จีนลงดาบแบรนด์ต่างประเทศหลายราย!?! ปรับอ่วม ฐานบิดเบือนข้อมูลโฆษณา

1420

สื่อของรัฐบาลจีนและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แสดงความไม่พอใจสินค้าต่างประเทศหลายแบรนด์ และออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าให้ข้อมูลที่บิดเบือนต่อผู้บริโภค หลังจากที่ทางการจีนได้สั่งปรับแบรนด์เสื้อผ้า Canada Goose ของแคนาดา เนื่องจากโฆษณาเข้าข่ายหลอกลวง

สันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีนโพสต์ข้อความทางวีแชทว่า “มีแต่คำโกหกทั้งนั้น ไม่มีความจริงเลย” หลังจากที่ทางการจีนสั่งปรับแบรนด์เสื้อผ้าของแคนาดา

ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ไชน่า อีโคโนมิก เดลีของรัฐบาลจีนระบุถึงแบรนด์ Canada Goose ในบทบรรณาธิการเมื่อวันพุธที่ 8 ก.ย.2564 โดยเน้นถึงประเด็นที่ว่า คณะทำงานด้านการกำกับดูแลตลาดในเมืองเซี่ยงไฮ้ได้สั่งปรับสาขาของแบรนด์ในจีนเป็นเงิน 450,000 หยวน (70,000 ดอลลาร์) เนื่องจากการโฆษณาอันเป็นเท็จเมื่อเดือนมิ.ย. 2564

โดยคณะทำงานฯ ระบุว่า แทนที่แบรนด์จะใช้ขนห่านในการผลิตเสื้อแจ็คเก็ต กลับใช้ขนเป็ดเป็นส่วนใหญ่ และอ้างว่าขนเป็ด Hutterite เป็นขนเป็ดที่ให้ความอบอุ่นมากที่สุดในบรรดาขนเป็ดแคนาดา ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด

นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ยังได้วิจารณ์ไอศครีมแม็กนั่มของยูนิลิเวอร์ว่า ไอศครีมที่ขายในจีนนั้นใช้วัตถุดิบที่ถูกกว่าในประเทศฝั่งตะวันตก

ด้านสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์จีน ยังวิจารณ์แบรนด์ยาคูลท์ของญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเผยแพร่โฆษณาอันเป็นเท็จ โดยเมื่อเดือนส.ค. คณะทำงานฯ ได้สั่งปรับแบรนด์ยาคูลท์เป็นเงิน 450,000 หยวน จากการอ้างว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์มีส่วนสำคัญในการป้องกันโควิด-19

เบื้องหลังของความตื่นตระหนกคือการยอมรับว่าบริษัทจำหน่ายสินค้า หรูหราหลายแห่งต้องพึ่งพานักช็อปชาวจีนสำหรับส่วนแบ่งในการขายจำนวนมาก และการที่อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาจีนได้รับการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปีต่อๆ ไป

การเติบโตของยอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยในประเทศจีนส่วนใหญ่เกิดขึ้นในหมู่ชนชั้นกลางที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของประเทศ 

ก่อนหน้านี้จีนก็มีนโยบายควบคุมสินค้าแบรนด์หรูมาก่อน ประมาณปี 2555 ถึง 2557 การปราบปรามการทุจริตที่มุ่งเป้าไปที่การแลกเปลี่ยนของขวัญฟุ่มเฟือยทำให้ยอดขายสินค้าอย่างนาฬิกาสวิสราคาแพงลดลงในจีน

ในขณะที่รายได้ของคนจีนโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดความกังวลทั่วประเทศ ปักกิ่งระบุว่าไม่ได้ตั้งใจจะปล่อยให้ช่องว่างฐานะขยายออกไปอย่างไม่มีกำหนด และกล่าวว่ากำลังพิจารณานโยบายต่างๆเพื่ออุดช่องโหว่เหล่านี้ เช่น การจัดเก็บภาษีใหม่เกี่ยวกับทรัพย์สินและมรดก

HSBC อ้างถึงการวัดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ ว่านโยบายดังกล่าวอาจส่งผลกระเพื่อมในการขายสินค้าฟุ่มเฟือยและ เผยว่าความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยไม่ได้มาจากเศรษฐกิจฟองสบู่ ตัวอย่างที่ดีคือการฟื้นตัวของโรคระบาดรูปตัว K ในสหรัฐอเมริกา ที่คนร่ำรวยได้รับประโยชน์จากตลาดหุ้น ตลาดรอง และ ‘การอยู่อาศัย’ และมีช่องทางในการใช้จ่ายและทำเช่นนั้นมากกว่าคนจนอย่างชัดเจน และที่สำคัญความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือย มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับจิตวิทยาของผู้บริโภคที่ร่ำรวยมากกว่าแค่วิธีการบริหารทางการเงินของพวกเขา