เปิดภารกิจ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตรวจมะเร็งฟรีตามพระปณิธานฯ เรื่องดีๆที่พสกนิกรรู้และซาบซึ้งมานาน

2254

จากที่ช่อ พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ทวิตเตอร์ถึงการจัดหาวัคซีนทางเลือกของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ใช้รายได้ขององค์กรนำเข้ามา ซึ่งช่อได้พาดพิงถึงในการใช้งบประมาณว่ามาจากภาษีประชาชน แต่ความจริงคือมีการหารายได้เองด้วย รวมทั้งราชวิทยาลัยฯก็ช่วยเหลือประชาชน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เปิดเผยถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่พบบ่อยอยู่ใน 3 อันดับแรกของโรคมะเร็งในประเทศไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.4 เท่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัว โครงการพัฒนาการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้กับประชาชนไทย อายุระหว่าง 50-70 ปี จำนวน 1,300 ราย

“โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สนองพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะผู้ที่ยากไร้และด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่ดีเยี่ยมเทียบเท่าระดับสากล”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผยถึงพระกรุณาธิคุณใน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมีพระเมตตาและพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทย โดยทรงมีพระวิสัยทัศน์ในการวางรากฐานการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับการรักษาพยาบาลให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล

“พร้อมทั้งมีพระประสงค์ที่จะยกระดับการศึกษาด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย เน้นการพัฒนานวัตกรรมค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัยที่เป็นมาตรฐานสากล และนำมาปฏิบัติใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคนไทยในทุกถิ่นฐานอย่างยั่งยืน รวมทั้งพระปณิธานอันแน่วแน่ในการช่วยเหลือผู้ที่ต้องทนทุกข์จากโรคมะเร็ง ควบคู่กับการส่งเสริมป้องกันมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งมีโอกาสรอดชีวิต มีอายุยืนยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”

ขณะที่ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ฝ่ายประสัมพันธ์และการตลาด และคณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีด้านภาพวินิจฉัยที่ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้นำเข้ามาใช้ในการตรวจในโครงการนี้ว่า การตรวจหารอยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกวิธีหนึ่ง คือ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่

ด้านเพจชื่อดัง The METTAD ได้แชร์ข้อความจากทวิตเตอร์ของ พรรณิการ์ มาด้วย ก่อนที่จะโพสต์ข้อความถึงราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ว่า

“ในส่วนของค่าใช้จ่าย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีในการวิจัยและพัฒนา ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ที่ทันสมัย และการพัฒนาบุคลากร รวมไปถึง การช่วยเหลือประชาชนในการตรวจคัดกรองและการรักษา ทำให้พ่อของบางคนได้รักษามะเร็ง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ดีที่สุด”

ก็เพราะว่าได้มาจากภาษีไงครับ แล้วเงินพวกนี้ก็มีจุดประสงค์อื่นๆที่ต้องใช้ ส่วนที่เอาไปซื้อวัคซีนจึงต้องทำเป็นการขายเพื่อเอาเงินมาคืนจะได้มีงบเอาไปใช้ เขาก็บอกอยู่ว่าวัคซีนทางเลือก ถ้าไม่เลือกทางนี้ก็เลือกทางอื่นได้ครับ เช่น Sinovac หรือ AZ ที่ฟรี

แล้วรายได้จากการจากค่าวัคซีนทางเลือกไม่ได้กลับเข้าหน่วยงานนี้เหรอ ค่าใช้จ่ายออกจากที่ไหน รายได้ก็เข้ากลับไปตรงนั้น + – แล้วก็เท่าเดิม ยิ่งหล่อนจะตีความว่า เป็นเงินภาษีของประชาชน เค้าก็เก็บค่าวัคซีนทางเลือกกลับไปคืนภาษีประชาชนไง ไม่ดีเหรอ หล่อนงงอะไรยะ หล่อนจะตีความแบบไหน คำตอบมันก็ตบหน้าหล่อนเองทั้งนั้น เก่งแต่ตั้งคำถามนะหล่อน

ถ้าเอามาแจกฟรี แล้วรัฐบาลก็ต้องจัดงบมาแทน ก็ว่ารัฐบาลอีก  คนจะว่า ได้ทุกทาง