เปิดลึกข้อมูลเฟซบุ๊กรั่ว!?! ใช้อำนาจโซเชียลทำลายฝ่ายตรงข้าม

1276

เอกสารเฟซบุ๊กรั่ว เผยแบล็คลิสต์องค์กรอันตราย บุคคลทั่วไปมีรายชื่อกลุ่มต่างๆ กว่า 4,000 กลุ่ม บุคคลที่จัดประเภทเป็น “การก่อการร้าย” “ความเกลียดชัง” “อาชญากรรม” “การเคลื่อนไหวทางสังคมแบบทหาร” หรือ “นักแสดงที่มีความรุนแรง” มาตรฐานดีชั่วเหล่านี้เฟซบุ๊กใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสิน สะท้อนอำนาจล้นฟ้าในโลกโซเชียลที่มีประชากรนับล้านล้านคน แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าช่วงนี้เฟซบุ๊กถูกเปิดโปงด้านมืดอย่างถี่ๆและรัวๆ เพราะอะไร มีทั้งบุคคล องค์กร สื่อมวลชนรุมถล่มไม่ยั้ง

วันที่ 14 ต.ค.2564 สำนักข่าวฟอกซ์ สหรัฐฯ ได้รายงานว่า เอกสารของเฟซบุ๊กระบุบัญชีดำหรือ blacklistsของบุคคลและองค์กรที่เป็นอันตรายต่อสาธารณะ เผยแพร่โดยวารสารเดอะ อินเตอร์เซ็บ (The Intercept)เมื่อวันอังคารที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวน 100 หน้าจากกลุ่มและบุคคลมากกว่า 4,000 กลุ่มที่โซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่จัดประเภทหมวดหมู่เช่น  “ความหวาดกลัว” “ความเกลียดชัง” “อาชญากรรม” “การเคลื่อนไหวทางสังคมทางทหาร” หรือ “ความรุนแรงที่ไม่ได้เกิดจากรัฐ”

นอกจากนี้ Intercept ได้เผยแพร่ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การยกย่อง การสนับสนุน และการเป็นตัวแทนของ Facebook ที่ใช้เป็นเกณฑ์ให้ผู้ดูแลเนื้อหาของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียนี้ สามารถกำหนดได้ว่าจะลบโพสต์ใดและควรลงโทษใคร

เนื้อหารายงานระบุว่าเฟซบุ๊กแบ่งองค์กรและบุคคลที่เป็นอันตรายออกเป็นสามระดับคือ

ระดับที่ 1  หน่วยงานที่ก่อความเสียหายร้ายแรงทางออฟไลน์ รวมถึงการจัดตั้งหรือสนับสนุนการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือน การลดทอนความเป็นมนุษย์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือสนับสนุนให้เกิดอันตรายต่อผู้คนตามลักษณะที่ได้รับการคุ้มครอง หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางอาญาอย่างเป็นระบบ 

ภายใต้ระดับนี้ เนื้อหาที่ยกย่อง สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมหรือแสดงถึงอุดมการณ์ที่ส่งเสริมความเกลียดชัง เช่น ลัทธินาซีและอำนาจสูงสุดของคนผิวขาว จะถูกลบออกทันที

ระดับที่ 2 หน่วยงานที่ใช้ความรุนแรงต่อผู้มีบทบาทของรัฐหรือทหาร แต่โดยทั่วไปไม่ได้กำหนดเป้าหมายไปที่พลเรือน ภายใต้ระดับนี้ Facebook จะลบการสนับสนุนที่สำคัญทั้งหมด คือลบการเป็นตัวแทนที่ระบุยูอาร์แอลของผู้ใช้ , ผู้นำของพวกเขาและสมาชิกที่โดดเด่นของพวกเขาและการยกย่องกิจกรรมความรุนแรงของกลุ่มทุกรูปแบบ

ระดับที่ 3  หน่วยงานที่อาจมีส่วนร่วมในการละเมิดนโยบาย คำพูดแสดงความเกลียดชังหรือองค์กรที่เป็นอันตรายของ Facebook ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในหรือนอกแพลตฟอร์ม หรือแสดงเจตนาอย่างแรงกล้าที่จะมีส่วนร่วมในความรุนแรงนอกสังคมโซเชียลลในอนาคตอันใกล้ แต่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในความรุนแรงในปัจจุบันหรือสนับสนุนความรุนแรง กับผู้อื่นตามลักษณะที่ได้รับการคุ้มครอง 

ภายใต้ระดับนี้ ผู้ใช้อาจแบ่งปันเนื้อหาที่มีการอ้างอิงถึงองค์กรและบุคคลอันตรายที่กำหนดเพื่อรายงาน ประณาม หรือพูดคุยอย่างเป็นกลางเกี่ยวกับพวกเขาหรือกิจกรรมของพวกเขา แต่ต้องระบุอย่างชัดเจนถึงเจตนาของพวกเขา

ดูเหมือนจะเป็นกฎเกณฑ์ที่ดูดีแต่ความจริงก็คือ องค์กรที่ดีหรือชั่วอยู่ภายใต้การตัดสินของเฟซบุ๊กเท่านั้น ดูจากประเทศไทย กลุ่มสร้างความแตกแยกเกลียดชังสถาบันหลักของไทย มีเสรีที่จะเผยแพร่ข่าวปั่น ข่าวปลอมทั้งๆที่ใช้ภาษาหยาบคายร้ายกาจสนับสนุนความรุนแรง แต่กลุ่มคนที่ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์กลับถูกบล็อกแม้จะใช้คำสุภาพและข้อเท็จจริงมาเผยแพร่ก็ตาม

ไบรอัน ฟิชแมน (Brian Fishman) ผู้อำนวยการนโยบายของเฟซบุ๊ก ด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและองค์กรอันตราย ยืนยันว่ารายการเวอร์ชันหนึ่งรั่วไหลออกมา แต่เน้นย้ำว่าข้อมูลเหล่านั้น “ไม่ครอบคลุม” ทั้งหมด เขาเสริมว่าการกำหนดและระบุองค์กรที่เป็นอันตรายนั้น “ยากมาก” 

นอกจากนี้ เขายังอธิบายด้วยว่าองค์กรก่อการร้าย เช่น รัฐอิสลาม และอัลกออิดะห์ มีหน่วยงานหลายร้อยหน่วยงาน ซึ่งหลายแห่งมีรายชื่อแยกกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการบังคับใช้กฎหมาย  

ฟิชแมนโต้อินเตอร์เซ็ปว่าว่ารายการ ที่มีอคติต่อประชาชนชายขอบและกลุ่มที่เปราะบางนั้น เป็นการเข้าใจผิดไม่ถูกต้อง และอ้างว่าเฟซบุ๊กมีทีมผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 350 คน ที่มุ่งเน้นการกำจัดองค์กรอันตรายออกจากแพลตฟอร์มของตนและมองหาภัยคุกคามที่กำลังจะเกิดขึ้น 

เขากล่าวว่า “เฟซบุ๊กห้ามองค์กรหลายพันแห่ง รวมถึงกลุ่มไวท์ ซูปเปอร์มาซิสต์ ขวาจัดกว่า 250 กลุ่ม ภายใต้กฎเหล่านี้ เรายังอัปเดตรายชื่อนี้เมื่อมีองค์กรใหม่เกิดขึ้น” “นี่เป็นพื้นที่ของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้นเราจึงพยายามที่จะทำอย่างโปร่งใสที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ในขณะเดียวกันก็จัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัย จำกัดความเสี่ยงทางกฎหมาย และป้องกันโอกาสให้กลุ่มที่ปฏิบัติตามกฎของเรา”

ฟิชแมนไม่ยอมรับการรั่วไหลเอกสารไปยังวารสารอินเตอร์เซ็ป (Intercept) แต่แย้มว่าเฟซบุ๊กจะใช้มันเป็นโอกาสที่จะพัฒนาทุกอย่างให้ดีขึ้น

นอกจากวารสารอินเตอร์เซ็ปแล้ว หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลยังเปิดเผยเอกสารจำนวนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกขนานนามว่าไฟล์เฟซบุ๊ก ซึ่งได้รับจากฟรานเซส เฮาเกน อดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์เฟซบุ๊ก ที่กลายมาเป็นผู้แจ้งเบาะแส เปิดโปงอดีตองค์กรนายจ้างของตนเอง

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เฮาเกน ให้กาลต่อวุฒิสภาสหรัฐ กล่าวว่าผู้บริหารของ เฟซบุ๊ก ได้เลือกที่จะจัดลำดับความสำคัญของผลกำไรมากกว่าความปลอดภัยของผู้ใช้ และเอกสารที่รั่วไหลแสดงให้เห็นว่า เฟซบุ๊ก “เฟซบุ๊กเน้นหากำไร และมีบทบาทในการเผยแพร่ข้อความที่สร้างความแตกแยกและรุนแรง ทำลายประชาธิปไตย ไม่สนใจผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้งาน” 

ผู้บริหารของเฟซบุ๊กรวมถึงซีอีโอ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก(Mark Zuckerberg) ได้กล่าวหาว่า เฮาเกนบิดเบือนความพยายามของพวกเขาในการปกป้องความปลอดภัยสาธารณะ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ สาธารณชนทั้งโลกต่างสนใจและจับตามองว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงเปิดเผยอย่างชัดเจนว่า เฟซบุ๊กมีอำนาจล้นฟ้าในโลกโซเชียล สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ว่า ใครคือศ้ตรู ที่ต้องกำจัด ใครคือบุคคล องค์กรที่ต้องสนับสนุน การกระทำร้ายแรงของเฟซบุ๊กต่อสาธารณชน เข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของทุกประเทศในโลกนี้ ยกเว้นเจ้านายหรือผู้สนับสนุนตัวจริงของเฟซบุ๊ก ใครที่คุมเฟซบุ๊กสามารถใช้เป็นเครื่องมือทำสงครามข่าวสารทำลายผู้เห็นต่างหรือฝ่ายตรงข้ามได้  เฟซบุ๊กคืออาวุธของสงครามพันทาง หรือไฮบริดวอร์ ที่ใช้ทำลายศัตรู และเมื่อเป็นเช่นนั้น คงจะหวังให้เฟซบุ๊กถูกลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่งคงเป็นไปไม่ได้ จับตาต่อไปว่าละครฉากใหญ่นี้จะดำเนินต่อไปอย่างไร?? จบลงแบบไหน?