จับโป๊ะ!โทนีมั่วกม.หมิ่นสถาบันฯ ไม่ได้เริ่มสมัย“สฤษดิ์”? เปิดหลักฐานตอกหน้าสามนิ้วเงิบ

1997

จากที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วน ตัวแสดงความคิดเห็นถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือ ม.112 ทำให้มีหลายฝ่ายออกมาตอบโต้ และตั้งข้อสังเกตุถึงข้อมูลที่อ้างถูกต้องหรือไม่นั้น

ทั้งนี้โดยช่วงหนึ่ง นายทักษิณ ระบุว่า “ขอเล่าเป็นประสบการณ์ มาตรา 112 มีมานานตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ น่าจะประมาณปี 2500 ตัวกฎหมายเองไม่เคยเป็นปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มันเกิดจากการปฎิบัติที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าบุคคลในกระบวนการยุติธรรมอาจจะเกิดจากความกลัว หรืออาจจะเกิดจากความอยากแสดงความจงรักภักดีโดยไม่ยึดหลักนิติธรรม แล้วเกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือ Abuse of Power เพื่อหวังผล”

ต่อมามีการตั้งข้อสงสัยว่า อดีตนายกฯให้ข้อมูลที่ไม่ตรงข้อเท็จจริงหรือไม่ เกี่ยวกับมาตรา112 หรือกฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งก็พบว่า เว็บไซต์ วิกิพีเดีย ได้ลงข้อมูลเผยแพร่ไว้ บางช่วงเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์และพัฒนาการ กำเนิด หมิ่นประมาทและ อาฆาตมาดร้าย

ในสมัยศักดินา กฎหมายคุ้มครอง “การละเมิด” หลายอย่าง ซึ่งรวมความผิดต่อข้าราชบริพาร สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ และการกระทำความผิดในพระราชวัง ทั้งนี้อาจพิจารณาว่าอาชญากรรมแม้เชิงสัญลักษณ์ก็กระทบกระเทือนถึงโครงสร้างทางสังคมในสมัยศักดินาอย่างใหญ่หลวง เดิมอยู่ในกฎหมายตราสามดวง, พระราชกำหนดลักษณหมิ่นประมาทด้วยการพูดฤๅเขียนถ้อยคำอันเป็นเท็จออกโฆษณาการ ร.ศ. 118 และพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2470

กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในกฎหมายหมิ่นประมาทสมัยใหม่ในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 (ปี 2453) มาตรา 97 ซึ่งมุ่งพิทักษ์ชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ ในตอนแรกความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ถือเป็นความผิดต่อรัฐด้วย

ในประมวลกฎหมายอาญาสมัยใหม่ฉบับแรกของสยามในปี 2461 แยกแยะระหว่างพระมหากษัตริย์กับรัฐ มีการกำหนดโทษสำหรับผู้แสดงเจตนาร้ายหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการ มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนมาตราอื่น ๆ มีทั้งคุ้มครองเจตนาร้ายหรือการหมิ่นประมาทเจ้านายทุกรัชกาล ห้ามการสร้างความไม่จงรักภักดี หรือห้ามชักจูงให้ประชาชนละเมิดพระบรมราชโองการ ครั้นเมื่อสื่อสิ่งพิมพ์แพร่หลาย มีการเพิ่มโทษในปี 2471 ให้การสนับสนุนหรือสอนลัทธิหรือระบบการเมืองหรือเศรษฐกิจ โดยมีเจตนาให้พระมหากษัตริย์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังเป็นความผิด

หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ตัวกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก มีการเพิ่มสถานะล่วงละเมิดมิได้ของพระมหากษัตริย์ลงในรัฐธรรมนูญหลังจากนั้นทุกฉบับด้วย การบังคับใช้กฎหมายในสมัยนั้นมีข้อยกเว้นสำหรับการแสดงออกโดยสุจริต และความเห็นเชิงวิจารณ์และไม่มีอคติต่อการกระทำของรัฐบาลและเชิงปกครอง

การอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นยังคงเสรี สังเกตจากการอภิปรายหัวข้อยืนยันว่าจะมีระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือควรเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชอำนาจของกษัตริย์หรือไม่ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญในปี 2492 และกรณี หยุด แสงอุทัย นักวิชาการกล่าวบรรยายออกอากาศวิทยุว่า พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสพาดพิงปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมของประเทศ โดยไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การแก้ไขกฎหมาย พ.ศ. 2500 : “ดูหมิ่น” วันที่ 1 มกราคม 2500 “ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499” มีผลใช้บังคับ ใจความแก้ไขกฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ให้ครอบคลุม “การดูหมิ่น” ด้วย เพิ่มเติมจากการหมิ่นระมาทและการแสดงเจตนาร้าย นับเป็นการขยายขอบเขตการตีความอย่างกว้างขวาง ย้ายบทบัญญัติดังกล่าวไปอยู่ในมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายฉบับใหม่ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงให้ความผิดต่อพระมหากษัตริย์เป็นความผิดต่อความมั่นคงของชาติด้วย ตัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่อาจดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ได้หากเป็นไปตามเจตจำนงของรัฐธรรมนูญ

หลังวันที่เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาและรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 เพียงสองอาทิตย์ คณะรัฐประหารให้เหตุผลในการแก้ไขกฎหมายว่าไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น จึงแก้ไขกฎหมายให้มีโทษสูงขึ้น โดยเพิ่มจากจำคุกสูงสุด 7 ปี เป็นจำคุกต่ำสุด 3 ปี และสูงสุด 15 ปี และขยายขอบเขตของความผิด “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”

นอกจากนี้เว็บไซต์ วิกิพีเดีย ยังเปิดเผยถึง คำสั่งของนายกรัฐมนตรี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2504 ให้นำ ครอง จันดาวงศ์ กับทองพันธุ์ สุทธิมาศ ไปประหารชีวิตในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยไม่มีการพิจารณาคดีด้วย พร้อมเอกสารที่ระบุถึงคำสั่งดังกล่าว

ดังนั้นเองที่หลายคนออกมาตั้งข้อสังเกตุ และตั้งคำถามว่า นายทักษิณ อ้างถึงมาตรา112 หรือ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น น่าจะคลาดเคลื่อนผิดพลาดไปจากความจริง นั่นเพราะกฎหมายดังกล่าวมีนานแล้ว ตั้งแต่สมัยในหลวงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปรับแก้เพิ่มโทษ ที่สำคัญไม่ได้มีมาตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ปี2500 อย่างที่อดีตนายกพูดซึ่งผิดไปจากข้อเท็จจริง!?!