นักวิชาการอาเซียนและตัวแทน 100 ประเทศ!?!ค้านองค์การอนามัยโลกสอบแต่จีน หนุนชาวจีน 25 ล้านร้องสอบไบโอแล็บสหรัฐฯด้วย

1529

ตัวแทน 300 คนจาก 100 ประเทศและภูมิภาคได้ร่วมกันลงนามในแถลงการณ์ร่วมคัดค้าน WHO ดำเนินนโยบายติดตามแหล่งที่มาของไวรัสโควิด-19 รอบสองที่เน้นสอบที่จีนแต่เพียงแห่งเดียว และในประเทศอาเซียนก็มีความเคลื่อนไหวจากลาว,กัมพูชาและฟิลิปปินส์ร้อง WHO ให้สอบสวน Fort Detrick ไบโอแล็บตั้งอยู่รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐฯด้วย

เมื่อวันที่ 6 ส.ค.2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตัวแทนกว่า 300 คนทั้งจากพรรคการเมือง องค์กรทางสังคม และคลังความคิดในกว่า 100 ประเทศ ต่างแสดงเจตจำนงค์ ผ่านการลงนามแถลงการณ์ร่วมถึงองค์การอนามัยโลก คัดค้านการสืบค้นแหล่งที่มาของไวรัสทางการเมืองในแถลงการณ์ร่วมที่ส่งไปยังสำนักเลขาธิการองค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อวันจันทร์

ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญของจีนเรียกร้องความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างถี่ถ้วนและจริงใจ เกี่ยวกับปัญหาการสืบค้นกลับต้นตอการแพร่โควิด-19 ที่จีนเป็นตัวอย่างให้ทีมของ WHOเข้าสอบสวน และคนอื่นๆ ยังคงปฏิเสธที่จะเคลื่อนไหวตอบรับการเข้าสืบค้นเช่นกัน 

เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส หัวหน้าองค์การอนามัยโลก ได้สรุปแผนสำหรับการสอบสวนระยะที่สองเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัสโคโรน่าที่มุ่งเป้าไปที่ประเทศจีน ซึ่งรวมถึงข้อเสนอสำหรับ “การตรวจสอบห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิจัยที่ดำเนินการในพื้นที่ของคดีมนุษย์เบื้องต้นที่ระบุในเดือน ธันวาคม 2562” 

หลี่ รุยเป็ง(Lei Ruipeng) ผู้เชี่ยวชาญ จากหัวชง (Huazhong) มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นสมาชิกของ WHO และเป็นคณะทำงานด้านจริยธรรม COVID-19 กล่าวว่า “จีนเป็นผู้นำและทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมในการร่วมมือกับ WHO ติดตามต้นกำเนิดของ SARS-CoV-2 และมันไม่ยุติธรรมหากประชาคมระหว่างประเทศยังคงพุ่งเป้ากับจีนในประเด็นการรั่วไหลของห้องปฏิบัติการ  เป็นการสมรู้ร่วมคิดอย่างไม่มีหลักฐาน ซึ่งมุ่งร้ายต่อจีนโดยไม่สนใจหลักฐานทางวิทยาศาสตร์”

ในการเผชิญกับภัยคุกคามร้ายแรงที่ COVID-19 ส่งผลกระทบกับชีวิต ความปลอดภัย และสุขภาพของมวลมนุษยชาติ ประชาคมระหว่างประเทศจำเป็นต้องเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านการแพร่ระบาด โดยเรียกร้องให้ WHO ดำเนินการวิจัยการติดตามแหล่งที่มาของไวรัสทั่วโลก อย่างมีวัตถุประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนและยุติธรรม และยืนหยัดต่อต้านปัญหาการติดตามแหล่งที่มาของไวรัสทางการเมือง

เมื่อวันอังคารที่ 3 ส.ค.2564 ประชาชนจีนกว่า 25 ล้านคนได้ลงนามในคำร้องออนไลน์เพื่อสอบสวนห้องปฏิบัติการของ Fort Detrick และเชื่อมโยงไปยังที่มาของ COVID-19 ชาวเน็ตชาวจีนกลุ่มหนึ่งร่างจดหมายเปิดผนึกที่เรียกร้องให้ WHO ตรวจสอบห้องปฏิบัติการ Fort Detrick และมอบหมายให้สำนักข่าว Global Times โพสต์คำร้องบน WeChat และ Weibo ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคมเพื่อเรียกร้องการตอบสนองจากสาธารณะล่าสุดมีผู้ลงนามร่วมกว่า 25 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เซิฟเวอร์ที่เป็นเจ้าภาพยื่นคำร้องถูกโจมตีทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่องจากที่อยู่ IP ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงการโจมตี DDoS ที่มีความรุนแรงสูง 

เซง กวง(Zeng Guang)อดีตหัวหน้านักระบาดวิทยาของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของจีนกล่าวว่า “สหรัฐฯ กลัวที่จะเปิดเผย Fort Detrick ให้ถูกตรวจสอบ เช่นเดียวกับที่ WHO ทำในสถาบันไวรัสวิทยาหวู่ฮั่น” เขาตั้งข้อสังเกตว่า “สหรัฐฯ คัดค้านอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ เนื่องจากมีความหวาดกลัวต่อการสืบสวนในห้องแล็บชีวภาพของตนที่มีอยู่ทั่วโลก ยิ่งพวกเขาต้องการซ่อนมันมากเท่าไหร่ เราควรค้นหาความจริงให้ลึกขึ้นเท่านั้น” 

หลังจากชาวจีน 25 ล้านคนลงนามในคำร้องออนไลน์เพื่อขอให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ตรวจสอบห้องปฏิบัติการชีวภาพ Fort Detrick ของสหรัฐฯ กลุ่มนักวิชาการชาวฟิลิปปินส์ รวมถึงเฮอร์มัน ลอเรล นักวิจารณ์การเมือง ได้ยื่นคำร้องออนไลน์ที่คล้ายกันในวันพฤหัสบดีที่ 5 ส.ค.2564ที่ผ่านมา เพื่อทำลายกำแพงแห่งความเงียบงัน รอบห้องแล็บที่น่าสงสัยในสหรัฐฯ คาดว่าจะมีสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมมากขึ้น

ลอเรลกล่าวว่า“ประชาคมโลกต้องเปล่งเสียงออกมามากพอที่จะทำลายกำแพงแห่งความเงียบงันรอบๆ Fort Detrick ที่รัฐบาลสหรัฐฯเป็นผู้กำหนด” 

ลอเรลและเพื่อนร่วมงานของเขาที่ Think tank Philippine-BRICS Strategic Studies ได้ติดต่อแอนนา มาลินดอกอุย (Anna Malindog-Uy) นักวิชาการชาวมาเลเซีย ซึ่งเขียนบทความลงองค์กรสื่อระดับภูมิภาคอาเซียนโพสต์ (ASEAN post) เพื่อเริ่มต้นการยื่นคำร้องไปถึง WHO ให้ตรวจสอบ Fort Detrick จากนั้นจะขยายไปยังสมาชิกอาเซียนคนอื่นๆต่อไป