ดีอยู่แล้ว จะแก้ทำไม? ACT ไม่เอาด้วย ออกตัวต้าน แก้รธน.60 ยาแรงปราบคอรัปชั่น นักการเมืองถึงกลัว และไม่พอใจ!?

2340

จากกรณีที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน(ประเทศไทย) หรือ ACT ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้เกิดการคดโกงงบประมาณของประเทศ

ระบุว่า ตามที่พรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นขอแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ให้ตัดบทลงโทษส.ส. ส.ว. และกรรมาธิการที่แทรกแซง การจัดทำงบประมาณประจำปี ตามมาตรา 144 และตัดข้อห้ามมิให้ ส.ส. และ ส.ว. แทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ ตามมาตรา 185 นั้น ทางองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ เห็นว่า การแก้ไขดังกล่าวจะทำให้การต่อต้านคอร์รัปชันของประเทศล้มเหลว เพราะการตัดบทลงโทษดังกล่าวเปิดโอกาสให้ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถสอดแทรก-ก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการที่เป็นฝ่ายบริหารได้โดยง่าย ซึ่งจากที่ผ่านมางบประมาณแผ่นดินได้ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม มีการคดโกงเกิดขึ้นอย่างมากมายจากการสอดแทรกใช้อำนาจหน้าที่อย่างไม่ถูกต้อง

การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พรรคพลังประชารัฐได้ยื่นขอ นอกจากจะเปิดทางให้เกิดการคดโกงแล้วยังขัดต่อหลักธรรมาภิบาลและการมีผลประโยชน์ทับซ้อนตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ การต่อสู้เอาชนะคอร์รัปชันต้องชัดเจนทั้งหลักการและวิธีการ การมีมาตรการที่ครอบคลุม ปฏิบัติได้จริงจังจึงจะพิสูจน์ความเป็น “รัฐธรรมนูญปราบโกง”และวาระแห่งชาติในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ การลดทอนให้เหลือเพียงหลักการลอย ๆ ไม่มีแนวปฏิบัติปราศจากบทลงโทษ แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจเด็ดขาดในการปราบปรามคอร์รัปชัน ทำให้คนโกงย่ามใจ คนไทยทั้งชาติอยู่ในสภาวะของการ “จำยอมกับการโกงของผู้มีอำนาจ”อีกครั้งหนึ่ง

คนไทยต้องการเห็นการเมืองที่สูงด้วยจริยธรรม ต้องการรัฐธรรมนูญที่ศักดิ์สิทธิ์จริงใจ ต้องการเห็นประเทศชาติ มีการพัฒนาอย่างโปร่งใสเป็นธรรม และที่สำคัญ ต้องการหลุดพ้นจากวงเวียนการคดโกงของนักการเมือง ข้อเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันขอคัดค้านการเสนอแก้ไขรัฐธรรมทั้งสองมาตราดังกล่าวอย่างถึงที่สุด และขอเชิญชวนให้ประชาชน สื่อมวลชน และทุกภาคส่วนของสังคมร่วมผนึกกำลังในการต่อต้านครั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับงบประมาณแผ่นดินและผลกระทบที่เลวร้ายที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

ล่าสุดทางด้านนายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า แก้ทำไม : รัฐธรรมนูญ ใกล้วันที่ 24 มิถุนายน วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ 2475 พวกอยากแก้รัฐธรรมนูญเลยถือโอกาสเอาวันดังกล่าวมาเคลื่อนไหวแก้รัฐธรรมนูญ

 


คำถามดัง ๆ ถึง ส.ส. และพรรคการเมือง แก้รัฐธรรมนูญ ประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้าง บอกมาที อย่าอ้างประชาธิปไตย อย่ามาอ้างตะวันตก เหม็นขี้ฟัน

ข้อดีของรัฐธรรมนูญปี 2560 คือ

– คดีทุจริต คอร์รัปชันไม่มีอายุความ

– ห้ามนักการเมืองมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์กับรัฐ ห้ามรับสัปทานจากรัฐ

– ห้ามนักการเมืองถือหุ้นสื่อมวลชน

– การลงมติของ ส.ส. เป็นเอกสิทธิ ไม่ต้องทำตามมติพรรค ปลด ส.ส. จากความเป็นทาสของพรรคการเมือง เพื่อให้ ส.ส. รักษาสิทธิประโยชน์ของประชาชน

– ห้ามส.ส. ก้าวก่ายหรือมีผลประโยชน์กับงบประมาณของรัฐ

– ส่วนการมีบัตรเลือกตั้งใบเดียวหรือสองใบ ประชาชนไม่เกี่ยว ไม่ได้ประโยชน์อะไรด้วย แต่พรรคเล็กในสภาตอนนี้ อาจจะหายไปเลย

การเมืองประชาธิปไตยของแต่ละประเทศมีวิวัฒนาการ มีประวัติความเป็นมา มีรากเหง้าที่แตกต่างกันไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ไม่ต้องไปลอกเลียนแบบของประเทศใด ๆ มา มิเช่นนั้นเราอาจต้องใส่เสื้อผ้าที่เป็นขนาดยุโรป แฟชั่นของเมืองหนาว ในขณะที่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน อย่าเอาวัฒนธรรมตะวันตกมายัดเยียดให้คนไทย เราไม่ต้องตามตูดฝรั่ง

รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้แก้ไขได้ตามมาตรา 256 แต่ต้องไม่ใช่การยกร่างใหม่ทั้งฉบับ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว การยกร่างใหม่ทั้งฉบับให้ไปทำประชามติถามประชาชนเสียก่อน ว่าจะให้ความยินยอมหรือไม่ ดังนั้น ข้อเสนอตั้ง ส.ส.ร. เพื่อยกร่างใหม่ทำไม่ได้แน่นอน ข้อเสนอให้มีสภาเดียว หรือตัดอำนาจ ส.ว. ออกจากบทบาทตามรัฐธรรมนูญทำได้หรือไม่ ต้องถามใจส.ว.ว่า จะยอมหรือไม่ แต่พนันได้ว่าไม่มีทางสำเร็จ

เรื่องที่มาของส.ว. นั้น อยากให้ดูอังกฤษเป็นตัวอย่าง ซึ่งไทยลอกแบบมาส.ว. ของอังกฤษเป็นสภาขุนนาง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งและเครือญาติขุนนาง หรือจะดูหลังยึดอำนาจ 2475 ก็ได้ คณะราษฎรเองนั่นแหละ ที่เอาส.ส. และส.ว.แต่งตั้ง มาสู่สยาม

ปัญหาการเมืองไทยที่สำคัญ คือทำอย่างไรถึงจะได้ส.ส. ที่มีคุณภาพ ส.ส.ที่ดีเข้าสู่สภาไม่เป็นขี้ข้า หรือรับคำสั่งจากคนนอกสภาที่ชี้นิ้วให้ทำโน่นทำนี่ อยากถามถึงบทบาทของ ส.ส. ในวันนี้ ว่าทำอะไรกันบ้าง นอกจากหลบหลังม็อบและคอยประกันตัวม็อบ จะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ไม่ว่า แต่ป้องกันนักการเมืองเลว ๆ ไม่ให้เข้าสภาน่าจะดีกว่า