ผู้ว่าฯแบงก์ชาติห่วงรวยกระจุกทำเหลื่อมล้ำ สังคมไทยอ่อนแอ?!? ชี้ทางรอดปฏิรูปโครงสร้างศก.เน้นกลุ่มอ่อนแอตจว.

2245

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 เรื่อง“ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นจริง” โดยระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจขณะนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งจำเป็นต้องเร่งปฏิรูป โดยวิกฤตโควิด-19 ทำให้ปัญหาเด่นชัดขึ้น 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจไทยมีผลิตภาพต่ำ ภูมิคุ้มกันต่ำและขาดความสามารถในการรับมือ และผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยกระจุกตัวมีความเหลื่อมล้ำสูง

โดยคนไทยมีความเหลื่อมล้ำตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และติดตัวจนส่งผลไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ผู้ประกอบการรายใหม่หรือเอสเอ็มอี ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อแข่งขันกับรายใหญ่รายเดิมได้ เนื่องจากข้อจำกัดในกฎเกณฑ์ของภาครัฐ ไม่ทำจะอยู่ยากในโลกใหม่หลังโควิดคลาย เพราะนานาชาติทั่วโลกขยับปรับเปลี่ยนแล้ว

เศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันต่ำ-ยังรวยกระจุกจนกระจาย

ผู้ว่าการ ธปท.แนะการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในช่วงโควิด-19 มี 3 ประเด็นที่ต้องคำนึง คือ 

  1. ด้านผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขัน

ผู้ว่าการ ธปท.ระบุว่า การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด พร้อมทิ้งท้ายด้วยว่าคำถามที่สำคัญตอนนี้ ไม่ใช่แนวคิดว่าจะปฏิรูปโครงสร้างเศษฐกิจไปในทิศทางไหน แต่ต้องมาคิดแล้วว่าจะทำอย่างไรให้เกิดจริง

ในระดับจุลภาคนั้นธุรกิจไทยจํานวนมากทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตรมีผลิตภาพต่ำ ซึ่งมีเหตุผลมาจากการขาดแรงจูงใจและแรงกดดันให้เกิดการพัฒนานวัตกรรม ต้องเผชิญอุปสรรคในการพัฒนาทักษะและ การเข้าถึงเทคโนโลยี  ขณะเดียวกันการผลิตและห่วงโซ่อุปทานในหลายอุตสาหกรรมถูกควบคุมโดยผู้ผลิตรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ขาดการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจอย่างจริงจัง ทําให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่อาจจะมีนวัตกรรมหรือแนวคิดใหม่ ๆ ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดเพื่อแข่งขันกับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ หรือแม้แต่รัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าตลาดอยู่เดิมได้

ขณะที่ในระดับมหภาค โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาการผลิตและบริการแบบดั้งเดิมอยู่มาก ในขณะที่การปรับตัวสู่เศรษฐกิจสําหรับโลกใหม่เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทําให้บทบาทของผู้ผลิตไทยในห่วงโซ่อุปทานยังจํากัดอยู่ในกิจกรรมการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ ในขณะที่กิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยเฉพาะที่เน้นการวิจัยและพัฒนาและกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลแพลตฟอร์มเป็นฐานยังไม่พัฒนาอย่างแพร่หลาย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีพื้นฐานดี ได้เปรียบประเทศอื่นในหลายอุตสาหกรรม

  1. เศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันต่ำ ขาดความสามารถในการรับมือกับภัยต่างๆ

ในระดับจุลภาค ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจไทยมีความเปราะบางทางการเงิน ครัวเรือนและธุรกิจ จํานวนมากโดยเฉพาะ SMEs มีข้อจํากัดในการเข้าถึงการออมและสินเชื่อ ทําให้ไม่มีแหล่งเงินสํารองไว้ใช้ในยามวิกฤติ รวมท้ังไม่สามารถกู้ยืมเงินเพิ่มจากสถาบันการเงินในระบบได้ ในสถานการณ์ที่จําเป็นเร่งด่วน ขณะที่ทางด้านแรงงานและผู้ประกอบการจํานวนมากยังอยู่นอกระบบ ไม่มีกลไกของภาครัฐที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึง แรงงานเหล่านี้ยังมีข้อจํากัดด้านทักษะและความสามารถในการปรับตัวเมื่ออาชีพที่ทําอยู่เดิมได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิด

ในระดับมหภาค โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพิงเศรษฐกิจต่างประเทศมาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าการส่งออกสินค้าและบริการเป็นเครื่องจักรสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่การพึ่งพิงดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทย ทําให้เศรษฐกิจไทยเปราะบางและได้รับผลกระทบรุนแรงในยามที่เศรษฐกิจโลกสะดุดลง จะเห็นได้จากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ติดลบ สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศจากวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้

ปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขเพราะโลกจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงความไม่แน่นอนในมิติใหม่ ๆ ที่มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น สภาวะโลกร้อน ภูมิอากาศแปรปรวน ฯลฯ

3. ผลประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยกระจุกตัวสูง มีความเหลื่อมล้ำ

คนไทยต้องเผชิญความเหลื่อมล้ำทางโอกาสตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์มารดา โดยเด็กที่เกิดจากพ่อแมที่มีความรู้น้อย มีทุนทรัพย์น้อย มักจะมีน้ําหนักต่ำกว่าเกณฑ์ตั้งแต่แรกเกิด เมื่อโตขึ้นมาก็มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา บริการสุขภาพ และทรัพยากรต่าง ๆ แตกต่างกัน โดยเด็กจากครอบครัวยากจนมีโอกาสเข้าศึกษาต่อใน ระดับอุดมศึกษาเพียง 5%

ขณะที่เด็กจากครอบครัวที่มีฐานะดีเกือบทั้งหมดมีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ความเหลื่อมล้ำในช่วงปฐมวัยนี้ได้ส่งผลต่อไปยังโอกาสในการทํางาน การประกอบกิจการ และรายได้ที่แตกต่างกัน ความได้เปรียบเสียเปรียบยังสั่งสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดช่วงอายุ และส่งผ่านต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานอีกด้วยโดยความเหลื่อมล้ำสูงในมิติต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นจากตัวเลขการกระจุกตัวทางเศรษฐกิจ ในภาคครัวเรือน ประชากรที่มีรายได้สูงสุด 1% แรกของประเทศ มีรายได้รวมกันถึง 20% ของรายได้ท้ังหมดของประชากรท้ังประเทศ ส่วนในภาคการผลิตผู้ประกอบการรายใหญ่ท่ีสุด 5% ครองส่วนแบ่งรายได้ถึง 85% ของรายได้จากการผลิตนอกภาคเกษตรท้ังหมด

ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้เป็นทั้งอาการและสาเหตุของปัญหาที่นําไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ทางสังคมอีกมาก นอกจากนี้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังกระจุกตัวเชิงพื้นที่สูง ผลผลิตมวลรวมรายจังหวัดต่อหัวของจังหวัดที่สูงสุด สูงกว่าจังหวัดที่ตำ่ที่สุดถึง 18 เท่า

ข้อเสนอของผู้ว่าฯการแก้ปัญหาที่ต้องคำนึงถึงประกอบไปด้วย

-การเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นต้องสอดคล้องกับทิศทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงถ้าเราไม่สามารถย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจหนึ่งไปสู่อีกภาคเศรษฐกิจหนึ่งได้ จึงจำเป็นต้องลดอุปสรรคในการโยกย้ายทรัพยากร

-ท้องถิ่นต่างจังหวัดจะต้องเป็นหนึ่งเป้าหมายสาคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ซึ่งจะเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.คนที่ 21 วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ได้เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ด้วย