ขุนคลังชู 4 ยุทธศาสตร์ดันศก.ไทยเด้ง!?! ส่งออก-ท่องเที่ยวยังเป็นตัวปั้มรายได้ ฟันธง 2 ปีเศรษฐกิจโลกฟื้นไทยฟื้นเต็มที่!

1301

มุมมองของรัฐบาลผ่าน ท่านรมว.กระทรวงการคลังเรื่องการผลักดันเศรษฐกิจไทย เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามดูว่าความหวังของคนไทยที่จะเห็นเศรษฐกิจกลับมาคึกคักมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เรามาดูแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ 4 ด้านของทีมเศรษฐกิจรัฐบาล ซึ่งมีทั้ง ด้านขีดความสามารถแข่งขัน-ดิจิทัล-ผู้สูงวัย และธุรกิจสุขภาพ” รวมทั้งการออกมาตรการเยียวยาและกระตุ้นการใช้จ่ายต่อเนื่อง  โดยกระทรวงการคลังหวังปั้นจีดีพีปีนี้ให้โตขึ้นไปถึง 4% แต่ก็คาดการณ์ขั้นต่ำไว้ว่าจะเติบโต 2.8% ซึ่งก็ไปสอดคล้องกับ ไอเอ็มเอฟและ ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยและสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้มองได้ว่าคงไม่สามารถฟื้นตัวอย่างทันใจ แต่จะค่อยๆฟื้นไปตามสถานการณ์โลก และปัจจัยภายในของประเทศไทยเองด้วย

ในปีนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคาดการณ์เศรษฐกิจไทย(GDP) จะขยายตัวได้ 2.8% (จากกรอบ 2.5%-3.5%) หลังจากปี 2563 ที่ติดลบ 6.1% โดยคาดหวังอยากให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้ถึง 4% แต่ถือเป็นเรื่องยาก เพราะช่องว่างการผลิต หรือ Output Gap มีถึง 7%

รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง กล่าวว่า

“เศรษฐกิจไทยยังขึ้นอยู่กับดีมานด์ต่างประเทศ เช่นภาคท่องเที่ยวไทยคิดเป็น 12% ของ GDP  ซึ่งปีนี้คิดว่าดีมานด์จากต่างประเทศยังไม่มาเพราะโควิดยังไม่นิ่ง จึงเป็นเหตุผลว่า มาตรการจากภาครัฐยังจำเป็นต้องช่วยประคับประคองเศรษฐกิจภายในประเทศต่อไป” 

สำหรับมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมา ได้แก่ เราไม่ทิ้งกัน คนละครึ่ง เราชนะ และ เราเที่ยวด้วยกัน โดยรัฐบาลได้ใช้กู้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อใช้ในด้านการแพทย์ การเยียวยา และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ คงจะต้องมีการนำใช้ซ้ำตามความเหมาะสม

มีการออก พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องภาคธุรกิจ ส่วนภาคธุรกิจก็ต้องมีการปรับตัว ปรับโครงสร้างทางธุรกิจ ซึ่งทางรัฐบาลตัังใจจะนำมาตรการต่างๆสำหรับช่วยเหลือธุรกิจกลับมาทำใหม่อีก  แต่จะปรับให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการเตรียมออกมาตรการเพิ่ม เช่น โกดังเก็บหนี้ (Asset Warehousing)ดูแลปัญหาหนี้สินคนไทยทั้งระบบ ทั้งในส่วนกิจการและส่วนบุคคล

ขณะนี้หลายประเทศรวมทั้งไทย ได้เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว แต่การจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ต้องใช้เวลา พร้อมคาดว่าภาคท่องเที่ยวไทยจะกลับมาฟื้นเต็มที่ได้ในสองปีคือ ปี 2566-2567

รมว.คลัง ยังย้ำว่า“ปีนี้ไทยยังต้องพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก แต่ไม่ทิ้งต่างประเทศ โดยเราจะพยายามเจรจาประเทศที่พร้อม และพิจารณาเรื่องการเปิดประเทศและการลดระยะเวลาการกักตัวลง เพื่อสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยว” 

สำหรับพื้นฐานเศรษฐกิจไทย รมว.คลังว่ายังเข้มแข็ง ดูจากมุมมองขององค์กรต่างประเทศ ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจมหภาค ทุนสำรองระหว่างประเทศ ฐานะการคลังที่ยังมีความมั่นคง และหนี้สาธารณะที่ยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง

สำหรับแผนยุทธศาสตร์ 4 ด้านเพื่อบรรลุเป้าหมายได้แก่ 

1.การฟื้นความสามารถในการแข่งขัน ผ่านการเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ต่างชาติ และเป็นการฟื้นคุณภาพชีวิตของคนไทย และรัฐบาลจะเร่งปลดล็อกกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการลงทุนและการทำธุรกิจ

2.ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในหน่วยงานภาครัฐ การใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่นในการเข้าถึงมาตรการของภาครัฐ โดยจะมีการแก้ไขปัญหาให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้100% ระบบอีเพย์เม้นต์ อีไฟล์ลิ่ง รวมถึงการนำ AI หุ่นยนต์ หรือ โรบอติก มาใช้ในการทำธุรกิจ

3.การคุ้มครองประชาชนในยุคสังคมสูงอายุ ทั้งการส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่มผู้เกษียณ การขยายอายุเกษียณ เพิ่มทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะกลุ่มผู้ว่างงานในช่วงโควิด หากจะกลับเข้าสู่ภาคแรงงาน ต้องกลับมาพร้อมกับทักษะที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ Output Gap ที่มีถึง 7% ลดลงได้ โดยรัฐบาลจะส่งเสริมการคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะการส่งเสริมหลักประกันในกลุ่มแรงงานนอกระบบ และในแง่ของธุรกิจ รัฐบาลจะส่งเสริมการลงทุนที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ

4.ด้านสุขภาพ โดยรัฐบาลจะส่งเสริมนโยบายเมดิคัล ทัวร์ริสซึม ซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย ผ่านมาตรการทางภาษี

เรื่องสำคัญที่มีการพูดถึงอย่างมากคือเรื่องการจัดเก็บภาษีเพราะคือรายได้ของรัฐในปี 2565 รัฐบาลวางแผนว่าจะมีการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ โดยเฉพาะด้านภาษี ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้เอื้อต่อธุรกิจที่ส่งผลบวกต่อสังคม และออกภาษีที่โน้มน้าวไม่ให้เกิดธุรกิจที่ส่งผลลบต่อสังคม 

และยังกล่าวอีกว่า ความหวังขั้นต่ำปีนี้ เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้ที่ 2.8% และคาดหวังในปี 2565 จะขยายตัวดีขึ้นกว่าปีนี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เหมือนตอนร่วมมือกันป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 

ในส่วนข้อเสนอนโยบายในการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุนนั้น กระทรวงการคลังยังไม่ได้มีการคิดเรื่องนี้ แม้ว่าอัตราภาษีของไทยจะยังไม่ต่ำเหมือนสิงคโปร์ แต่ก็ถือว่าต่ำสุดเมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค และรายได้ภาษีส่วนนี้ก็ถือเป็นรายได้หลักของแผ่นดิน การกระตุ้นการลงทุนก็ยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีผ่านการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ว่าจะขยายตัวได้ 2.6% สอดคล้องกับที่ไทยประเมินไว้ โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.5-3.5% ขณะที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้ที่ 2.8%

รมว.คลังกล่าวว่า ไอเอ็มเอฟแนะนำให้ไทยใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทางไทยก็จะทำโดยเน้นนโยบายการเงินที่ดูแลเฉพาะกลุ่ม โดยคลังกับธปท.เตรียมหาแนวทางช่วยธุรกิจรายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ยังสะบักสะบอมจากพิษการระบาดโควิด-19

นายอาคมยังกล่าวอีกว่า“การดูแลเศรษฐกิจนั้น เป็นเรื่องที่เราต้องมองไปยังอนาคต เราจะมองเฉพาะแต่ปัญหาไม่ได้ แต่ต้องมองด้วยความหวังว่า มีอะไรและจะทำอะไร คิดว่า เป็น Positive thinking ซึ่งรัฐบาลก็พร้อมรับฟังความเห็น แต่ด้านหนึ่งนั้น เมื่อเราพูดเรื่องรายจ่ายแผ่นดินในเวลาดี ในอนาคตเราก็ต้องหารายได้เข้าประเทศด้วย เพื่อในอนาคตเราจะสามารถจัดสรรทรัพยากรให้กับการพัฒนาประเทศ ทั้งในเรื่องการชำระหนี้ในต่างประเทศ ซึ่งเรื่องการชำระหนี้ต่างประเทศนั้น เป็นเครดิตหนึ่ง ซึ่งยืนยันปนระเทศไทย เรื่องการชำนระหนี้ต่างประเทศนั้น เราชำระเต็มที่ ไม่ให้หลุดกรอบขั้นต่อเกณฑ์ต่างประเทศ”

ในด้านภาพรวมเศรษฐกิจ รมว.กระทรวงการคลังย้ำว่า จากเครื่องชี้วัดต่างๆยืนยัน พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังมีความแข็งแกร่ง โดยที่อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจนั้น เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส3 ปีที่แล้ว แต่พอไตรมาสส4 และต่อเนื่องมาถึงต้นปีนี้ เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบเนื่องจากมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่  แต่เชื่อว่า คนไทยร่วมมือกันเต็มที่ทุกภาคส่วน ก็จะสามารถคุมสถานการณ์และผ่านไปได้ในที่สุด