สงคราม 11 วันที่ฉนวนกาซ่า?!?ทำโลกขยับค้านอิสราเอลล้างเผ่าพันธ์ุปาเลสไตน์ องค์กรยิวต้านยิวไซออนิสต์แฉเป็นกลุ่มลัทธิไม่มีศาสนา

1630

เมื่อเร็วๆนี้ที่นิวยอร์ก กลุ่มต่อต้านไซออนิสต์ชาวยิวให้สัมภาษณ์กับ Anadolu Agency โดยแรบไบโดวิด เฟลด์แมน(Rabbi Dovid Feldman) โฆษกของชาวยิวออร์โธดอกซ์ต่อต้านลัทธิไซออนหรือที่เรียกว่า Naurei Karta International กล่าวว่าทางการอิสราเอลยกการขับไล่ที่ Sheikh Jarrah เพื่อจุดประกายความไม่พอใจในหมู่ชาวปาเลสไตน์จนเกิดการปะทะ และเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์ 

เฟลด์แมนกล่าวว่า “น่าเสียดายที่สิ่งนี้เหมือนกันมากและเป็นแบบแผนกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่นั่นเป็นเวลาเจ็ดสิบปีและก่อนหน้านี้”  “สิ่งที่เราเห็นในทศวรรษนี้ก็คือขบวนการไซออนิสต์ของอิสราเอลต้องการให้มีการโจมตีพวกเขาเพื่อที่จะพิสูจน์ว่าพวกเขามีความชอบธรรมที่จะทำสงครามกับชาวปาเลสไตน์” “ขบวนการไซออนิสต์ต้องการสงครามเพื่อดำรงอยู่พวกเขาต้องการสงครามเพื่อที่จะได้รับความเห็นอกเห็นใจจากชาวยิว”

สิ่งที่ทำกับชาวปาเลสไตน์นั้นไม่ถูกต้องเฟลด์แมนกล่าวและเสริมว่าจะไม่มีความคืบหน้าใด ๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขการกระทำผิดต่อชาวปาเลสไตน์  “เราไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ไซออนิสต์ต้องการและเราต่อต้านการยึดครองทั้งหมดเป็นการต่อต้านศาสนาของเราซึ่งขัดต่อความยุติธรรม และผิดกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้ง ขัดต่อผลประโยชน์ของชาวปาเลสไตน์และขัดต่อผลประโยชน์ของชาวยิวทั่วโลก” เฟลด์แมนกล่าว 

เขากล่าวว่าองค์กรของเขาจะจัดการประท้วงหลายครั้ง ทั้งในนิวยอร์กและวอชิงตันดีซี และกล่าวเน้นว่า กองกำลังสนับสนุนอิสราเอลพยายามระงับเสียงเรียกร้องของพวกเขา เซ็นเซอร์พวกเขาทั้งในโซเชียลมีเดียและสื่อกระแสหลัก เขากล่าวเสริมว่า “เราวิพากษ์วิจารณ์อิสราเอลเป็นเรื่องจริง ซึ่งพวกเขากระทำการละเมิดศาสนายิวมากที่สุด เราภูมิใจที่จะบอกว่าเราวิพากษ์วิจารณ์อิสราเอลเพราะพวกเขาละเมิดความยุติธรรมทุกรูปแบบ”

วันที่ 19 พ.ค. 2564 ที่นิวยอร์ก กลุ่มพนักงานชาวยิวของ Google ได้เรียกร้องให้ บริษัทประณามการกระทำของทหารอิสราเอลท่ามกลางการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่องในฉนวนกาซ่า และเพื่อสนับสนุนชาวปาเลสไตน์

เว็บไซต์ข่าว The Verge รายงานว่าในจดหมายภายในของพนักงานร้องขอให้ซีอีโอ ซันดาร์ พิชัยประณามต่อสาธารณะในการโจมตีของอิสราเอลต่อฉนวนกาซ่า รวมถึง“ การรับรู้โดยตรงถึงอันตรายที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์โดยกองทัพอิสราเอลและความรุนแรง ” การร้องขอดังกล่าวกำลังดำเนินการโดยชาวยิวพลัดถิ่นในกลุ่มที่ชื่อ “Tech” ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี2563 หลังจากแยกออกจากกลุ่มพนักงาน Google ที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่ม Jewglers” ซึ่งขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์อิสราเอล

นอกเหนือจากคำแถลงสาธารณะแล้ว ในจดหมายยังเรียกร้องให้ Google เป็นศูนย์กลางเสียงของพนักงานชาวปาเลสไตน์ในอนาคต ขอจัดตั้งกองทุนบรรเทาทุกข์สำหรับชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของทหารอิสราเอล ปฎิเสธคำจำกัดความใดๆก็ตามที่ถือว่าการวิพากษ์วิจารณ์อิสราเอล หรือลัทธิไซออนิสต์เป็นการต่อต้านชาวยิว ทบทวนและยกเลิกสัญญากับสถาบันที่สนับสนุนการละเมิดสิทธิของชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล เช่น กองกำลังป้องกันตนเองของอิสราเอล หรือ IDF

วันที่ 25 พ.ค.2564 สำนักข่าวไทม์ออฟ อิสราเอล ได้รายงานเหตุการณ์ที่ลอนดอนว่า การหยุดยิงที่ประกาศโดยอิสราเอลและฮามาสหลังการสู้รบ 11 วันดูเหมือนจะยุติลง แต่ผลที่ตามมาต่อชาวยิวในยุโรปโดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรยังคงอยู่ เช่นเดียวกับความขัดแย้งทางทหารของอิสราเอลในรอบก่อน ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชาวปาเลสไตน์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาความรุนแรงและการข่มขู่ต่อต้านชาวยิวได้พุ่งสูงขึ้นในยุโรปซึ่งมีผู้ประท้วงหลายหมื่นคนเดินขบวนและชุมนุมในเหตุการณ์ที่แสดงความโกรธเกรี้ยวต่ออิสราเอล  และบางคนใช้ช่วงเวลานี้เป็นข้ออ้างในการพุ่งเป้าทำร้ายคนยิว

ชาวยิวในสหราชอาณาจักรหวาดกลัวการต่อต้านผู้นับถือศาสนายิวเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์หลังการปะทะในฉนวนกาซา  รายงานเหตุการณ์ต่อต้านยิว 116 ครั้งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค.2564 เทียบกับ 11 คดีในสองสัปดาห์ก่อนหน้า ปรากฏการณ์ของความเกลียดชังทำให้ชาวยิวหลายคนหวาดหวั่นและตั้งคำถามกับอนาคตของพวกเขาในอังกฤษ

ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ช่วงเวลาที่อิสราเอลถล่มกาซ่า ที่เวียนนา,บรัสเซลส์และอัมสเตอร์ดัมก็เกิดเหตุการณ์ประท้วงยิวด้วยเช่นกัน

ท่ามกลางเสียงก่นด่าประณามยิวอย่างไม่เข้าใจและไม่แยกแยะว่า ชาวยิวที่นับถือศาสนาต่างจากชาวยิวที่เชื่อในลัทธิไซออนิสต์ที่นิยมความรุนแรงและไม่มีศาสนานั้น  ที่เยอรมนี องค์กรมุสลิมเยอรมนีได้เตือนสติกลุ่มผู้ประท้วงที่ประณามอิสราเอลให้กำลังใจปาเลสไตน์ ว่าอย่าปลุกระดมเกลียดยิวในประเทศ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน

เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 ฮอร์สต์ ซีโฮเฟอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในของเยอรมนี ประกาศ จะปราบปราม คนฉวยโอกาสในการประท้วงสนับสนุนปาเลสไตน์เพื่อแสดงออกเหยียดหรือต่อต้านชาวยิว (anti-semitic) หลังจากที่มีกลุ่มคนบางกลุ่มแสดงออกด้วยการตะโกนคำเหยียดชาวยิว เผาธงชาติอิสราเอล เรียกร้องให้มีการทิ้งระเบิดใส่เมืองเทลอะวีฟ ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอิสราเอลและมีผู้คนอาศัยอยู่มากกว่า 400,000 คน

หัวหน้าของกลุ่มสภาศูนย์กลางมุสลิมแห่งเยอรมนี (ZMD) สนับสนุนถ้อยแถลงของ รมต.ว่า พวกเขาก็ประณามการเหยียดชาวยิวที่เกิดขึ้นในขบวนประท้วงเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมาเช่นกัน

ไอมาน มาซเย็ก ระบุในแถลงการณ์ว่า “ใครก็ตามที่ทำการโจมตีสุเหร่ายิวและชาวยิว โดยอ้างว่าเป็นการตอบโต้อิสราเอลนั้น จะเสียสิทธิในการแสดงออกเชิงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับชาวปาเลสไตน์” นอกจากนี้ยังประณาม “การโจมตีที่น่ารังเกียจซึ่งเกิดขึ้นกับเพื่อนพลเมืองชาวยิว” ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาด้วย องค์กรชาวมุสลิมอีกองค์กรหนึ่งคือ สหภาพเตอร์กิส-อิสลามเพื่อกิจการทางศาสนา (DITIB) เรียกร้องให้ชาวมุสลิมอยู่ห่างๆ จากกลุ่มฝูงชนที่ปลุกระดมความเกลียดชัง

การประท้วงโดยส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสันติ มีผู้ประท้วงจำนวนมากที่แสดงการต่อต้านนโยบายของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์ มีการถือป้ายประท้วงระบุว่า “เสรีภาพเพื่อชาวปาเลสไตน์” “หยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” และ “ต่อต้านไซออนิสต์ ไม่ได้ต่อต้านชาวยิว”

แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ฉวยโอกาสก่อเหตุรุนแรงและปลุกเร้าความเกลียดชังต่อชาวยิว มีการตะโกนคำเหยียดชาวยิวในการเดินขบวนของประชาชนราว 180 คน ที่เมืองเกลเซนเคียร์เชน รวมถึงมีกรณีที่ตำรวจต้องเข้าไปจับกุมกลุ่มคนที่ขว้างปาก้อนหินใส่กระจกสุเหร่ายิวหลายราย