเซียเป็นเรื่องโง่เขลา

1358

ผู้นำและนักการเมืองฝรั่งเศสและเยอรมนีไม่เห็นด้วยกับการที่สหรัฐฯปลุกเร้าสงครามยูเครนและดึงสหภาพยุโรปเข้าสู่วงจรวิกฤตสงครามโลกอย่างสุ่มเสี่ยง ฝรั่งเศสและเยอรมนีจึงพยายามหลีกเลี่ยงอย่างที่สุด มาครงเสนอเป็นผู้ประสานและจัดการเจรจาครั้งใหม่ระหว่างรัสเซียและยูเครน และเรียกร้องสหภาพยุโรปควรจัดระเบียบใหม่ ขณะชอลซ์ประกาศชัดไม่ส่งอาวุธร้ายแรงให้ยูเครนและไม่คว่ำบาตรท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม 2 

วันที่ 26 ม.ค.2565 สำนักข่าวสปุ๊ตนิกและราดิโอ ฟรานซ์ฯ(Radio France Internationale) รายงานว่าประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) แห่งฝรั่งเศสเสนอความคิดริเริ่มการเจรจารูปแบบนอร์มังดี (Normandy) ท่ามกลางการกระตุ้นปลุกเร้าของสหรัฐและนาโตว่ารัสเซียจะบุกยูเครน  ปธน.มา   ครงเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจัดทำข้อเสนอสำหรับข้อตกลงด้านความปลอดภัยฉบับใหม่กับรัสเซียและจัด “การเจรจาอย่างตรงไปตรงมา” กับมอสโกว์ หลังจากการจัดเจรจาโดยสหรัฐและนาโต ล้มเหลว 

ที่ปรึกษาทางการเมืองจากรัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และยูเครนคาดว่าจะจัดการเจรจาด้านความมั่นคงในกรุงปารีสได้อย่างเร็วที่สุดวันพุธที่จะถึงนี้

คาร์ล เวเรกเคน(Karel Vereycken) นักวิเคราะห์การเมืองและรองประธานของพรรคโซลิดาริแตร์แอนด์โปรเกรส Solidarite & Progres ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดย จ๊าคส์ เชมิเนด(Jacques Cheminade) กล่าวว่า

“ข้อเสนอของมาครงในการเริ่มต้นการเจรจาเรื่องความมั่นคงกับรัสเซีย จัดว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับทุกฝ่าย  ทำให้NATO มองว่าเป็น ‘การแหกกลุ่มเพราะสหรัฐฯประกาศว่ายุโรปและนาโตมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน’ ภายใต้ข้ออ้างหยุดรัสเซียรุกรานยูเครน” 

เวเรกเคน กล่าวว่า มาครงกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งใหม่และจะเข้ารับตำแหน่งประธานหมุนเวียนของสหภาพยุโรปในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ ต้องการแสดงให้เห็นว่า เขาและสหภาพยุโรปยังคงมีบทบาทและเป็นตัวของตัวเองในแผนที่ภูมิรัฐศาสตร์โลก

เขากล่าวเสริมว่า มีพรรคฝ่ายค้านจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา ต้องการให้ฝรั่งเศสพูดคุยกับทุกฝ่ายและเป็นตัวเร่งให้เกิดความร่วมมืออย่างสันติ การเข้าสู่สงครามเป็นเรื่องไม่ฉลาด และการตัดสินใจของฝรั่งเศสในการกลับไปร่วมกับนาโต้นั้นเป็นข้อผิดพลาดอย่างยิ่ง ผู้สมัครหลายคนขอร้องให้ออกจากนาโตด้วย”

มาครงเปิดเผยท่าทีการเป็นอิสระของสหภาพยุโรปจากวอชิงตันตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในการประชุมความมั่นคงมิวนิค มาครงเน้นว่ายุโรปมี “วาระที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร และส่งเสริมแนวคิดเรื่องการจัดตั้งกองทัพสหภาพยุโรปแยกออกจากนาโต

โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของเยอรมนี จะไม่เดินตามรอยสหรัฐฯ และนาโต ยืนยันปฏิเสธที่จะส่งอาวุธร้ายแรงให้ยูเครน และต้องการเสนอโรงพยาบาลและยาให้การสนับสนุนยูเครนแทน

ขณะผู้บัญชาการกองทัพเรือเยอรมัน พลเรือโท เคย์ อคิม โชนแบค( Kay-Achim Schoenbach) กล่าวว่า “การบุกรุกยูเครนของรัสเซียเป็นเรื่องไร้สาระ”แต่ถูกบังคับให้ลาออกเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงว่ามีกระแสเห็นด้วยกับอเมริกาในเยอรมนีอีกเช่นกัน

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 สถานเอกอัครราชทูตเยอรมันได้เตือนสมาชิกรัฐสภาอเมริกันว่าการบอยคอตห้าม Nord Stream 2 จะ “ทำลายความสามัคคีข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก”และ “ทำให้ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯตกต่ำลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน” 

ฟรีดริช แมร์ซ ผู้นำคนใหม่ของพรรคคริสเตียน เดโมแครติกยูเนียน (Christian Democratic Union)พรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายค้านของแองเจลา แมร์เคิล เตือนไม่ให้คว่ำบาตรธนาคารรัสเซียออกจากเครือข่ายธุรกรรมการชำระเงินของ Swift ซึ่งจัดการการโอนเงินทั่วโลก เพราะจะ “ทำลาย” ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของเยอรมนีและอีกหลายประเทศในยุโรปที่เกี่ยวข้อง

เรียกว่าทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนของเยอรมนีไม่เต็มใจเดินตามวาระวอชิงตัน เพราะรบกับรัสเซียเยอรมันมีแต่เสียประโยชน์แต่กำลังถูกบีบให้เล่นตามบท 

ต้องติดตามต่อไปว่าฝรั่งเศสและเยอรมันจะมีพลังในการแยกตัวเป็นอิสระจากอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาได้หรือไม่ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐ-รัสเซียในยูเครน ว่าจะปะทุและลุกลามเป็นสงครามโลกครั้งใหม่เมื่อใด นับวันยิ่งส่อเค้าชัดเจนว่า ใครกันแน่ที่ต้องการ “สงคราม”