อับอายไปทั่วโลก!? สื่อลาว ฟาดกลับแรง “ช่อง 3″สื่อไทย ปล่อยเฟคนิวส์? ยันฉีดวัคซีนเก็บเห็ดเป็น “ข่าวปลอม”!
จากกรณีเมื่อวันที่ 2 ส.ค.64 รายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทาง ช่อง 3 HD ได้เผยแพร่ข่าว “7 คนเก็บเห็ดที่ถูกจับที่ลาว จะได้ฉีดวัคซีน mRNA ก่อนเข้าไทย” ทำให้มีหลายคนนำประเด็นดังกล่าวมาเสียดสี โจมตีรัฐบาล ว่าขนาดคนที่โดนจับ ยังได้ฉีดวัคซีน จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก
ล่าสุด สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว เผยแพร่ข่าวกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แขวงจำปาสัก โดยตามข้อมูลที่สังคมออนไลน์และบางสำนักข่าวได้มีการรายงานว่า มี 7 คนไทย อยู่อุบลราชธานี ถูกนำไปกักตัวตามมาตรการป้องกันและสกัดการระบาดโควิด-19 ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเจรจากับฝ่ายไทยเพื่อส่งกลับประเทศ
ส่วนข่าวที่หลายสื่อหลายสำนักของไทย ที่ระบุว่า พลเมืองไทยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งข่าวนี้ไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด ขอให้ได้รับทราบตามนี้ด้วย ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า การบริโภคสื่อสังคมออนไลน์ปัจจุบันนี้ ขอให้ตรวจสอบที่มาของข่าวสารอย่างชัดเจนก่อนจะกดเผยแพร่ออกไป
ในขณะที่ทางด้าน นายนริศโรจน์ เฟื่องระบิล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีที่ลาวได้ออกมาปฏิเสธข่าวฉีดวัคซีนให้ 7 คนไทยเก็บเห็ด ยันไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด โดยระบุข้อความว่า
ทางฝ่ายลาวออกมายืนยันอีกครั้งนะครับว่า ตามที่สถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งของไทยรายงานข่าวว่าจะมีการฉีดวัคซีน mRNA ให้กับคนไทยที่ลักลอบเข้าไปในพื้นที่ลาวเพื่อเก็บเห็ดนั้น เป็น ข่าวปลอม นะครับ รวมทั้งการนำเสนอข่าวของ นสพ. The Laotian Times ก็ไม่มีการระบุในเนื้อข่าวเลยว่ามีการฉีดวัคซีนให้ (หมายเหตุ นสพ.ฉบับนี้เป็นของทางการลาวนะครับ)
และยังโพสต์ต่อว่า สำนักข่าวโทรภาพแห่งชาติลาว ซึ่งเป็นสื่อทางการของรัฐบาลสปป.ลาว ได้ออกมาปฏิเสธยืนยันอย่างเป็นทางการแล้วว่า ข่าวที่สถานีโทรทัศน์ช่องนึงของไทยและสื่ออีกหลายสำนักนำเสนอข่าวว่าทางการลาวจะฉีดวัคซีน mRNA ให้แก่ชาวบ้าน 7 คนที่ลักลอบเข้าไปเก็บเห็ดที่ลาว และถูกจับกุมกักขังตัวที่เมืองจำปาสัก นั้น บ่แม่นความจริง เด้อ !
ต่อมาทางเพจ ซึ่งต้องพิสูจน์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวว่า 3 ส.ค. 64 สถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาว ชี้เเจงกรณี โซเชียลมีเดีย สื่อไทยบางส่วน รวมถึง FB เรื่องเล่าเช้านี้ ที่รายงาน 7 คนไทยเก็บเห็ดได้ฉีด mRNA โดยบอกว่า ไม่เป็นความจริง ( ทั้งนี้ รูปดังกล่าว ถูกลบออกไปแล้ว)