ภท.งัดลุงตู่ !?! ศุภชัยเหน็บประยุทธ์ ถนัดใช้อำนาจพิเศษตัดรมต.ออกจากศบค. ขณะอนุทิน โบ้ยแก้โรคระบาดทำตามคำสั่งนายกฯ ย้อนใคร เคยพูด “โควิดแค่ไข้หวัดธรรมดา”?

2621

ภท.งัดลุงตู่ !?! ศุภชัยเหน็บประยุทธ์ ถนัดใช้อำนาจพิเศษตัดรมต.ออกจากศบค. ขณะอนุทิน โบ้ยแก้โรคระบาดทำตามคำสั่งนายกฯ ย้อนใคร เคยพูด “โควิดแค่ไข้หวัดธรรมดา”?

จากกรณีเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2564 หมอไม่ทน ได้สร้างแคมเปญรณรงค์ร้องเรียน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่เว็บไซต์ Change.org มีการเผยแคมเปญล่ารายชื่อถอดถอนนายอนุทิน ชาญวีรกูล ออกจากตำแหน่ง ชื่อแคมเปญว่า “เรียกร้องให้อนุทิน รัฐมนตรี สธ​.​ ลาออก จากความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการระบาด COVID 19” ซึ่งมีผู้ลงชื่อสนับสนุนกว่า 200,000 คน โดยมีเป้าที่ตั้งไว้ 150,000 คน

โดยมีการระบุว่า กว่า 1 ปีเต็มที่ผ่านมาของการระบาด COVID-19 เป็นข้อพิสูจน์แล้ว ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล ไม่มีความสามารถมากพอในการควบคุมดูแลการแพร่ระบาดของ COVID19 ทั้งเรื่องการวางนโยบาย การจัดการทรัพยากร การจัดหาวัคซีน และการสร้างความเชื่อมั่นให้บุคลากรทางการแพทย์

ล่าสุดทางด้าน นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถนัดใช้อำนาจพิเศษ ตัดรัฐมนตรีและภาคการเมืองออกจากการทำงานในศบค. ให้หน่วยงานความมั่นคงนั่งหัวโต๊ะแทนที่จะเป็นสาธารณสุข โดยระบุข้อความว่า

การประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินและการตั้ง ศบค. ซึ่งการใช้อํานาจพิเศษเป็นสิ่งที่นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ถนัดที่สุดจึงไม่แปลกที่มีการเลือกใช้อํานาจพิเศษในการจัดการกับ “โรค ระบาด” ซึ่งโครงสร้างของ ศบค. ได้ตัดการมีส่วนร่วมของภาคการเมืองออกรวมถึงได้ ตัดคณะรัฐมนตรีออกจากการทํางานใน ศบค. โดยหน่วยงานที่นั่งหัวโต๊ะกําหนดทิศทาง ของ ศบค. กลับเป็นหน่วยงานความมั่นคงนําโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติแทนที่จะเป็น สาธารณสุข เราจึงเห็นการมองโรคระบาดเป็นภัยความมั่นคง เป็นอริราชศัตรู ต่างจากการแก้ปัญหา โรคระบาดในรอบที่ผ่านๆ มาไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ประสบความสําเร็จ

ในขณะที่ทางด้านของนายอนุทิน ก็ได้โพสต์ผ่านเฟชบุ๊กภายหลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์โจมตีการทำงานแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 โดยระบุว่า ขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ ทั้งโพสต์ ทั้งไลน์ และ โทรมาด้วยตัวเอง ผมยังเข้มแข็งดี ทั้งร่างกายและจิตใจ และยังมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับคณะแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุข ทั้งของกระทรวงสาธารณสุข และ หน่วยงานต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชน และ การควบคุมโรคให้ได้ผล

บางท่านทั้งให้กำลังใจ และห่วงใยว่ามีการยึดอำนาจ แย่งอำนาจของกระทรวงสาธารณสุข ผมได้แต่ตอบไปว่า รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุด และ เป็นผู้รับผิดชอบ อยู่แล้ว ผมมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบาย และคำสั่งท่านนายกรัฐมนตรี มาโดยตลอด

ส่วนเรื่องการป้องกัน และ ควบคุมโรคระบาดโควิด-19 นั้น ศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์โควิด หรือ ศบค. เป็นผู้จัดทำนโยบาย พิจารณา ออกคำสั่ง กำกับการปฏิบัติงาน โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยปฏิบัติตามนโยบายของศบค. หลายครั้งที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอมาตรการควบคุมโรค หากศบค. ไม่เห็นด้วย ก็ต้องกลับมาปรับมาตรการ ทั้งการตรวจ การป้องกัน การรักษา การจัดหายา เวชภัณฑ์ และ การฉีดวัคซีน ที่ผ่านมา ศบค. เป็นผู้บริหารแบบ Single command มาตั้งแต่ต้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติตามนโยบายศบค. ด้วยดีมาตลอด

จึงขอความกรุณาอย่าเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็นการเมือง และสร้างกระแสให้เกิดความขัดแย้ง และส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผมเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามนโยบาย และคำสั่งนายกรัฐมนตรี และรายงานการปฏิบัติงาน ให้นายกรัฐมนตรี ทราบทุกครั้ง

ขอยืนยันว่า ไม่มีการยึดอำนาจ ไม่มีการแย่งอำนาจ เพราะนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร และในฐานะผู้อำนวยการ ศบค.

อย่างไรก็ตาม นายอนุทินเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่การระบาดไม่สามารถควบคุมได้ เริ่มต้นตั้งแต่ที่พูดว่า “โควิด เป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา” เมื่อบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ ก็แจ้งว่า “หมอไม่ระวังตัวเองจนติดโควิด 19 ไม่ได้ติดจากงาน แบบนี้ต้องหวดกัน” และบทสัมภาษณ์อีกมากมาย

ย้อนไปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ร่วมประชุม โดยมีนายแพทย์ระดับสุดยอดของเมือง 5 ท่าน เข้าร่วมให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ โดยปราศจากนักการเมืองและนักการทหารเข้าร่วม ประกอบด้วย

1) ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

2) ศ.นพ.อุดม คชินทร อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อดีต รมช.กระทรวงศึกษาฯ

3) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์”

4) ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี อาจารย์แพทย์อายุรศาสตร์ นายกแพทยสมาคม

5) ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา

ทั้งหมดถูกเรียกตัวด่วน เพื่อคุยกับนายกรัฐมนตรี ในการให้คำปรึกษาถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาพวกเขาไม่ใช่แค่บรมครูของหมอทั้งประเทศ หากแต่ยังมีชื่อเสียงระดับโลก ด้านวงการแพทย์อีกด้วย จากนั้นเราจึงเห็นมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลออกมา