นายกฯสั่งเร่งเครื่องเศรษฐกิจปี 64!?! GDP ขยาย 4% ส่งออก 4% ลงทุน 4.3% ดันท่องเที่ยวฟื้นหนุนแรงงาน 4.3 ล้านคน!

1776

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังการประชุม ศบศ.ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร ศบศ. หรือชื่อเต็มว่าคณะกรรมการ สถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 :ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ มีผลการประชุมน่าสนใจหลายประเด็นด้วยกัน ที่สำคัญสั่งเร่งเครื่องยนต์เศรษฐกิจเต็มพิกัด ทั้งการส่งออก การท่องเที่ยวและการลงทุนภายในประเทศ

วันที่ 26 มี.ค. 2564 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เปิดเผยว่า  ไทยได้รับการจัดอันดับจาก Global COVID-19 Index (GCI)  เป็นอันดับ 1ของโลกในการฟื้นตัวของจากสถานการณ์ของโรค COVID-19 จาก 184 ประเทศทั่วโลก และติด 1 ใน 5 ประเทศที่บรรเทาการระบาดของไวรัสได้ก้าวหน้าที่สุด รวมทั้งแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่เริ่มต้นแล้วและเป็นไปตามเป้าหมาย แสดงถึงความพร้อมด้านสาธารณสุขของไทย  ประชาชนเชื่อมั่นและมั่นใจความปลอดภัยในการเดินทาง ทั้งนี้ ทางคณะกรรมการจึงอนุมัติ มาตรการ “ทัวร์เที่ยวไทย” และ “เราเที่ยวด้วยกัน” เพื่อช่วยสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้ง โรงแรม ผู้ประกอบการ และแรงงานภาคการท่องเที่ยวกว่า 4.3 ล้านคนกลับมาคึกคักมีงานทำอีกครั้ง

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการ“ทัวร์เที่ยวไทย” มีเป้าหมายช่วยเยียวยาผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว  เพื่อส่งเสริมการเดินทางข้ามจังหวัดและภูมิภาคต่างๆ  เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ลงไปในท้องถิ่นและชุมชน ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมนี้  

หลักเกณฑ์ทัวร์เที่ยวไทยนั้น รัฐบาลสนับสนุนงบฯสำหรับแพคเกจเดินทางท่องเที่ยวในวันธรรมดา (วันอาทิตย์-วันพฤหัสบดี) ที่มีระยะเวลาการเดินทางอย่างน้อย 3 วัน 2 คืน และข้ามจังหวัด  โดยสนับสนุน 40% แต่ไม่เกิน 5,000 บาท 1 คนต่อ 1 สิทธิ์ ผ่านบริการของบริษัทนำเที่ยวในประเทศที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย  จุดประกายการเดินทางในประเทศ เพื่อพลิกฟื้นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตลอดห่วงโซ่อุปทาน อาทิ บริษัทนำเที่ยว  โรงแรมที่พัก  ธุรกิจด้านการขนส่ง ธุรกิจร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 12,500 ล้านบาท เกิดการกระจายรายได้จากโครงการทัวร์เที่ยวไทยในทางอ้อมอีกไม่น้อยกว่า 3,000 ล้านบาท 

สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องให้ความยินยอม (consent)  ติดตั้ง แอฟ ฯ “เป๋าตัง”  เลือกรายการนำเที่ยวทางเว็บไซต์ (www.ทัวร์เที่ยวไทย.ไทย)   ติดต่อบริษัทนำเที่ยว  ชำระค่ารายการนำเที่ยว ร้อยละ 60 แก่บริษัทนำเที่ยว เดินทางท่องเที่ยวโดยมีการสแกนใบหน้าและQR Code เพื่อยืนยันตัวตน  

นี่ก็เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้เกิดการกระจายเม็ดเงินจากคนที่มีเงินเก็บ มีกำลังซื้อให้มาช่วยอุดหนุนคนไทย กิจการไทยอีกแรงหนึ่ง สำหรับภาพรวมทั้งประเทศ ก็มีผลการประชุมเช่นกัน

ประเด็นนี้ ทางสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า ท่านนายกฯ เคาะเป้าเศรษฐกิจปี 2564 ขยายตัว 4% สั่งเร่งเครื่องการลงทุนทั้งภายในประเทศ และการลงทุนจากต่างประเทศ  สศช.มองว่าเป็นเป้าหมายที่ท้าทายมาก  การส่งออกต้องขยายตัวอย่างน้อย 4% การลงทุนเอกชนต้องบวกได้ถึง 4.3% รอลุ้นการดึงการลงทุนเพิ่มใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งเป็นตัวสำคัญช่วยหนุนเศรษฐกิจไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหรือ ศบศ.ว่า นายกรัฐมนตรีได้กำหนดเป้าหมายในการทำงานว่าต้องการให้เศรษฐกิจปีนี้ ขยายตัวได้ 4% เพิ่มจากเป้าหมายเดิมที่ สศช.คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ประมาณ 3%

ทั้งนี้ การที่จะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ถึง 4% ต้องขับเคลื่อนเครื่องยนต์เศรษฐกิจต่างๆ ให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่จะต้องขยายตัวเพิ่มขึ้นจากในปีก่อนได้ไม่ต่ำกว่า 8% โดยการส่งออกในปี 2564 ถือว่าอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากสามารถขับเคลื่อนการส่งออกได้เป็นอย่างดี จะส่งผลไปยังการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น ก็จะเกิดการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น  ซึ่งขณะนี้การผลิตในประเทศอยู่ที่ประมาณ 66.4% ในเดือน ม.ค. 2564 ซึ่งการส่งออกที่เพิ่ม จะเพิ่มและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในภาพรวมได้

นอกจากนี้ ภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจ ก็ต้องมีการเติบโตให้ได้เพิ่มขึ้น คือ การบริโภคต้องขยายตัวให้ได้ไม่น้อยกว่า 2.2% การลงทุนภาคเอกชนต้องขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 4.3% และการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐทั้งงบประจำและงบลงทุนต้องทำได้ไม่น้อยกว่า 80% ของงบประมาณทั้งหมด จะเห็นว่า 3 เรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญหนุนเศรษฐกิจฟื้น

ในด้านการลงทุน ประชุมได้รับทราบการทำจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงรุกดึงดูดนักลงทุน ซึ่งที่ผ่านมา นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ได้ดำเนินการ และเอามานำเสนอในที่ประชุม เน้นดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพ และดิจิทัล 

โดยในระยะเร่งด่วนตั้งเป้าหมายดึงกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการดูแลสุขภาพเข้ามาก่อน เพราะสามารถทำได้เร็ว โดยที่ประชุมมอบหมายให้ไปจัดทำรายละเอียด และหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ให้เสร็จภายใน 1 เดือน จากนั้นจึงนำมาเสนอที่ประชุม ศบศ. เห็นชอบอีกครั้ง

จะเห็นได้ว่า รัฐบาลไปต่อไม่รอแล้ว เร่งเครื่องจักรเศรษฐกิจแม้โควิด-19 ยังแผลงฤทธิ์ มีทั้งม็อบ 3 กีบ กลุ่มชังชาติยังอาละวาดไม่รู้จบ แต่รัฐบาลประเมินแล้วว่าดูแลได้  แก้ปัญหาปากท้องประชาชนและการฟื้นฟูประเทศต้องเดินหน้าต่อไป!!