“โบว์ ณัฏฐา” เผย ม็อบ 7 สิงหา คนวางแผนรู้อยู่แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ลั่นแรง มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่ทำในสิ่งเดิมๆแล้วคิดว่าผลมันจะเปลี่ยนไป!
จากกรณีทางช่อง WATCHDOG CHANNEL ได้พูดถึงกรณีของการชุมนุม 7 สิงหา ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่?
โดยสัมภาษณ์โบว์ ณัฏฐา มหัทธนา นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมือง ต่อสถานการณ์บ้านเมือง เมื่อวันที่ วันที่ 4 สิงหาคม 2564
โดยผู้ดำเนินรายการได้ถามถึงกรณีที่มีเยาวชนปลดแอก ได้ประกาศนัดชุมนุมวันที่ 7 สิงหาคม ไปพระบรมมหาราชวังตรงนี้คิดว่ามันจะเป็นตัวจุดเปลี่ยนอีกตัวนึงหรือเปล่าที่ถ้าพูดตามตรงหลายคนก็มองว่าตรงนี้แหละ ที่ส่วนหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลยังยังคงอยู่ เพราะประชาชนกลุ่มหนึ่งสนับสนุน ก็เพราะเหตุที่ทางแกนนำ ค่อนข้างที่จะมีการที่พูดไปพาดพิงสถาบันเยอะอยู่พอสมควร
ทางด้านโบว์ได้กล่วว่า มีหลายคนพูดว่า แนวทางการเคลื่อนไหว บางแนวทางเหมือนเป็นแนวร่วมมุมกลับของ พลเอกประยุทธ์ ว่าเขายังยังคงสตรองอยู่ได้ก็เพราะว่า มันมีปัจจัยแบบนี้เข้ามาเติม และเมื่อคืนเราก็เพิ่งเห็นโปสเตอร์การประกาศ ไม่ใช่แค่ว่า จะประกาศว่าเดินทางไปในจุดที่มัน sensitive มาก แต่ยังมีการใช้ถ้อยคำที่มันสื่อถึงการทุบทำลาย ซึ่งพูดกันตรงไปตรงมา ก็ไม่บวกเลยนะคะ วัดพระแก้วเนี่ย คนไทยก็รู้สึกว่าเป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ นับเป็นโบราณสถานที่สำคัญลำดับต้นๆของเมืองไทย แน่นอนว่ายังมีความอ่อนไหวในเรื่องของสถาบัน อันนี้ก็มีอยู่ แต่ว่าไม่ใช่ถึงว่า พูดถึงไม่ได้เลย แต่ว่าพูดในลักษณะไหน คิดว่าทุกคนก็คงพอจะนึกออกว่า คนไทยโดยรวมจะรู้สึกยังไง แล้วก็ในภาวะที่บ้านเมืองก็เครียดอยู่แล้วทุกคนก็มีปัญหาอยู่แล้ว อันนี้มันก็เหมือนเป็นการเติมความเครียดลงมา ก็ไม่รู้ว่าจะใช้คำว่า ซ้ำเติมสถานการณ์หรือว่าอะไรได้ว่า นี่ก็ไม่ใช่คาร์ม็อบด้วย โดยส่วนตัวก็รู้สึกว่า ไม่บวก
เมื่อถามว่า ถ้าดูเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งเคยเกิดใกล้ๆพระบรมมหาราชวัง ก็คือมีการตั้งคอนเทนเนอร์ แล้วก็มีการปะทะกันตรงนี้เป็นห่วงมากน้อยแค่ไหนในวันที่ 7สิงหานี้
โบว์กล่าวว่า ก็ใช้คำว่าเป็นห่วงไหม คือ คิดว่าเวลาที่คนจัดกิจกรรม เขาวางแผนแล้วก็เล็งเห็นผลอยู่แล้วว่าอะไรจะเกิดขึ้นโทนของการสื่อสารของแต่ละกิจกรรม มันก็จะเป็นการกำหนดโทนของการชุมนุมครั้งนั้น ถ้าโทนมันแรง การชุมนุมครั้งนั้นก็มีแนวโน้มที่จะรุนแรง ถ้าโทนมันเป็นแบบคาร์ม็อบ การชุมนุมมันก็มีแนวโน้มที่จะราบรื่น คนจัดกิจกรรมเล็งเห็นผลอยู่แล้วว่า จะเกิดอะไรขึ้น เขาเรียกได้ว่าวางแผนก็ได้ ก็รู้อยู่แล้วว่าโทนมันจะไปในทิศทางไหน คราวนี้จะเกิดอะไรขึ้นจริงๆก็อยู่ที่อีกฝ่ายหนึ่งด้วย it takes two to tango หมายความว่าจะเต้นแทงโก้เป็นคนเดียวไม่ได้ ตบมือข้างเดียวไม่ดัง ถ้าเป็นภาษาไทย ก็อยู่ที่ว่าภาครัฐจะจัดการยังไง หน่วยงานความมั่นคงจะมีการคิดและเตรียมวางแผนยังไง เพราะเขาก็เล็งเห็นผลเหมือนกัน อยู่ที่กึ๋นแล้วละ ว่าถ้าเอาเรื่องประโยน์ของบ้านเมือง เป็นตัวตั้ง ทำยังไงให้มันเกิดผลที่ดีที่สุด อันนี้ต้องคิดในรายละเอียด ไม่ใช่ว่า เหตุการณ์เคยผ่านมาแล้ว มีความเสียหายยังไง แล้วก็จะทำในแบบเดิม
ไอสไตน์ถึงบอกว่า มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่ทำในสิ่งเดิมๆแล้วคิดว่าผลมันจะเปลี่ยนไป ซึ่ง Apply กับทั้งสองฝั่ง คิดว่า ถ้าคนเราหวังดีกับกับชาติบ้านเมืองจริงๆ ก็ต้องคิดหาวิธีในฝั่งของตัวเองว่า จะทำยังไงให้มันออกมาได้ดีที่สุด เสียหายน้อยที่สุดเป็นคุณแก่ส่วนรวมมากที่สุด ไม่ใช่แค่เป็นคุณกับฝั่งทางการเมืองฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แน่นอนว่าคนที่เข้าไปร่วมก็เป็นผู้ใหญ่ บรรลุนิติภาวะ หรือถ้าใครไม่บรรลุนิติภาวะ ก็ผู้ปกครองดูแลความปลอดภัยลูกหลานตัวเองนิดนึง คนที่ไปเข้าร่วมก็ต้องมีความรับผิดชอบตัวเองอยู่แล้ว แต่ว่า ในฐานะที่เคยเป็นแกนนำการชุมนุมมาก่อน ความปลอดภัยของผู้ร่วมเข้าชุมนุมเป็นสิ่งสำคัญมาก แล้วต้องจัดการปกป้องทุกอย่างที่มันปกป้องได้ และอะไรที่มันเกินจากนั้นมันคือเรื่องแบบอาจจะโชคร้าย อาจจะเหนือความควบคุม นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ไม่ใช่ว่าเราออกแบบกิจกรรมให้มันสุ่มเสี่ยงกับผู้ชุมนุม อันนั้นถือว่า ไม่รับผิดชอบ
ชมคลิปได้ที่ : https://www.youtube.com/watch?v=_kYkd39v-ts