ปิยบุตร น้ำตาไหล! หลังฟัง”อานนท์”ปราศรัย จาบจ้วงสถาบันรุนแรง? ยกก้น กล้าหาญมาก ขณะตัวเองเป่าหูเด็กติดคุกแทน?

1972

ปิยบุตร น้ำตาไหล! หลังฟัง”อานนท์”ปราศรัย จาบจ้วงสถาบันรุนแรง? ยกก้น กล้าหาญมาก ขณะตัวเองเป่าหูเด็กติดคุกแทน?

จากกรณีที่เมื่วานนี้ (3 ส.ค.64) ทางด้านของกลุ่มคณะราษฎร ได้จัดชุมนุมเนื่องในวันครบรอบ 1 ปี ที่มีม็อบแฮรี่พ็อตเตอร์ ซึ่งที่น่าสนใจคือการขึ้นปราศรัยของนายอานนท์ นำภา ที่ได้มีการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการปราศรัยของอานนท์ นั้นค่อนข้างที่จะเป็นการปราศรัยที่เรียกได้ว่า เข้าข่ายมีความผิด ม.112 เพราะมีถ้อยคำที่ ใส่ร้ายจาบจ้วง ข่มขู่สถาบันฯอย่างรุนแรง ซึ่งก่อนที่ นายอานนท์ จะจบการปราศรัย ได้ประกาศชัดและท้าทายว่า จะปักหมุดคณะราษฎร ที่ทำขึ้นมาใหม่ กลางบริเวณพระบรมรูปทรงม้า พร้อมทั้งได้ส่งสัญญาณว่าในวันที่ 7 ส.ค.64 ให้ทุกคนปลดแอกและเอาไป “เผา” ที่ข้างกำแพงวัง ซึ่งประโยคสุดท้ายนี้จะเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง ให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมก็เป็นได้

ล่าสุด นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์ถึงกรณีการปราศรัยของนายอานนท์ บนเวทีม็อบที่บริเวณหน้าหอศิลป์เมื่อวานนี้ว่า

ติดตามเรื่อง “งบกลาง” กันมาทั้งวันทั้งคืนแล้ว หากใครที่ยังไม่ได้ฟังอานนท์ นำภา ปราศรัยวันนี้ อย่าลืมไปฟังกันนะครับ ผมฟังไป 2 รอบ อ่านถอดคำปราศรัยอีก 2 รอบ น้ำตาไหลเลย อานนท์ปราศรัยอย่างกล้าหาญ จับใจ ดีมากๆจริงๆ #งบกลาง #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

โดยก่อนที่นายอานนท์ได้ขึ้นเวทีปราศรัยในช่วงเย็นนั้น ในช่วงเช้า นายปิยบุตร ได้โพสต์ข้อความถึงกรณี ข้อเสนอ 5 ข้อต่อขบวนการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยมีเนื้อหาบางส่วนว่า วันที่ 3 สิงหาคม ปีที่แล้ว ที่อานนท์ นำภา ได้ปราศรัยประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน การปราศรัยครั้งนั้น คือ การนำประเด็นสถาบันกษัตริย์มาพูดในที่สาธารณะ ที่ไม่ใช่เวทีเสวนาวิชาการในมหาวิทยาลัย ที่ไม่ใช่ในสภาผู้แทนราษฎร ที่ไม่ใช่ในพื้นที่ของสถาบันการเมือง แต่พูดกันบนเวทีการชุมนุม บนท้องถนน การปราศรัยอย่างกล้าหาญและทระนงองอาจของอานนท์ในครั้งนั้น นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย 7 วันหลังจากนั้น การชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นำโดย พริษฐ์ ชิวารักษ์ และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้ปราศรัยข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ นับแต่นั้น

โดยข้อเรียกร้องข้อ 3 ระบุว่า ยกระดับข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้เป็นการปฏิรูปแบบปฏิวัติ

แม้ข้อเสนอการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ คือ “ปฏิรูป” ไม่ใช่ “ปฏิวัติ” แต่เราต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในครั้งนี้ ไม่ใช่งานจำพวก “ปฏิรูปแบบปฏิรูปนิยม” แต่มันคือ “ปฏิรูปแบบปฏิวัติ”
ในทางรูปแบบ คือ การปฏิรูป ไม่ได้ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ขีดเส้นยืนยันว่ายังรักษาสถาบันกษัตริย์ไว้อยู่ต่อไป
แต่ในทางเนื้อหา คือ การปฏิวัติ เพราะเป็นเนื้อหาการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่ก้าวหน้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายใต้ระบอบนี้
“ปฏิรูปแบบปฏิวัติ” จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเรายกระดับข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์นี้ให้เป็น “ข้อเสนอขั้นต่ำ” หมายความว่า ข้อเสนอทั้งหมดก็เพื่อรักษาสถาบันกษัตริย์เอาไว้ในระบอบประชาธิปไตย ไม่สามารถถอยหรือลดไปกว่านี้ได้ และหากไม่รับข้อเสนอเช่นนี้ ด้วยสถานการณ์แบบที่เป็นอยู่ที่ประชาชนก้าวรุดหน้ามากขึ้น ก็จะโหมเร่งให้รุดหน้ามากขึ้น สุกงอมเพียงพอจนปฏิรูปกลายเป็นปฏิวัติ