คนไทยยังทนต่อไหวหรอ!! ย้อนแนวคิด “ปิยบุตร” เป็นภัยต่อชาติ เตรียมแผน เปิด “รร.การเมือง” ล้างสมองเยาวชน?

2137

จากกรณีที่ในเฟซบุ๊กของนายปิยบุตร แสงกนกกุล ได้โพสต์ข้อความระบุถึง 15 ปี ตุลาการภิวัตน์ โดยมีใจความว่า “25 เมษายน 2549 ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำรัสต่อผู้พิพากษาศาลฎีกาและตุลาการศาลปกครองสูงสุด จากพระราชดำรัสนั้น นักวิชาการได้นำมาประดิษฐ์คำว่า “ตุลาการภิวัตน์” นับจากนั้นเป็นต้นมา สังคมไทยได้เห็นบทบาทของศาลในแดนทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน” และได้เชิญชวนให้ผู้คนเข้าไปฟังในห้อง ClubHouse

ต่อมาได้มีการแชร์ภาพ การสนทนาที่บิดเบี้ยวของปิยบุตร ให้ร้ายตุลาการ ซึ่งมีการเปรียบเทียบตามคำพูดและความจริงที่เกิดขึ้น เช่น

ศาลรธน. คือศาลรัฐประหาร เพราะยุบพรรคอนาคตใหม่ ความจริงคือ ศาลสั่งยุบเพราะธนาธร ปล่อยเงินกู้ผิดกฎหมายให้พรรค

ศาลไม่ให้ประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมือง ความจริงคือ ศาลให้ประกัน สมยศ-ไผ่-หมอลำแบงค์ “ยกเว้นผู้ต้องขังทางการเมืองที่มีแนวโน้มว่า จะออกไปกระทําผิดเดิมซ้ำอีก

เราไม่ควรให้เกียรติศาล ความจริงคือ การให้เกียรติศาลเป็นหลักธรรมเนียมสากล

สภา ต้องมีหน้าที่ตรวจสอบศาล ความจริงคือ ศาลถูกตรวจสอบโดยการถ่วงดุลอำนาจระหว่าง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

 


และเมื่อย้อนไปดูข้อความที่นายปิยบุตร ได้โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 13 เม.ย. 64 ก็ยังชัดเจนว่ามีความพยายาม ที่จะปลูกฝังเยาวชนเรื่องจาบจ้วงสถาบัน ดังนี้ อนาคตอยู่ที่คนรุ่นใหม่ : ข้อสังเกตของ Geoffroy de Lagasnerie เกี่ยวกับยุทธวิธีการต่อสู้

 


“ในหนังสือว่าด้วยโครงสร้างของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ Thomas Kuhn กล่าวไว้ว่า เมื่อมีการปะทะกันระหว่างสองกระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่อาจรอมชอมกันได้ สิ่งที่จะตัดสินชี้ขาดวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งในประการสุดท้าย คือ ประชากรศาสตร์ กล่าวคือ ฝักฝ่ายที่ได้เยาวชนคนหนุ่มสาวมาอยู่ข้างตนเอง โน้มน้าวเยาวชนให้มุ่งหน้าเข้าสู่แดนของตนเองได้ พวกเขาจะเป็นผู้ชนะในการต่อสู้ เพราะ ด้วยเวลา สมาชิกที่มีอายุมากจะค่อยๆทยอยจากไป และถูกแทนที่ด้วยคนรุ่นใหม่ มันคือกระบวนทัศน์ที่คนใหม่เพิ่มขึ้นและวันหนึ่งจะกลายเป็นฝ่ายที่ยึดครอง ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ คือ ประชากรศาสตร์

แล้วถ้าเราลองเอามาคิดกับการเมืองล่ะ แน่นอน ไม่ใช่ทั้งหมดหรอก แต่ก็ส่วนมาก ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดยังคงไม่ถูกจัดวาง … จะดีกว่าหรือไม่ถ้าเราใช้พลังงานให้น้อยลงกับการไปเผชิญหน้ากับคนที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง แล้วทุ่มเทให้กับการเข้าไปมีอิทธิพลต่อมันสมองของคนที่อีกไม่กี่ปีจะเข้าสู่อำนาจ? ถ้าพูดแบบการจัดองค์กรเสียหน่อย เมื่อเราไม่เห็นด้วยกับมาตรการที่รัฐบาลออกมา

อะไรจะมีประสิทธิภาพกว่าระหว่างไปประท้วงหน้ากระทรวงกับไปพูดในโรงเรียนมัธยม? ไปออกรายการวิทยุหรือโทรทัศน์สถานีใหญ่ในตอนเช้า หรือไปเดินสายพูดในมหาวิทยาลัย? … แต่บางครั้ง การที่เราคิดแต่สถานที่สำคัญที่เราต้องไปปราศรัยและแสดงออก ก็ทำให้เราห่างไกลจากคนที่จะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในอนาคต สิ่งที่ต้องตรวจสอบไต่ถามต่อความคิดราดิคัลของเรา ก็เช่น ระหว่าง ประท้วงอยู่หน้ารั้วที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัด กับ เปิดโรงเรียนการเมืองตลาดวิชาในช่วงปิดเทอม อะไรราดิคัลกว่ากัน? อะไรเป็นปฏิบัติการที่ทรงพลังกว่ากัน?

อย่างไรก็ตาม ข้อความนี้ของนายปิยบุตร แม้จะถอดข้อคิดบางตอนมาจากหนังสือ แต่ต้องยอมรับว่า นี่คือการวางเกมทางการเมืองของกลุ่ม 3 นิ้วใหม่อีกครั้ง ที่จะเปลี่ยนไม่ประท้วง แต่นำเรื่องราวต่าง ๆ ไปพูดในโรงเรียนให้เยาวชนฟังแทน ดังข้อความที่ว่า ระหว่าง ประท้วงอยู่หน้ารั้วที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัด กับ เปิดโรงเรียนการเมืองตลาดวิชาในช่วงปิดเทอม อะไรจะทรงพลังกว่ากัน ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และจะเป็นอันตรายกับเยาวชนด้วย แม้พวก 3 นิ้ว จะอวยว่า เรื่องนี้อาจจะใช้เวลานานหน่อย แต่ทำได้จริง