พล.ร.อ.Stavridis อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯให้สัมภาษณ์คาดว่าสหรัฐฯ กับจีนมีโอกาสเผชิญหน้าทางทหารในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกแน่นอน พร้อมกันนี้และแย้มว่าในกรณีที่สหรัฐฯ ขัดแย้งกับจีนในมหาสมุทรอินเดีย สหรัฐฯ จะขอความร่วมมือจากออสเตรเลีย สิงคโปร์และไทยให้สนับสนุนปฏิบัติการด้านการทหารของสหรัฐฯด้วย การโยนหินถามทางกับประเทศไทยเป็นท่าทีสะท้อนว่าจนบัดนี้ยังอ่านไทยไม่ออกว่าจะยืนฝั่งไหน ระหว่างอเมริกาและจีน การออกมาตอบประเด็นนี้คงไม่มีเพราะคนพูดก็ไม่มีสิทธิอะไรมายื่นหนังสือถาม และการปล่อยข่าวออกมาเป็นเรื่องดีที่คนไทยจะได้ตื่นตัว และช่วยกันจับตาท่าทีของรัฐบาลไทยต่อ ความพยายามสร้างเงื่อนไขให้เกิดสงครามตัวแทนในภูมิภาคนี้ของสหรัฐฯว่า สงครามแตกหักของมหาอำนาจสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อใกล้บ้านเราเพราะผลประโยชน์ทับซ้อนมีมากมายมหาศาล
สำนักข่าวBloomberg รายงานเมื่อวันที่ 25 เม.ย.2564 อ้างความเห็นของ พล.ร.อ.James Stavridis อดีตที่ปรึกษารมว.กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯว่า สหรัฐฯ กับจีนมีแนวโน้มจะเผชิญหน้าทางการทหารในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เนื่องจากจีนมีพัฒนาการด้านการทหารและเพิ่มจำนวนเรือรบในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
สำหรับพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ 1) ช่องแคบไต้หวัน 2) ทะเลจีน ตอ. 3) ทะเลจีนใต้ และ 4) มหาสมุทรอินเดีย เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้
พลเรือเอกเจมส์สตาฟริดิส USN (เกษียณ) เป็นผู้บัญชาการฝ่ายพันธมิตรสูงสุดของนาโตคนที่ 16 พลเรือเอกระดับ 4 ดาวดูแลปฏิบัติการในอัฟกานิสถานลิเบียซีเรียและคาบสมุทรบอลข่านระหว่างดำรงตำแหน่ง หลังจากเกษียณอาชีพทหารเขาดำรงตำแหน่งคณบดีของ Fletcher School of Law and Diplomacy ที่ Tufts University และตอนนี้ทำงานร่วมกับ The Carlyle Group บริษัท การลงทุนระดับโลกและ McLarty Associates ซึ่งเป็น บริษัท ที่ปรึกษาระหว่างประเทศ Stavridis เป็นคอลัมนิสต์ของนิตยสาร TIME และเป็นหัวหน้านักวิเคราะห์ความปลอดภัยระหว่างประเทศของ NBC News เขาเป็นผู้เขียนหนังสือ 10 เล่มซึ่งรวมถึง “2034: A Novel of the Next World War”
แนวโน้มเกิดการปะทะทางทหารจะเกิดขึ้นหรือไม่ ยังไม่มีใครคาดการณ์ได้อย่างชัดเจน เพราะสงครามระดับใดก็ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาลทั้งผู้ชนะและผู้แพ้ แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่ามหาอำนาจคู่ขัดแย้งอย่างสหรัฐและจีน ยังคงทุ่มงบประมาณทางการทหารอย่างต่อเนื่อง แม้สถานการณ์การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ยังคงสร้างความลำบากสาหัสแก่ชีวิตของประชาชนทั่วโลก
โดยล่าสุดพบว่า งบประมาณทางทหารของโลกเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 ล้านล้านดอลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 63 ล้านล้านบาท ในรอบปี2563 สวนทางวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เป็นผลจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
เมื่อวันที่ 26 เม.ย.2564 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ว่า รายงานโดยสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม ( ซิปรี ) เกี่ยวกับการใช้จ่ายทางทหารทั่วโลกเมื่อปี 2563 เพิ่มขึ้น 2.6% จากสถิติเมื่อปีก่อนหน้า หรืออีก 1,981 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 62,282.64 ล้านบาท ) เป็นเกือบ 2 ล้านล้านดอลาร์สหรัฐ ( ราว 62.88 ล้านล้านบาท ) สวนทางกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( จีดีพี ) ทั่วโลก ซึ่งโดยเฉลี่ยหดตัว 4.4% เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
ทั้งนี้ นายดิเอโก โลเปซ ดา ซิลวา ผู้จัดทำรายงานได้ยอมรับว่า ตัวเลขการใช้จ่ายที่ออกมาเป็นไปอย่างเหนือความคาดหมาย และอาจทำให้คณะผู้จัดทำรายงานสรุปได้ว่า วิกฤติการแพร่ะระบาดของโรคโควิด-19 “แทบไม่มีผลกระทบ” ต่อการดำเนินนโยบายทางทหารของหลายประเทศ โดยเฉพาะบรรดาประเทศมหาอำนาจ
สหรัฐและจีนซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางทหารอันดับ 1 และ 2 ของโลก ยังคงเป็นสองประเทศซึ่งมีมีการใช้จ่ายทางทหารมากที่สุด โดยในส่วนของสหรัฐมีสัดส่วนคิดเป็น 39% ตามด้วยจีนมีสัดส่วนคิดเป็น 13%
เมื่อวิเคราะห์ลงลึกในรายละเอียดพบว่า แม้งบประมาณทางทหารของจีนยังเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าสหรัฐมากหลายเท่าตัว แต่วงเงินนั้นเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 26 ปีที่ผ่านมา จนมาอยู่ที่ 252,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 7.92 ล้านล้านบาท ) เมื่อปีที่แล้ว ส่วนสหรัฐมีงบประมาณทางทหารเพิ่มขึ้น 3 ปีล่าสุดจนถึงปีที่แล้ว ปี 2564 ตอนต้นปีประกาศเพิ่มงบฯเป็นกว่า 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 21.73 ล้านล้านบาท) หลังลดลงตลอด 7 ปีก่อนหน้านั้นและล่าสุดได้ของบฯกลาโหมเพิ่มจากสภาคองเกรสอยู่ระหว่างการพิจารณา
ประเด็นสำคัญ งบประมาณทางทหารและการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการทำสงครามของสหรัฐ เป็นเรื่องที่น่าจับตาอย่างยิ่ง จากการที่รัฐบาลวอชิงตันชุดปัจจุบันของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยังไม่มีท่าทีว่าจะลดงบประมาณในเรื่องนี้ แม้เตรียมถอนทหารที่ยังเหลืออีกประมาณ 2,500 นาย ออกจากอัฟกานิสถานภายในวันที่ 11 ก.ย.นี้ ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 20 ปี เหตุวินาศกรรม 911 ก็ตาม