“ก้าวไกล” ท้ายุบพรรค! “เจี๊ยบ” ให้ร้ายศาลทำงานใต้พระปรมาภิไธย ใช้อำนาจกดทับปชช.?

1930

“ก้าวไกล” ท้ายุบพรรค! “เจี๊ยบ” ให้ร้ายศาลทำงานใต้พระปรมาภิไธย ใช้อำนาจกดทับปชช.?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (10 พฤศจิกายน 2564) ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ณฐพร โตประยูร ในฐานะผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ว่า การกระทำของ อานนท์ นำภา ภาณุพงศ์ จาดนอก ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล พริษฐ์ ชิวรักษ์ จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ สิริพัชระ จึงธีรพานิช สมยศ พฤกษาเกษมสุข และ อาทิตยา พรพรม รวม 8 คน ในการชุมนุมปราศรัย (ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในหัวข้อ”ธรรมศาสตร์จะไม่ทน”) เพื่อเสนอข้อเรียกร้องเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเฉพาะการกระทำในการชุมนุมปราศรัยของอานนท์ ภาณุพงศ์ และ ปนัสยา เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ไว้พิจารณาวินิจฉัย

ภายหลังจากการวินิฉัยปรากฎว่า ผู้ถูกร้องที่ 1,2,3 แสดงให้เห็นมูลเหตุจูงใจ ที่มีเจตนาซ่อนเร้น เพื่อล้มล้างการปกครอง มิใช่เป็นการปฏิรูป และยังมีการเคลื่อนไหวที่ละเมิดต่อกฎหมาย แต่หากผู้ถูกร้องที่1,2,3 ยังคงกระทำการดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจึงสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่1,2,3 รวมทั้ง กลุ่มองค์กรต่างๆ เลิกกระทำการดังกล่าวต่อไป

โดยช่วงหนึ่งตุลาการศาลรัฐธรรม วินิจฉัยว่า 10 ข้อเรียกร้องของผู้ถูกร้องที่1,2,3 โดยให้ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญที่ว่าผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ ให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าวมีเจตนาที่จะทำลายล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซัดกร่อนสถาบันฯ เป็นวิถีที่ไม่ถูกต้อง ใช้คำหยาบคาย ซึ่งมีเจตนาเดียวกันทั้งขบวนการ มีการกระทำซ้ำต่อเนื่อง ใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จทำเป็นขบวนการ

ต่อมาทางด้าน นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ถึงผลการวินิจฉัย โดยระบุว่า “ดิฉันอยากให้กระบวนการยุติธรรมไทยมีความใกล้ชิดและทำงานเพื่อประชาชน ไม่ใช่ทำงานภายใต้พระปรมาภิไธยเเล้วใช้อำนาจกดทับเสรีภาพของประชาชน”

ในขณะที่ทางด้าน ทวิตเตอร์ พรรคก้าวไกล นนทบุรี – Move Forward Party Non ได้โพสต์ข้อความว่า แน่จริงมายุบสิ ถามว่ากลัวไหมก่อน! #ก้าวไกล #พรรคก้าวไกล #ยกเลิก112 #ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง #นนทบุรี

ทั้งนี้ ก่อนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะเริ่มอ่านคำวินิจฉัยในคดีที่นายณฐพร โตประยูร ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการปราศรัย ของนายอานนท์ นำภา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่ นั้น

ศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งรายชื่อบุคคลที่เข้ามารับฟังคำวินิจฉัย โดยนายณฐพร โตประยูร ในฐานะผู้ร้องได้เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยด้วยตนเอง ส่วนนายอานนท์ นำภา ผู้ถูกร้องที่ 1 มอบหมายให้นายกฤษฎางค์ นุตจรัส เป็นผู้แทนมาศาล นายภานุพงศ์ จาดนอก ผู้ถูกร้องที่ 2 มอบหมายให้นายนรเศรษฐ์ นอหนองตุม เป็นผู้แทนมาศาล ส่วนน.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ผู้ถูกร้องที่ 3 เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยเอง

ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัย นายกฤษฎางค์ ได้กล่าวต่อศาลว่า ตนได้รับมอบจากนายอานนท์ ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ โดยระบุว่า ถ้าศาลมีคำวินิจฉัยไม่รับคำร้องขอให้ดำเนินการไต่สวน นายอานนท์ บอกว่าไม่ต้องอยู่ในห้องพิจารณาให้ออกไปเลย เพราะไม่ประสงค์จะให้มีตัวแทนมารับฟังคำวินิจฉัย

ส่วนเรื่องการไต่สวนตนและนายอานนท์เข้าใจว่าเป็นอำนาจของศาลที่จะงดการไต่สวนเพราะศาลยุติธรรมหรือศาลอื่น หากหลักกฎหมายเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาคดี เพียงแต่เราอาจจะมองต่างมุม เนื่องจากเรื่องนี้เป็นข้อกล่าวหาที่ยิ่งใหญ่ซึ่งเราควรมีโอกาสแสวงหาข้อเท็จจริงเสนอต่อศาลด้วย โดยวันนี้ตนได้นำพยาน คือ นายส.ศิวลักษณ์ มาด้วย จึงขอให้ศาลช่วยบันทึกไว้ด้วย และขอเรียนด้วยความเคารพในฐานะเป็นผู้รับมอบอำนาจจึงต้องปฎิบัติตามคำสั่งของนายอานนท์

จากนั้นนายนรเศรษฐ์ ทนายของนายภานุพงศ์ ก็ได้แจ้งต่อศาลในลักษณะเดียวกันว่าไม่ประสงค์จะอยู่รับฟังคำวินิจฉัย จึงขอออกจากห้องพิจารณาไปขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้แจงว่า ศาลพิจารณาคดีโดยใช้ระบบไต่สวน แสวงหาข้อเท็จจริงได้จากหลายฝ่าย เมื่อได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนที่สามารถจะวินิจฉัยได้จึงสั่งงดการไต่สวน ซึ่งเป็นคำสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติ ส่วนการไม่ประสงค์ฟังคำวินิจฉัยก็เป็นสิทธิ

นางสาวปนัสสยา กล่าวกับศาลว่า วันนี้เรามาฟังคำวินิจฉัยโดยทนายของพวกเราเคยมีการยื่นขอศาลให้ดำเนินการไต่สวน หนูไม่ใช่นักเรียกกฎหมายก็อาจจะรู้น้อย แต่ก็เข้าใจว่าการได้มาซึ่งความยุติธรรม อย่างน้อยควรจะต้องรับฟังทุกอย่างเท่าที่จะรับฟังได้ ซึ่งวันนี้ อาจารย์ ส. ศิวลักษณ์ ได้มารออยู่ พร้อมที่เข้าไต่สวนหากศาลอนุญาต แต่ถ้าศาลไม่อนุญาตและให้รับฟังคำวินิจฉัย โดยที่หนูไม่มีโอกาสแสวงหาความจริงเพิ่มเติมให้รัฐธรรมนูญก็คงต้องขอออกจากห้องพิจารณาเช่นกัน

ศาลได้ชี้แจงว่า เป็นข้ออ้างของฝ่ายผู้ถูกร้องว่าไม่ไต่สวน แต่ความจริงกระบวนการพิจารณาของศาลไต่สวน เราแสวงหาข้อเท็จจริงทุกอย่าง เอกสารที่ได้มาได้ส่งให้ผู้ถูกร้องเรียกร้อยหมดแล้ว ผู้ถูกร้องมีหน้าที่โต้แย้งเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งศาลได้รับหมดแล้ว ถือว่าได้ให้ความเป็นธรรม และยุติธรรมกับผู้ถูกร้องทั้งหมดแล้ว ไม่ใช่การพิจารณาในระบบกล่าวหา แต่เป็นระบบไต่สวนซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวน แต่ในการไต่สวนศาลได้ให้ผู้ถูกร้องทราบ พยานหลักฐานทุกอย่างและให้โอกาสโต้แย้ง ดังนั้นกระบวนการพิจารณาถูกต้อง “สิ่งที่คุณอ้าง ก็เป็นข้ออ้างของคุณ” ยืนยันว่าเรื่องนี้ศาลใช้เวลาพิจารณาเป็นปี เรารอบคอบในการหาพยานหลักฐาน ไม่ใช่รับคำร้องมาแล้วตัดสิน ใช้เวลาปีเศษด้วยซ้ำไป