“ปราชญ์ สามสี” ชำแหละเละ เอกสารราชการลับ CIA คดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ 8

2606

เรียกได้ว่ากำลังเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างมากนั่นก็คือ เอกสารราชการลับของสำนักข่าวกรองกลาง สหรัฐฯอเมริกา ซึ่งทางด้านของ “ปราชญ์ สามสี” ได้นำมาสรุปไว้ได้อย่างน่าสนใจ โดยมีรายละเอียดว่า

ขอบคุณสำหรับแหล่งข่าว ที่สนับสนุนเอกสารราชการลับของ สหรัฐฯอเมริกามาให้ข้าพเจ้ามาอ่านนะครับ

ข้อมูลนี้ถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ผ่านแว่นขยายของหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐว่าพวกเขาเห็นอะไรในเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 (ค.ศ.1932)

อนึ่ง ในเอกสารการข่าวลับ ของCIA ตีหัว confidential ฉบับ RDP82-00457R002500030001-4 ซึ่งถูกเขียนขึ้นในะช่วงปี 2492(ค.ศ.1949) ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองไปแล้วนั้นเอง

ฝ่ายสหรัฐฯซึ่งเวลานั้นเป็นฝ่ายผู้สนับสนุนรัชกาลที่๘และขบวนการเสรีไทย ซึ่งเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่สองนั้นเอง พวกเขากำลังพูดถึงต้นกำเนิด ของขบวนการคณะราษฎรว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร?

จากเอกสารลับ ตีหัว confidential ฉบับ RDP82-00457R002500030001-4 ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า ความจริงแล้วนายปรีดี นั้นเป็น คอมมิวนิสต์มาตั้งแต่ในวัยเยาว์แล้ว
เพราะมีข่าวสารลับระบุเอาไว้ว่า

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร (ซึ่งเป็นพี่ชาย ของพระองค์เจ้าบวรเดช) ได้รายงานต่อ รัชกาลที่หก ถึงพฤติกรรมของนายปรีดี ซึ่งใช้ทุนหลวงพระราชทานเรียนกฏหมายอยู่ที่ฝรั่งเศสขณะนั้นแอบเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส จึงทำเรื่องร้องขอให้เรียกนายปรีดีกลับมายังสยามเป็นการด่วน

เรื่องนี้กระทบไปถึง ผู้มีอำนาจในเวลานั้นคือ พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) ผู้ซึ่งเป็นพ่อของ คุณหญิง พูนสุข พนมยงค์ (ภริยาของนายปรีดี) ได้เข้าไปแทรกแซง การเรียกนายปรีดี พนมยงค์กลับมาสยามนั้นเอง

จากเหตุการณ์นี้ ฝ่ายราชการลับสหรัฐฯในปี ปี 2492(ค.ศ.1949) มองการกระทำของปรีดีในเหตุการณ์ก่อนปี 2475 (ค.ศ.1932) และ การที่พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร ตั้งใจปลด ปรีดีออกจากทุนหลวง กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ ความขัดแย้งและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2475 (ค.ศ.1932)

เรื่องในเอกสารลับ CIAฉบับนี้สอดคล้องกับคำพูดที่เขียนในหนังสือ ชีวิตห้าแผ่นดินของข้าพเจ้า ที่เขียนโดย นาย ประยูร ภมรมนตรี อดีตผู้ก่อตั้งคณะราษฎรนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม เอกสารลับฉบับนี้ได้มีความเห็นของเจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวลับ ได้ออกความคิดเห็นว่า
– เอกสารการข่าวลับฉบับนี้น่าสนใจ เกี่ยวโยงกับการข่มขู่ของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม(ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) ซึ่งกล่าวหาว่า นายปรีดีเป็น”คอมมิวนิสต์” จึงต้องกลับไปดูรายงานความคิดเห็นของปรีดีต่อสหภาพโซเวียตที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อ ในปี2489 (ค.ศ. 1946)

เมื่อมาค้นหาเอกสารอีกฉบับที่ถูกพูดถึงใน เอกสารลับ ฉบับ RDP82-00457R002500030001-4 ก็พบว่า เป็นเอกสารการข่าวที่คัดลอกมาจากสื่อชื่อ สยามเดลี่ย์ ปี2489 (ค.ศ. 1946)

ซึ่งเอกสารดั่งกล่าว เป็นเอกสาร ประเภท UNEVALUATED INFOMATION ซึ่งหมายถึงข่าวนี้ยังไม่ได้ยืนยันความน่าเชื่อถือนั้นเอง ( เพราะปรกติ เอกสารข่าวลับ จะมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข่าวตามหลักการข่าวโดย นักการข่าวกรองนั้นเอง)

โดยสำนักข่าวสยามเดลี่ย์ในปี2489 (ค.ศ. 1946) ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพียงหนึ่งปี ได้รายงานความคิดเห็นของปรีดี (ผู้สำเร็จราชการแทน พระองต์อนันต์ฯ)ต่อสหภาพโซเวียต โดยระบุเอาไว้ว่า

การสืบสวนของรัฐบาลรัสเซีย ที่กังวลเรื่องการแลกแปลี่ยนเจ้าที่การทูต กับสยาม ปรีดีระบุว่า นี่เป็นผลลัพธ์ และเป็นการยื่นหนังสือประท้วงทางการทูตใหม่อีกครั้ง ของรัฐบาลจอมพล ป. ต่อสหภาพโซเวียต ก่อนเกิดสงคราม เขา (ปรีดี) อธิบายว่า:

“การเมืองและการทูตเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับความเชื่อทางการเมืองของประเทศอื่นหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางการฑูตของเรา
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าสยามจะไม่มีวันเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ได้เพราะเป็นธรรมเนียมของเรา ประเพณีและประวัติศาสตร์แตกต่างอย่างมากจากรัสเซีย

ก่อนการปฏิวัติโซเวียต ชาวนาและชนชั้นที่ยากจนในยุโรปเป็นเครื่องมือของเจ้าของที่ดินและนายทุน ความลำบากที่คนจนเหล่านี้ต้องทนทุกข์ได้ก่อให้เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์
ข้าพเจ้าศึกษามาเพียงพอแล้ว เศรษฐศาสตร์อยู่ในฐานะที่จะบอกว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้นในประเทศนี้และเราไม่มีอะไรต้องกลัวเรื่องนี้

ข้าพเจ้าขอชี้แจงเรื่องนี้ให้กระจ่างชัด เพราะข้าพเจ้าเคยถูกตราหน้าว่าเป็นคอมมิวนิสต์”
ความเห็นฝ่ายการข่าวภาคสนามของสหรัฐให้ความเห็นเอาไว้ว่า. ในแง่ของการพัฒนาในสยามและการพัฒนาระหว่างประเทศตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่สอง และเนื่องจากความขัดสนของงานเขียนและสุนทรพจน์ที่แท้จริงโดยนายปรีดี พนมยงค์ในหัวข้อของโซเวียตรัสเซียและ ความมิวนิสต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ รู้สึกว่ารายงานของ บทสัมภาษณ์ของปรีดีในเดือนพฤษภาคม 2489 อาจเป็นที่สนใจ

เมื่ออ่าน เอกสารข่าว การให้สัมภาษณ์ของนายปรีดีที่ลง สยามเดลี่ย์ในปี2489 (ค.ศ. 1946) ก็จะเห็นได้ว่า นายปรีดี (ซึ่งเป็นอดีตผู้สำเร็จราชการแทนรัชกาลที่8 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง) เลือกที่จะ เข้าข้างฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งก็คือสหรัฐอเมริกา และแก้ข่าวว่าตนเองไม่ใช่คอมมิวนิสต์มาตั้งแต่แรกเหมือนที่ แปลก พิบูลสงคราม (ฝ่ายอักษะ) ทำหนังสือทางการทูตฯแฉเอาไว้

ดังนั้น เรื่องในเอกสารลับ CIA ฉบับ RDP82-00457R002500030001-4 ที่พูดถึงปฐมบทของนายปรีดีในช่วงฝรั่งเศส นั้นเป็นเครื่องยืนยันถึงความจริงอันเกี่ยวกับความคิดของนายปรีดีที่ฝักใฝ่พรรค คอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส ซึ่ง สมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎร เช่น แปลก พิบูลสงคราม และ นาย ประยูร ภมรมนตรีก็ล่วงรู้มาโดยตลอดนั้นเอง

สิ่งที่น่าสนใจคือ เอกสารข่าว การให้สัมภาษณ์ของนายปรีดี จากสยามเดลี่ย์ นั้น เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่8 ในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น
ทำไมปรีดีต้องโกหก รากเง้าของคณะราษฎรในเวลานั้น หรือว่าเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ ร.8?

มาต่อ เรื่อง เอกสารCIAเพิ่มเติม กันหน่อยดีกว่า
เมื่อปี ค.ศ. 1999 มีเอกสารลับฉบับหนึ่งซึ่งถูก “ Declassified “ (ยกเลิกความลับ) และถูกเปิดเผยโดย CIA ซึ่งเป็นข่าวลับเกี่ยวเนื่องจาก คดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่๘
โดยเอกสารลับ รหัส CIA-RDP82-00457R002100560009-2 ซึ่งถูกเขียนไว้เมื่อวันที่ 8ธันวาคม 2491 (ค.ศ.1948) ระบุถึงการตัดสินใจของ นาย ปรีดี และ ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ เกี่ยวกับการสู้คดีสำคัญซึ่งตอนนั้นนายปรีดีถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่8 แล้ว นายปรีดี ได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว (ซึ่งก็คือ ประเทศจีน นั้นเอง)

รายละเอียดภายในเอกสารลับ รหัส CIA-RDP82-00457R002100560009-2 ระบุเอาไว้ดังนี้
1. ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ ถูกเรียกเงินค่าสู้คดีจากทนายความในฐานะฝ่ายจำเลย ในคดีลอบปลงพระชนม์ ร.๘ เป็นเงิน 200,000 บาท

2. ท่านผู้หญิง พูนศุข ไม่มีเงินมากพอ แต่คุณผู้หญิงมีทรัพย์สิน ก่อนที่จะเปลี่ยนทรัพย์สินเป็นเงินสด คุณผู้หญิงพยายามตามหาสามีของเธอ เพื่อให้ตัดสินใจว่าจะส่งเงินมาให้ หรือ จะอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินแล้วยอมรับผลที่เกิดขึ้นกับข่าวที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งนี้คุณผู้หญิงเชื่อว่านายปรีดีอยู่ในประเทศจีน
3. ท่านผู้หญิง พูนศุข ไม่ได้กังวลเรื่องความปลอดภัยของสามี เธอได้รับข้อมูลว่า สามีของเธอได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนในประเทศจีน ข้อมูลนี้เธอได้รับมาจากเพื่อนคนหนึ่งที่กลับมาจากจีน

สิ่งที่น่าสนใจ และควรพิจารณา
คือเรื่อง การสู้คดี ลอบปลงพระชนม์ร.8 ของปรีดีนั้นเอง จะเห็นได้ว่า เอกสารยืนยันชัดเจนว่า ปรีดีได้หลบหนีไปยังประเทศจีนเรียบร้อยแล้วโดยมีแหล่งข่าวคือ คุณหญิงพูนศุขเอง สิ่งที่น่าสนใจคือ การเรียกเก็บเงิน มูลค่า สองแสนบาท ซึ่งในสมัยนั้นถือว่ามีมูลค่าสูงมากกก เกินกว่าที่คนธรรมดาจะจ่ายไหว นั้นก็เพราะการที่นายปรีดี หลบหนีออกไปนอกประเทศ ปล่อยให้ ฝ่ายท่านผู้หญิงพูนศุข ต้องเผชิญกับภาระหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะต้องนำเงินไปใช้จ่ายในค่าคดีความโดยไม่ยอมแม้แต่กลับมาสู้คดี

จะเห็นได้ว่า ท่านผู้หญิงพูนศุข รอคอยการกลับมาของปรีดีให้มารับผิดชอบและตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องแบ่งไปจ่ายค่าสู้คดี แต่ นายปรีดีก็ไม่ได้กลับมารับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายในการสู้คดี อันเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ ร.8 ซึ่งหากดูในเอกสารซีไอเอ ฉบับนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า ตัวเลือกที่ นายปรีดีกระทำคือการหลบหนีคดีและยอมรับไปตามไปตามข่าวที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นในสาธารณะ (ว่านายปรีดีอยู่เบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์) โดยปล่อยให้ ภริยาเผชิญกับการสูญเสียทรัพย์สินจากคดีความที่เกิดขึ้น
มันคือการยอมรับโดยบริยาย

สิ่งที่น่าสนใจ อีกเรื่องคือ การที่นายปรีดี ตัดสินใจหลบหนีไปประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ แบบ”เหมาอิส” แต่ไม่ใช่รัสเซีย นั้นก็สอดคล้องกับที่ ปรีดีพยายามไม่แสดงตัวเองว่าเป็นคนของพรรคคอมมิวนิสต์แบบ “โซเวียต” ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ การเมืองของประเทศฝรั่งเศส และรัสเซียนั้นมีความขัดแย้งกันมานาน แม้ว่าฝรั่งเศสจะมีพรรคคอมมิวนิสต์ เหมือนกันแต่ก็ไม่ได้ เป็นเหมือนเนื้อเดียวกันกับรัสเซีย จึงเชื่อได้ว่า ทางปรีดีเองก็น่าจะมีความเป็นไปได้ที่ยังรักษาน้ำใจกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสอยู่

ดังนั้นการลี้ภัยไปที่จีน แล้วเดินทางต่อไปยังฝรั่งเศส ในช่วงบั่นปลายของชีวิตนั้นเป็นเครื่องยืนยันตัวตนและแนวคิดหลักการทางการเมือง ว่าเป็นคอมมิวนิสต์แบบพรรคฝรั่งเศส อีกทั้งปรีดี แม้ว่าจะเป็นอดีตผู้สำเร็จราชการแทนรัชกาลที่8 ซึ่งอยู่ฝ่ายพันธมิตร ในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่นายปรีดีก็เป็นพันธมิตรคนสำคัญที่ทำให้จีนนำลัทธิคอมมิวนิสต์เผยแพร่ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศจนสำเร็จนั้นเอง

ก็ไม่น่าแปลกใจเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นายปรีดี ถูก แปลก พิบูลสงคราม แฉว่าเป็นคอมมิวนิสต์ นายปรีดีถึงพยายาม ปฎิเสธถึงเรื่องต้นกำเนิดของคณะราษฎร และแนวคิดทางการเมืองมาตลอดว่าว่าปรีดีเขาไม่ใช่ คอมมิวนิสต์ นั้นเอง

เมื่อทันทีที่ รัชกาลที8 สิ้นพระชนม์ ในปี 2489 ปรีดีก็ไม่มีความจำเป็นต้องปิดบังตัวตนของตนเองอีกต่อไป …​การหลบหนีไปที่จีน และ ฝรั่งเศสจึงเหมือน เป็นเครื่องบอกกลายๆว่าเขาคือ คอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส เหมือนดั่งที่ แปลก พิบูลสงครามและ ประยูร ภมรมนตรี กล่าวไว้ในหนังสือ ชีวิตห้าแผ่นดินของข้าพเจ้า นั้นเอง